ความรู้สัมมาชีพชุมชน

เลี้ยงปลาดุก

โดย : นายบัวพา ศรีชูเลิศ วันที่ : 2017-03-27-05:59:40

ที่อยู่ : 72 หมู่ที่ 11 ตำบลสว่าง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

                 ด้วยอาชีพเกษตรกร ทำนา เลี้ยงสัตว์ บ้านโคกสะอาดเป็นหมู่บ้านที่โชคดี มีคลองชลประทานผ่านเพื่อใช้นำทำการเกษตร ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ ได้อย่างสบาย แม้ในฤดูแล้ง หรือฤดูทำนาก็ทำนา และเลี้ยงปลาดุกในบ่อดิน ซึ่งได้ขุดไว้บริเวณนา 2 บ่อ สร้างเป็นรายได้ที่ถือว่าพออยู่ พอกิน ครอบครัวไม่เดือดร้อน

                ช่วงที่มีโครงการส่งเสริมการสร้างสัมมนาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน จึงได้คิดว่าเป็นโครงการที่ดี พัฒนาเศรษฐกิจฐานราก จึงได้รวมกลุ่มขึ้นเพื่อเลี้ยงปลาดุกในบ่อดิน จะได้มีปลาดุกไว้จำหน่าย เป็นทุนหมุนเวียนในหมู่บ้าน สร้างรายได้ให้สมาชิกครัวเรือนที่มีรายได้น้อย  และสร้างความรักความสามัคคีให้คนในหมู่บ้านด้วย

 

  

วัตถุประสงค์ ->

1.เพื่อสร้างรายได้ให้สมาชิกกลุ่ม

2.เพื่อเป็นการรวมกลุ่มและสร้างความสามัคคี

3.เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ในเรื่องการเลี้ยงปลาดุกให้ผู้สนใจ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.ลูกปลาดุก

2. หัวอาหารปลาดุก เล็ก,กลาง,ใหญ่

 

อุปกรณ์ ->

ตาข่ายล้อมสระ จำนวน 100 เมตร

 

 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1.นำปลาดุกมาแช่น้ำในบ่อปูนทั้งถุง แล้วค่อยๆเปิดปากถุงให้ปลาว่ายออกมาเอง
2.วันแรกที่นำปลามาปล่อยไม่ต้องให้กินอาหาร
3.นำพืชผักที่ปลากิน เช่นผักบุ้ง ผักตบชวาและอื่นๆมาใส่ในบ่อ
4.การให้อาหาร ปลา 1 ตัวให้อาหาร 5 เม็ด/เมื้อ ในช่วงปลาเล็กให้อาหารวันละ 2 เมื้อ เช้า-เย็น ปลาอายุ 1 เดือนครึ่งให้อาหารปลาขนาดกลาง โดยให้อาหารวันละ 1 ครั้ง ให้ปลากินตอนเย็น

 

ข้อพึงระวัง ->

ข้อระวังเมื่อเกิดโรคดีซ่าน ซึ่งจะเป็นมากในช่วงหน้าหนาว โดยลักษณะอาการคือปากเปื่อย ตัวเปื่อย หางเปื่อย โรคชนิดนี้หากเป็นแล้วจะเป็นโรคร้ายแรงและทำให้ปลาตายยกบ่อได้ วิธีป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดโรคนี้คือหมั่นสังเกตน้ำไม่ให้น้ำเสีย คือมีสีเขียวเข้มจัดเกินไป หากน้ำมีสีเข้มจัดควรผันน้ำใหม่เข้ามาเพิ่มในบ่อและเติมซีโอไรท์เพื่อปรับคุณภาพน้ำลงปลาหากเห็นว่าปลาดุกกำลังเริ่มเป็นโรคให้ใช้ยา ชื่อสามัญ โคไมซิน คลุกกับอาหารเม็ดหว่านให้ปลากินจนปลาหายขาดจากโรค

 

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา