ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเลี้ยงปลาหมอ

โดย : นางวิมล ทองคำ วันที่ : 2017-02-28-14:59:07

ที่อยู่ : 13 ม.9 บ้านไร่โดม ต.ไร่ใต้ อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี 34110

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ปัจจุบันปลาหมอไทย เป็นปลาที่มีรสมัน เนื้อแน่น นุ่ม ก้างน้อย สามารถประกอบอาหารหรือแปรรูปได้หลากหลาย ทั้งต้มยำ แกง ย่าง ทอด ทำปลาร้า ปลาเค็ม ปลาตากแห้ง และอื่นๆ เป็นที่ต้องการของตลาด และนิยมบริโภคกันมาก ทั้งในประเทศ และการส่งออก ราคาดีกำไรงาม จึงอยากจะเลี้ยงไว้บริโภค เพื่อลดรายจ่ายและนำออกจำหน่ายเป็นรายได้เสริมให้ครอบครัว

วัตถุประสงค์ ->

1. เลี้ยงไว้บริโภคในครัวเรือน มีรสชาดอร่อย

2. สร้างรายได้เสริม สร้างอาชีพ ให้กับครัวเรือน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

พันธุ์ปลาหมอไทย  อาหารปลาดุกหรือปลาหมอ

อุปกรณ์ ->

1. สระน้ำ หรือบ่อดิน

2. ไนล่อนเขียว 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การเลี้ยงในบ่อดิน  เมื่อลูกปลาได้ขนาด จะทำการปล่อยลงเลี้ยงในบ่อ อัตราเลี้ยงที่เหมาะสม 30-50 ตัว/ตารางเมตร หรือ 40,000-80,000 ตัว/ไร่ ส่วนวิธีปล่อยพ่อแม่พันธุ์ปลาให้ผสมพันธุ์ และวางไข่ในบ่อเลี้ยงเลย อัตราพ่อแม่พันธุ์ประมาณ 25-50 คู่/ไร่ จะได้ลูกประมาณ 50,000-100,000 ตัว/ไร่

สำหรับเกษตรกรไม่มีความเรื่องการเพราะพันธุ์ปลา อาจหาซื้อลูกปลาตามฟาร์มหรือโรงเพาะพันธุ์ ขนาด 2-3 นิ้ว (อายุ 60-75 วัน หรือ 2-3 เดือน) อัตราการปล่อยประมาณ 25 ตัว/ตารางเมตร หรือ 40,000 ตัว/ไร่ บ่อที่ใช้เลี้ยงควรขึงด้วยผ้าเขียวรอบบ่อ เพื่อป้องกันศัตรูของปลาหรือปลาปีนป่ายออกนอกบ่อ โดยเฉพาะเวลาฝนตก และอาจติดตั้งระบบการเพิ่มออกซิเจนหากคุณภาพน้ำมีปัญหา

ข้อพึงระวัง ->

หมั่นดูแลบ่อที่เลี้ยงปลาให้สะอาด ป้องกันโรคที่จะมาทำลายปลา 

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา