ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การย้อมผ้าไหมสีธรรมชาติ

โดย : นายใกล้นคร เพ็งเเจ่ม วันที่ : 2017-04-18-11:10:00

ที่อยู่ : 28 ม.10 ต.หนองสะโน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

 การทอผ้าเป็นอาชีพของคนในหมู่บ้านสมพรรัตน์มาตั้งเเต่บรรพบุรุษ ลูกหลานบ้านสมพรรัตน์จึงมีพื้นฐานการทอผ้าที่สืบทอดกันมา เเละมีความรักในการทอผ้า จึงมีการพัฒนาการทอผ้ามาเป็นอาชีพหลักจากเดิมที่เคยทำนา หรือการเกษตร เนื่องจากสามารถสร้างรายได้ให้ครอบครัว เเละเป็นอาชีพที่เป็นความชอบส่วนบุคคล

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัว เเละสืบสาน อนุรักษ์ ภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

  ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมจากบ้านสมพรรัตน์นั้น จะมีทั้งการย้อมด้วยสีธรรมชาติ และสีสังเคราะห์หรือสีเคมี แต่ในระยะหลังจะนิยมย้อมด้วยสีธรรมชาติเนื่องจากจะได้รับความนิยมมากว่า ข้อสังเกตของผลิตภัณฑ์ที่ย้อมด้วยสีธรรมชาติและสีสังเคราะห์คือ การย้อมด้วยสีสังเคราะห์จะให้สีที่สดใสกว่าการย้อมด้วยสีธรรมชาติ สีที่ย้อมด้วยสีธรรมชาติจะมีสีอ่อนแต่มีความคงทนต่อการตกสีมากกว่า วัสดุธรรมชาติที่ชาวบ้านสมพรรัตน์นิยมนำมาย้อมสีไหม ได้แก่

 

ใบฝรั่งสีเขียว  เหง้ากล้วยสีดำแต่สีไม่เข้าเท่าการย้อมมะเกลือ

มะเกลือสีดำ   เปลือกลูกมะพร้าวสดสีชมพูโอลด์โรส

เปลือกงิ้วผาสีแดง สีชมพูอ่อน   ลูกกระบกตรึงเกลือได้สีดำเทา

เปลือกประดู่ตรึงด้วยสารส้มได้สีน้ำตาลคำแสดสีแดงส้ม

เปลือกต้นเพกาสีเขียว    ใบข้าวสีเขียว  

ดินลูกรังสีแดงสนิม    ผลคูนสีน้ำตาล

ประโหดสีเหลืองอ่อน    เขสีเหลืองแก่

ขมิ้นสีเหลืองเหง้ายอป่าสีเหลืองอ่อน แต่ไม่นิยมเพราะย้อมแล้วคัน

ครั่งสีแดงขี้เถ้า, โคลนสีเทา

ใบขี้เหล็กสีเขียว แต่ต้องใช้ปริมาณเยอะ เส้นไหม 1 กิโลกรัม ต้องใช้ใบขี้เหล็ก ประมาณ 10 กิโลกรัม

อุปกรณ์ ->

เตา
หม้อย้อม
ไม้หีบ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

    การย้อมสีเส้นไหม คือ กรรมวิธีทำให้ผ้าไหมมีสีต่าง ๆ โดยนำปอยหมี่ที่มัดหมี่เรียบร้อยแล้วไปย้อมสีในน้ำเดือด โดยสีย้อมไหมที่มีคุณภาพดี ถ้าหากต้องการให้ผ้าไหมมีหลาย ๆ สีเพิ่มขึ้น เมื่อย้อมหมี่ด้วยสีย้อมไหมเรียบร้อยแล้ว จะต้องนำไป "โอบหมี่" คือการใช้เชือกฟางเล็ก ๆ พันลำหมี่ตรงส่วนที่ยังไม่ถูกมัดหมี่ ตามแบบลายมัดหมี่ การโอบ (พัน) ต้องโอบ (พัน) ให้เชือกฟางแน่นที่สุดและหลาย ๆ รอบ นำหมี่ที่โอบหมี่เรียบร้อย แล้วไปล้างสีออกในน้ำเดือด (จะล้างออกเฉพาะบริเวณที่ไม่ถูกมัดหรือโอบเท่านั้น) โดยเติม "ด่างเหม็น" (ผงด่างที่มีกลิ่นเหม็น) หมี่ส่วนที่โอบหรือมัดไว้ จะคงสีตามเดิมส่วนที่ไม่ถูกโอบหรือมัดจะถูกล้างออกเป็นสีขาว นำไปย้อมเป็นสีอื่นอีกครั้งหนึ่งตามต้องการ บางสีเมื่อย้อมและนำไปโอบ (พัน) เรียบร้อยแล้ว ไม่ต้องนำไปล้างออก ใช้สีอื่นย้อมทับลงไปเลยก็ได้ เช่น ย้อมสีฟ้าหรือสีน้ำเงินแล้ว ต้องการให้ผ้าไหมเป็นสีเขียว ต้องใช้สีเหลืองย้อมทับอีกทีหนึ่ง เป็นต้น
การย้อมเส้นไหมด้วยสีธรรมชาติ หากต้องการเส้นไหมหลายสี จะย้อมสีเข้มก่อน ความพิเศษของการย้อมสีเส้นไหมด้วยวัสดุธรรมชาติ คือ เมื่อเส้นไหมย้อมติดสีหรือกินสีอิ่มแล้ว จะไม่ติดสีอื่น นั่นคือ เมื่อเราย้อมหนึ่งสีได้ตามที่ต้องการแล้ว แก้มัดย้อมออก เพื่อย้อมสีต่อไปในส่วนต่อไปตามแบบที่วางไว้ สีที่ย้อมใหม่กับสีที่ย้อมเส้นไหมเดิมจะไม่กลืนหรือเลอะ หรือทำให้สีที่ย้อมก่อนเปลี่ยนสีไป การย้อมจึงไม่จะเป็นต้องโอบหรือมัดส่วนที่ย้อมไปแล้วไว้อีกจึงค่อยย้อมสีใหม่ ทำให้สามารถย้อมสีได้เร็วขึ้นโดยไม่ต้องกังวลว่าสีที่ย้อมไปแล้วจะเปลี่ยนแปลง แต่ถ้าเป็นสีเคมีถ้าต้องการย้อม 4 สี จะต้องทำการมัดหมี่หรือโอบหมี่อย่างน้อย 5 รอบ จึงจะได้สีตามที่ต้องการ

ข้อพึงระวัง ->

  ชาวบ้านสมพรรัตน์ไม่มีความเชื่อใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการย้อมสีไหม ยกเว้น การย้อมสีด้วยครั่ง โดยมีความเชื่อว่า ในขณะที่ย้อมเส้นไหมนั้นจะห้ามไม่ให้คนท้อง หญิงมีประจำเดือน คนผมสองสี (ผมหงอก) เดินผ่าน และวันที่ย้อมต้องไม่ใช่วันพระ เพราะเส้นไหมจะย้อมไม่ติดสี หรือติดสีย้อมไม่ได้ ซึ่งมีชาวบ้านบางรายได้พิสูจน์แล้วว่าเป็นจริง ฉะนั้น ในขณะที่ทำการย้อมเส้นไหมด้วยครั่ง ชาวบ้านจะทำในสถานที่เงียบ ๆ และห้ามบุคคลใดเดินผ่านหรือรบกวนโดยเด็ดขาด

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา