ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การปั้นหม้อดินเผา

โดย : นางสายขิม อนุมาตย์ วันที่ : 2017-02-28-15:22:30

ที่อยู่ : 94 ม.5 ต.ดุมใหญ่ อ.ม่วงสามสิบ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น ต้องการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น เนื่องจากไม่มีใครทำ คนรุ่นหนุ่มสาวไม่มีใตรสืบทอด

วัตถุประสงค์ ->

1.เพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

2.เพิ่มรายได้ในครัวเรือน

3.อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.ดิน

2.แกลบ

3.ฟาง

อุปกรณ์ ->

1.แป้นหมุน

2.ไม้ตบ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ขั้นตอนที่ ๑ 

วัตถุดิบ  คือดินเหนียว  โดยเลือกเอาเฉพาะดินชั้นกลางที่มีคุณสมบัติเป็นดินที่แน่นแเหนียว

ละเอียดเหมาะสำหรับนำมาปั้นเป็นรูปต่าง ๆ ได้  จากนั้นก็นำดินมาตากแดดแห้ง 

ขั้นตอนที่ ๒ 

นำดินที่แห้งแล้วมาตำในครกกระเดื่องให้ละเอียด  และนำมาร่อนเอาเฉพาะดินที่ละเอียด

ขั้นตอนที่ ๓  

นำดินที่ร่อนละเอียดมาผสมกับหินกรวด(หินกรวดมีคุณสมบัติเพิ่มความแข็งแรงป้องกัน

การแตกร้าวโดยมีส่วนผสม คือ ดินจำนวน ๕ ส่วน  หินกรวดเล็กละเอียดจำนวน ๒  ส่วน  แล้วนำมาผสมน้ำพอประมาณนำมาผสมกันปั้นเป็นก้อน  แล้วนำมาทุบเป็นก้อน หรือเป็นแผ่น ๆ ให้ดินแน่น 

ขั้นตอนที่ ๔    ลักษณะการทำเครื่องปั้นดินเผาโบราณ  มี ๒ รูปแบบ  ดังนี้

๔.๑ ปั้นวิธีอิสระหรือการปั้นด้วยมือ เป็นการปั้นให้มีรูปเหมือนของจริง หรือเป็นการปั้น

ภาชนะเครื่องใช้ต่างๆด้วยมือ เป็นการปั้นที่ใช้ในการทำแม่แบบเพื่อนำไปทำแบบปูนปลาสเตอร์ มีเครื่องใช้ คือ ไม้สำหรับตีให้มีรูปกลม มีก้อนหินสำหรับรองรับภายใน  การปั้นด้วยวิธีนี้ ได้แก่  การปั้นหม้อ    

๔.๒ปั้นบนแป้นหมุน จะปั้นได้เฉพาะภาชนะที่มีรูปกลมหรือทรงกลม แบ่งออกเป็น ๒ อย่าง

                                    ๔.๒.๑ปั้นครั้งเดียวเสร็จ เป็นการปั้นของขนาดเล็ก เช่น แจกัน อ่าง กระถางหรือโถขนาดเล็ก

                                        ๔.๒.๒ปั้นสองตอนหรือสามตอน เป็นการปั้นของขนาดใหญ่ใช้วิธีปั้นตอนล่าง

ก่อน ผึ่งให้หมาด ขดดินต่อขึ้นไปแล้วนำไปรีดบนแป้นหมุน นำไปผึ่งให้หมาดแล้วต่อขึ้นไปอีกตอนหนึ่ง ถ้า

เป็นสามตอนแล้วจึงรีดบนแป้นหมุน ทำเป็นปาก เข่น การปั้นโอ่งเคลือบราชบุรี การปั้นแบบนี้ต้องมีการวัด

ส่วนสูงและความกว้างของปากและก้นเพื่อให้มีขนาดเท่ากัน แต่ถึงกระนั้นก็ดี ความหนาก็ยังแตกต่างกันอยู่

เครื่องปั้นที่ทำจากแป้นหมุน(ออกแบบโดยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้าน) เช่น แจกัน  คันโท 

กระถางดอกไม้    มีวิธีการใช้แป้นหมุนโดยแรงเหวี่ยงหมุนโดยรอบ(ใช้เท้าคนถีบแรงๆ )   

ขั้นตอนที่ ๕  นำเครื่องปั้นดินเผา(หม้อ  แจกัน  คันโท  กระถาง) ไปตากแดดให้แห้ง

การตากแห้ง

              การตากแห้ง คือ การไล่น้ำออกจากของที่ขึ้นรูปเสร็จแล้ว การตากแห้งควรให้น้ำระเหยออกไปอย่างช้าๆ เพื่อป้องกันการแตกร้าว ปริมาณของน้ำที่ใช้ในการขึ้นรูปต้องเหมาะสม

              การตากแห้งของแข็งที่มีขนาดแตกต่างกันทำได้ ดังนี้

                ๑.ของใหญ่ ต้องปั้นในที่มิดชิด กันลมโกรกโดยมากทำหลังคาเกือบถึงพื้นและมีฝาปิดมิดชิด ของที่ปั้นเสร็จแล้วจะต้องคลุมเพื่อมิให้ถูกลมมากเกินไปในระยะหนึ่ง แล้วจึงเอาสิ่งที่คลุมออกผึ่งไว้ในร่ม ๓-๗ วัน จึงเอาออกตากแดดหรือนำไปวางข้างเตาเผา

               ๒. ของเล็ก ผึ่งลมในช่วงระยะหนึ่งแล้วเอาออกตากแดด

               ๓. การตากในแสงแดดควรจะหมุนให้ถูกแดดทั่วกันทุกด้านเพื่อกันแตกร้าว บิดเบี้ยว ของที่ตากแห้งสนิทแล้วจะทำให้ปริมาณการแตกเสียหายจากการเผาดิบลดน้อยลง

 ขั้นตอนที่ ๖  จากนั้นนำไปเผาในหลุมดิน  (ด้วยวิธีโบราณ) กระบวนการเผาแบบพื้นบ้าน

วัสดุ  อุปกรณ์ที่จัดเตรียมใช้สำหรับขั้นตอนการนำเครื่องปั้นดินเผาไปเผาในหลุมดิน  มีดังนี้

๑.ฟืน   ๒.ฟาง    ๓.แกลบ 

ขั้นตอนการเผา

                             ๖.๑ นำฟางรองพื้นหลุมเตาเผาบาง ๆ                                           

๖.๒ นำเครื่องปั้นดินเผา ไปวางเรียงตะแคงเป็นแถวภายในหลุมเตาเผาแล้วนำฟางมาคลุมทับ

                                                ๖.๓ นำเปลือกไม้ฟืนแห้งทับบนฟางให้เต็ม

                                                ๖.๔ นำฟางคลุมทับเปลือกไม้ฟืนแห้งให้ทั่วหลุม

                                                ๖.๕ นำแกลบมาโรยคลุมบนฟางให้เต็มหลุม เกลี่ยให้เรียบ

                                                ๖.๖ จุดไฟเผารอบ ๆ ขอบหลุมเตเผา จนไหม้ทั่วหลุมเตาเผา

                                                ๖.๗ ทิ้งไว้ประมาณ  ๑ วัน ให้ไฟดับสนิท  จึงนำเครื่องปั้นออกจากหลุมเตาเผา   

 

    

 

 

ข้อพึงระวัง ->

-

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา