ความรู้สัมมาชีพชุมชน

จักสานไม้ไผ่

โดย : นางสมบัติ ทะนานคำ วันที่ : 2017-02-28-15:20:47

ที่อยู่ : 358 ม.10 ต.นาเยีย อ.นาเยีย

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

บ้านโนนพัฒนา ม.10 ต.นาเยีย ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา อาชีพรองคือทำสวน ทำไร่ และรับจ้างทั่วไป  ว่างเว้นจากฤดูทำนาจะจักสานเครื่องใช้ทำจากไม้ไผ่ เช่น ไซหาปลา ข้อง หวดนึ่งข้าว กระติ๊บข้าว เป็นต้น และได้รวมกลุ่มผู้ที่สนใจจักสานจากไม้ไผ่ จากครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน

วัตถุประสงค์ ->

1.เพื่อให้ชุมชนและกลุ่มเกิดความรัก ความสามัคคี มีการทำงานร่วมกันเป็นทีม

2.สร้างรายได้แก่ครัวเรือนและสมาชิกกลุ่ม

3.ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ไม้ไผ่ 

อุปกรณ์ ->

มีดโต้

มีดเหลาตอก

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ขั้นเตรียมเส้นตอก

     ใช้พร้าตัดไม้ไผ่เฮี้ยจากกอ   โดยเลือกลำที่ไม่แก่หรืออ่อนจนเกินไป

    ใช้เลื่อยตัวให้เป็นปล้อง ๆ โดยทิ้งส่วนที่เป็นข้อ   ความยาวของไม้ไผ่ที่เลื่อยนั้นขึ้นอยู่กับขนาดของหวด   เช่น   ถ้าสานหวดใหญ่จะตัดไม้ให้ยาว   35 นิ้ว หวดขนาดกลาง   30   นิ้ว   หวดขนาดเล็ก 25   นิ้ว   เป็นต้น

     ใช้พร้าผ่าไม้ไผ่เป็นซีก (ชาวบ้านเรียก  กีบ) ขนกดความกว้างของซีกไม้ไผ่ หวดขนาใหญ่ กว่าง 0.5 ซม. หวดขนาดกลาง กว้าง 0.8 ซม. หวดขนาดเล็ก กว้าง 0.6 ซม.

    การจักส่วยตอก คือ การเหลาซีกไม้ไผ่เพื่อลบคมของซีกไม้ตรงกลางออก อล้วเหลาหัวท้ายของซีกไม้ให้เรียวลง

    การจักตอก คือ การเอาส่วนที่เป็น เนื้อไม้และเปลือกไม้ไผ่ (ติวไม้) แยกออกจากกันซีกหนึ่งจะจักเป็นเส้นตอกได้ ประมาณ 8-10   เส้นการจักตอกสำหรับสานหวด ควรหาสไม้ไผ่ที่ค่อนข้างอ่อน ความยาวของเส้นตอก ทำตามขนกดที่กล่าวข้างต้น

ขั้นนำเส้นตอกที่จักไว้ไปผึ่งแดดย่าง หรือรมควัน

     นำเส้นตอกที่ จักเสร็จแล้วผึ่งแดดให้แห้ง ถ้าเป็นฤดูก็ใช้วิธีรมควัน จะทำให้ไม่มีรา ขึ้น การผึ่งแดดใช้เวลา 2-3 วันถ้ารมควันก็ให้สังเกตดูสีของเส้นตอก เป็นสี น้ำตาล ก็ถือว่าใช้ได้

    เมื่อเส้นตอกผึ่งแดดหรือรมควันได้ที่แล้วมัดตอกเป็นมัด ๆ ตามความยาวของเส้นตอก แต่ชะขนาดไว้  

ขั้นการสานหวด

     การก่อหวดใช้ตอกเป็นเปลือกไผ่ (ติว ไม้) สานก่อรวมกันกับตอกธรรมดา วางในแนวตั้ง 4 เส้น แนวนอน 8 เส้น สานขัดเป็นลาย 3 โดยเริ่มจากจุดกึ่งกลาง สานไปข้างจุดกึ่ง สานไปข้างละ 13 ชัด

    รอบปลุกก้นหวด นำเอมหวดที่ก่อแล้วมาหักมุมที่จุดกึ่งกลางแล้ว สานลาย 3 ไป รอบ ๆ หวดจนหมดเส้นตอกทั้ง 2 ข้าง

    การสานหวด ถ้าสานความสูงของหวดยังไม่ได้ขนาด ก็สามารถใช้เส้นตอกเพิ่มความสูงได้แล้วสานเพิ่มเข้าไปอีกทั้ง2 ข้าง

    การไพหวด เมื่อความสูงได้ตามความต้องการแล้ว จะใช้ตอกไพ มาสานขัดหวดเป็นขัดลาย 3 โดยใช้ตอกไพ 3 เส้น สานลายขัดไล่กันไปให้รอบ แล้ว ตัดเส้นตอกที่ยาวเกินไปทิ้งเพื่อเตรียมม้วนในขั้นตอนสุดท้าย

    การม้วนหวดเริ่มจากด้านข้างของหวด ใช้นิ้วมือหักม้วนไปตามลาย ม้วนต่อกันไปเรื่อย ๆ จนถึงกึ่งกลายและเหน็บเส้นตอก 2 3 เส้น สุดท้ายลงไปตามลาย ของหวดแต่ละข้างก็จะได้หวดนึ่งข้าวที่สมบูรณ์

ข้อพึงระวัง ->

-

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา