ความรู้สัมมาชีพชุมชน

ปุ๋ยอินทรีย์

โดย : นายวิจิตร สวัสดิ์พันธ์ วันที่ : 2017-02-28-16:20:27

ที่อยู่ : ๓๐ ม.๕ ต.ไผ่ใหญ่ อ.ม่วงสามสิบ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การใช้ทรัพยากรดินโดยไม่คำนึงถึงผลเสียของปุ๋ยเคมีสังเคราะห์ ก่อให้เกิดความไม่สมดุลในแร่ธาตุและกายภาพของดินทำให้สิ่งมีชีวิตที่มีประโยชน์ในดินนั้นสูญหาย และไร้สมรรถภาพความไม่สมดุลนี้เป็นอันตรายยิ่ง กระบวน

การนี้เมื่อเกิดขึ้นแล้ว จะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างต่อเนื่อง ผืนดินที่ถูกผลาญไปนั้น ได้สูญเสียความสามารถในการดูดซับแร่ธาตุ ทำให้ผลผลิตมีแร่ธาตุ วิตามิน และพลังชีวิตต่ำเป็นผลให้เกิดการขาดแคลนธาตุอาหารรองในพืช พืชจะอ่อนแอ ขาดภูมิต้านทานโรคและทำให้การคุกคามของแมลง และเชื้อโรคเกิดขึ้น  ได้ง่ายซึ่งจะนำไปสู่การใช้สารเคมีฆ่าแมลงและเชื้อราเพิ่มขึ้น ดินที่เสื่อมคุณภาพนั้น จะเร่งการเจริญเติบโต   ของวัชพืชให้แข่งกับพืชเกษตร และนำไปสู่การใช้สารเคมีสังเคราะห์กำจัดวัชพืช ข้อบกพร่องเช่นนี้ก่อให้เกิดวิกฤติในห่วงโซ่อาหาร และระบบการเกษตรของเราซึ่งทำให้เกิดปัญหาทางสุขภาพ และสิ่งแวดล้อมอย่างยิ่ง     ในโลกปัจจุบันประเทศไทยนำเข้าสารเคมีสังเคราะห์ทางการเกษตรเป็นเงินปีละ 4-5 หมื่นล้านบาท เกษตรกรต้องซื้อปัจจัยการผลิตที่เป็นสารเคมีสังเคราะห์ในการเพาะปลูกทำให้การลงทุนสูง และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องขณะที่ราคาผลผลิตในรอบยี่สิบปี ไม่ได้สูงขึ้นตามสัดส่วนของต้นทุนที่สูงขึ้นนั้นมีผลทำให้เกษตรกรขาดทุน     มีหนี้สินล้นพ้นตัวเกษตรอินทรีย์จะเป็นหนทางของการแก้ปัญหาเหล่านั้น

การทำเกษตรอินทรีย์ เป็นการหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช เพื่อความปลอดภัยของ  สุขภาพ  ซึ่งเกษตรอินทรีย์ใช้หลักการอยู่ร่วมกันและพึ่งพาธรรมชาติ  ปัจจัยการผลิตจะใช้จากพืชและสิ่งที่มี

ชีวิตในดิน  โดยนำเศษซากพืช  ซากสัตว์  พืชตระกูลถั่ว  และซากเหลือทิ้งอื่นๆ นำมาใช้ในการปรับปรุงดิน สามารถป้องกันศัตรูพืชได้  ทั้งนี้จะช่วยให้เกษตรกรพึ่งพาตนเองได้  จากการใช้เศษวัสดุที่เหลือใช้ภายใน

ที่นา  สวน  ไร่  และยังประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อสารเคมีเพื่อทำการผลิต  ลดปัญหาความเสื่อมโทรมของดินที่เกิดจากการใช้สารเคมี  รวมทั้งก่อให้เกิดผลผลิตที่ปลอดภัยจากสารพิษ  ทั้งหมดนี้เป็นทางออกที่ชุมชน...ได้ร่วมกันคิดเพื่อให้เกษตรกรและผู้บริโภคมีความปลอดภัยในชีวิต 

ผลสรุปจากเวที  ที่ร่วมกันหาทางออกให้ชุมชน  ประกอบกับ ปราชญ์ชาวบ้าน  ได้มีความคิดเห็นว่า   ควรจะจัดการความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการทำเกษตรอินทรีย์ เพื่อเป็น  บทเรียนของชุมชน  สำหรับคนในชุมชน  และผู้มาศึกษาดูงานจะได้นำเสนอบทเรียนตามฐานการเรียนรู้ต่างๆ  เพื่อให้แขกผู้มาเยือนได้นำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันต่อไป

วัตถุประสงค์ ->

สร้างความรู้ ความเข้าใจ กับคนในชุมชน โดยใช้เวที...เป็นสื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ บางครั้งทำแบบ เป็นทางการ คือเชิญชาวบ้านมาร่วมจัดเวที พูดคุย ปรึกษาหารือ วิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็งและโอกาสในการพัฒนาหมู่บ้าน หรือแบบไม่เป็นทางการ ในรูปของสภากาแฟ พบกันที่ไหนคุย/แลกเปลี่ยนกันตรงนั้น ส่งผลให้คนในชุมชนได้รับรู้สิ่งใหม่ ๆ ที่แต่ละคนได้ประสบเจอกับตนเองและหน่วยงานได้นำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน การกระทำดังกล่าวนับว่าได้ผลดี เพราะใช้กระบวนการเรียนรู้เป็นแนวทางกำหนดทิศทางการพัฒนาที่สอดคล้องกับความต้องการของชาวบ้าน ให้สามารถพึ่งตนเองได้ นอกจากจะเปิดโอกาสให้คนในชุมชนและภาคีการพัฒนาได้พบปะกันแล้ว และสร้างความสามัคคีของคนในชุมชนอีกด้วย ซึ่งขณะนี้ชุมชนมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน บ้านนาทุ่งยังมีความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอยู่ การแตกแยกทางความคิดก็มีบ้าง แต่ก็สามารถแก้ไข ให้ลุล่วงไป  ในเวที... ส่วนใหญ่ที่นำมาพูดคุยกันเสมอๆ คือ การทำมาหากินของชาวบ้าน ที่จะช่วยให้คนในชุมชนมีอาชีพเลี้ยงครอบครัวให้มีความสุข โดยเฉพาะการเกษตร ที่เป็นอาชีพหลัก และอาชีพที่ทำกันมานาน รองจากการทำนา คือ ปลูกพืชผัก ที่ผ่านมาไม่ว่าปลูกข้าว ปลูกผัก ล้วนแล้วแต่ใช้สารเคมีทั้งปุ๋ย ยาฆ่าแมลง เข้าช่วย ซึ่งได้ผลผลิตดี แต่เป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆ  ไม่กี่ปีเท่านั้น ที่สำคัญคือ ต้องจ่ายเงินเป็นจำนวนมหาศาล เพื่อให้ได้ผลผลิตสวยงาม มีราคา ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่ไม่ได้คำนึงถึงพิษภัยที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของตนเอง ยิ่งทำไป แม้ว่าจะมีรายได้ดี แต่สุขภาพแย่ลงทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค โดยเฉพาะผู้ผลิตเป็นด่านแรกที่ได้รับผลกระทบ เมื่อเป็นเช่นนี้ ชุมชนหาทางออกโดยการจับกลุ่มเล็ก ๆ พูดคุยกัน เพราะเห็นว่าเกษตรกร กำลังประสบปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพที่ทรุดโทรม จากเวทีพูดคุยกัน ทำให้รู้ว่า สิ่งที่ดีที่สุด คือ ต้องผลิตใช้เอง ไม่ต้องซื้อ เริ่มแรกอาจจะมีอุปสรรคบ้าง แต่จะมีผลดีในอนาคต เมื่อจับกลุ่มเล็กๆ คุยกัน หลายๆ ครั้ง จนได้บทสรุป จึงนำเข้าสู่เวทีชาวบ้าน เพื่อนำเสนอให้คนในชุมชนได้รับทราบ  และร่วมกันหาทางออกที่ดีที่สุด เพื่อแก้ปัญหาให้ลดน้อยลง ทางออกที่ชุมชนได้นำเสนอเพื่อช่วยกันแก้ไขปัญหา คือ ส่งเสริมให้ทำ “เกษตรอินทรีย์

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

๑. เศษพืช ๑ ตัน

๒. มูลสัตว์ ๒๐๐ กิโลกรัม

๓. ปุ๋ยยูเรีย ๒ กิโลกรัม

๔. สารเร่ง พด.๑ ๑ ซอง (๑๐๐ กรัม)

๕. น้ำ ๒๐ ลิตร (๑ ปิ๊บ)

อุปกรณ์ ->

          ๑) ปุ๋ยคอก 

          ๒) แกลบดิบ

          ๓) แกลบดำ

          ๔) ร็อคฟอสเฟส

          ๕) หัวเชื้อจุลินทรีย์

          ๖) กากน้ำตาล

          ๗) กระสอบปุ๋ยชั้นนอก

          ๘) เชือกฟาง

กระบวนการ/ขั้นตอน->

. ตั้งกองปุ๋ยหมัก โดยนำมูลสัตว์ เศษพืช มาผสมกัน ในพื้นที่ กว้าง ๒ เมตร ยาว ๓ เมตร และสูง    

    ๑.๕ เมตร รดน้ำให้ชุ่ม และมีความชื้น ๖๐ เปอร์เซ็นต์ ย่ำให้แน่น

. ละลายสารเร่ง พด.๑ ในน้ำ ๒๐ ลิตร คนให้เข้ากัน นาน ๑๕ นาที รดลงบนกองปุ๋ยหมัก

. กลับกองปุ๋ยหมักพร้อมกับรดน้ำทุก ๑๐ วัน จำนวน ๔ ครั้ง

. ปุ๋ยที่ย่อยสลายแล้ว สามารถนำไปใช้ได้ จะมีสีน้ำตาลเข้มดำ ยุ่ย ละเอียด ไม่มีกลิ่นเหม็นและ

    ความร้อนภายในกองปุ๋ยหมักลดลง

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา