ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

จักสานไม้ไผ่

โดย : นายสำราญ จิตมั่น วันที่ : 2017-06-28-11:09:08

ที่อยู่ : 28 ม.9 ต.โพธิ์ไทร

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

มีความสนใจในการจักสาน สมัยยังเป็นหนุ่มเห็นผู้เฒ่า ผู้แก่ทำการจักสานในหมู่บ้านแล้วสนใจศึกษา เรียนจากผู้เฒ่า ผู้แก่ จนเกิดความสามารถชำนาญ สานได้ทั้ง กระติบข้าว  หวด  ข้อง  ฯลฯ  และเนื่องจาก กระติบข้าว (หรือก่องข้าวเหนียว) เป็นของใช้ประจำบ้านที่ใช้บรรจุข้าวเหนียว ทุกครัวเรือนในหมู่บ้าน ในอำเภอโพธิ์ไทร จำเป็นต้องมีกระติบข้าว  เพราะรับประทานข้าวเหนียว ซึ่งเหตุผลที่ทำให้นิยมใช้ กระติบข้าวบรรจุข้าวเหนียว คือ ทำให้ข้าวเหนียวที่บรรจุไม่เหนียวแฉะไม่ติดมือ, พกพาสะดวก หิ้วไปได้ทุกหนทุกแห่ง และเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งภายในและภายนอกหมู่บ้าน ประกอบกับวัสดุ อุปกรณ์ก็มีในพื้นที่ และยังเป็นอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้ครัวเรือนอีกด้วย

วัตถุประสงค์ ->

เพิ่อลดรายจ่าย  เพิ่มรายได้ในครัวเรือน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.ไม้ไผ่  หวาย  กก

2.ด้ายไนล่อน

3.ตีนกระติบข้าว (ตีนต้นยอ)

อุปกรณ์ ->

1.มีด/พร้า จักตอก

2.เข็ม

3.เหล็กแหลม

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. นำปล้องไม้ไผ่มาตัดหัวท้าย ตัดเอาข้อออก ผ่าเป็นซีกทำเส้นตอกกว้างประมาณ 2-3 ม.ม.ขูดให้เรียบและบาง
2. นำเส้นตอกที่ได้มาสานเป็นรูปร่างกระติบข้าว หนึ่งลูกมี 2 ฝา มาประกอบกัน
3. นำกระติบข้าวที่ได้จากข้อ 2 มาพับครึ่งให้เท่า ๆ กันพอดี เรียกว่า 1 ฝา
4. ขั้นตอนการทำฝาปิด โดยจักเส้นตอกที่มีความกว้าง 1 นิ้ว สานเป็นลายตามะกอก และลายขัด
5. นำฝาปิดหัวท้ายมาตัดเป็นวงกลม มาใส่เข้าที่ปลายทั้งสองข้าง
6. ใช้ด้ายไนล่อน และเข็มเย็บเข้าด้วยกันรอบฝาปิดหัวท้าย
7. นำตีนกระติบข้าวที่ม้วนไว้มาเย็บติดกับฝาล่าง ที่เป็นตัวกระติบข้าว
8. นำไม้มาเหลาเป็นเส้นตอก กลมยาวเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 ม.ม. ความยาวรอบ บางเท่ากับฝากระติบพันด้วย   

    ด้ายไนล่อน แล้วเย็บติดฝาขอบบน เพื่อความคงทน และสวยงาม
9. เจาะรูที่เชิงกระติบข้าว ด้วยเหล็กแหลม 2 รู ให้ตรงข้ามกัน แล้วทำหูที่ฝาด้านบน ตรงกับรูที่เจาะเชิงไว้
10. ใช้ด้ายไนล่อนสอดเข้าเป็นสายไว้สะพายไปมาได้สะดวก จะได้กระติบข้าวที่สำเร็จเรียบร้อย สามารถ

     นำมาใช้และจำหน่ายได้

ข้อพึงระวัง ->

1.ไม่ควรใช้สีย้อมตอกเพื่อลวดลายสวยงาม เพราะอาจเดการปนเปื้อนเมื่อใช้บรรจุข้าวเหนียว
2.การเลือกไม้ไผ่ ควรเลือกไม้ไผ่ ที่มีปล้องยาวอายุประมาณ 10 เดือน ถึง 1 ปี
3.การจักตอก ต้องมีขนาดความกว้าง ความยาวให้เท่า ๆ กันทุกเส้น เพื่อจะได้กระติบรูปทรงสวยงาม
4.ก่อนที่จะเหลาเส้นตอก หรือขูดให้นำเส้นตอกที่จักแล้ว แช่น้ำประมาณ 1 ชั่วโมง เพื่อให้เส้นตอกอ่อนนุ่ม    

  จะได้ขูดเหลาง่ายขึ้น แล้วนำไปตากแดด ให้แห้งสนิท เพื่อป้องกันเชื้อราก่อนลงมือสาน
 

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา