ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การทอเสื่อจากต้นกก

โดย : นางคำภา เสมอสุข วันที่ : 2017-03-23-18:21:02

ที่อยู่ : 140 ม.11 ตำบลบุ่งมะแลง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การทอเสื่อกก  ได้สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ  สมัยปู่ย่าตายายส่วนใหญ่ทอเพื่อใช้สอยในครัวเรือน  และสำหรับแลกเปลี่ยนสิ่งของซึ่งกันและกัน  ส่วนมากทำกันในกลุ่มแม่บ้านที่ว่างจากการทำนา  นิยมทำกันเกือบทุกครัวเรือน  ถ้ามีปริมาณมากก็จำหน่ายในราคาผืนละ  120  บาท  โดยประมาณ

วัตถุประสงค์ ->

1.  เพื่อใช้สอยในครัวเรือนและแลกเปลี่ยนสิ่งของ

2.  เพื่อจำหน่ายเพิ่มรายได้ให้ครัวเรือน

3.  เพื่อถ่ายทอดความรู้ในการทอเสื่อกกสู่คนรุ่นใหม่และอนุรักษ์ภูมิปัญญาของบรรพบุรุษให้คงอยู่สืบไป

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.  กก

อุปกรณ์ ->

1.  กรรไกร

2.  เชือกไนลอนหรือเชือกเอ็น

3.   ฟืมทอเสื่อ 1 เมตร

4.   โฮมทอเสื่อ กว้าง 1 เมตร ยาว 2 เมตร

5.   ไม้สอดกก

6.   สียอมกก

 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

วิธีการยอมสีกก

1.ต้มน้ำให้ร้อนและผสมสีลงไป

2.นำต้นกกที่เตรียมเอามาลงต้มให้สีเข้ากับเนื้อกก

3.เอาขึ้นมาตากให้แห้ง

4.ตากให้แห้งแล้ว(สามารถเอามาทอได้)

ขั้นตอนการทำ

1. นำกกมากรีดออกเป็นเส้นไปตากแดดประมาณ 1 อาทิตย์ 2. เมื่อแห้งแล้วนำมาย้อมสีตามต้องการ โดยสีที่ย้อมเป็นสีเคมีอย่างดี ส่วนมากจะย้อม สีน้ำตาลและสีขาว สีแดง สีน้ำเงิน 3. นำเชือกไนลอนหรือเชือกเอ็นขึงที่โฮมทอเสื่อให้เป็นเส้นตามโฮมและฟืม 4. นำกกหรือไหลสอดเข้ากับไม้สอดเพื่อที่จะสอดเข้ากับโฮมทอเสื่อ 5. เมื่อสอดกกหรือไหลเข้าไปแล้วผลักฟืมเข้าหาตัวเองให้กกหรือไหลแน่นติดกัน เป็นลายต่าง ๆ 6. ลายที่ทอเป็นประจำและเป็นที่นิยมคือ ลายมัดหมี่ ลายธรรมดา ลายกระจับ

วิธีการทอสื่อ

เลือกขนาดของฟืมให้ได้ขนาดตามที่ต้องการ นำฟืมไปตั้งในโฮงที่จะทอแล้วตั้งให้ได้ระดับ ระยะห่างจากเหล็กตีนเสื่อประมาณ 2 ฟุต นำเชือกไนลอนมาขึงจามริมฟืมซี่แรก จะเริ่มจากด้านซ้าย หรือขวาก่อนก็ได้แล้วแต่ถนัด การขึงเชือกใช้คน 2 คน คนหนึ่งนั่งอยู่ที่หัวเสื่อคอยมัดเชือกที่ขึงให้ตึง และแน่น อีกคนนั่งอยู่ตีนเสื่อคอยสอดเชือกเข้ากับเหล็กตีนเสื่อ ใช้เชือกสอดเข้าไปในรูฟืมที่เจาะไว้ เป็นสองแถว แล้วดึงปลายเชือกไปเกาะติดกับตะปูที่เราตอกงอไว้ติดกับไม้อีกท่อนหนึ่ง แล้วยึดกันให้แน่น เชือกดึงให้ยาวตามความยาวของเสื่อ พรมนำใส่กกที่จะทอ

ในการทอเสื่อจะใช้คน 2 คน คนแรกเป็นคนทอ อีกคนหนึ่งเป็นคนคอยสอดเส้นกก กกที่นำมาทอจะพันด้วยผ้าชุบน้ำหมาดๆ  เพื่อให้กกนิ่ม  ไม่แห้งและทอได้แน่น การทอคนทอจะต้องคว่ำฟืมเพื่อให้มีช่องว่างสำหรับสอดกก คนสอดจะสอดเส้นกกโดยแนบส่วนหัวของเส้นกกกับไม้สอด สอดไปตามช่องระหว่างเชือกที่แยกออกจากกันขณะที่คว่ำฟืม พอสอดไปสุดริมเชือกอีกข้างดึงไม้สอดกลับคืนคงเหลือแต่เส้นกก คนทอก็กระทบฟืมเข้าหาตัวแล้วคนทอก็หงายฟืม คนสอดก็ใช้ส่วนปลายของเส้นกกแนบกับไม้สอด สอดกกเข้าไปอีก คนทอก็กระตุกฟืมเข้าหาตัว แล้วไพริมเสื่อทางด้านซ้ายมือ การไพริมเสื่อ คือ การใช้ปลายกกม้วนงอลงแล้วสอดพับเชือกขัดไว้ให้แน่น ต่อไปคว่ำฟืม ไพริมเสื่อทางด้านขวามือ ทำเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะได้ขนาดตามที่ต้องการ ในขณะทอหากต้องการให้การทอง่ายยิ่งขึ้นให้ใช้เทียนไขถูกับเส้นเอ็นที่ขึงไว้ให้ทั่ว เพื่อที่จะให้เอ็นลื่นไม่ฝืด ตัดริมเสื่อทั้งสองด้านให้เรียบร้อย เสื่อจะมีความสวยงามมากยิ่งขึ้น ใช้มีดตัดเชือกเอ็นทางตีนเสื่อเพื่อให้เสื่อออกจากโฮง มัดเอ็นที่ปลายเสื่อ เพื่อเป็นการป้องกันเสื่อรุ่ย นำเสื่อที่ทอเสร็จแล้วผึ่งแดดไว้จนแห้งสนิท จึงพับเก็บไว้จำหน่ายหรือแปรรูปต่อไป

ข้อพึงระวัง ->

1.  ไม่ให้เส้นกกที่ตากแห้งแล้วโดนฝนเพราะจะทำให้ขึ้นรา  และสีไม่สวย

2.  ไม่ให้เส้นกกเปียกน้ำเกินไปให้พรมน้ำพอชุ่ม ๆ  ถ้าเปียกน้ำเกินไปเส้นกกจะดูดน้ำบวมน้ำและเมื่อเวลานำไปผึ่งแดดเมื่อแห้งสนิทแล้วเสื่อจะห่างออกทำให้ได้เสื่อที่ไม่สวยไม่น่าใช้สอย  จำหน่ายไม่ได้

1.  อย่าให้ผือแห้งเพราะจะทำให้ขาดได้ง่าย  ควรนำผ้าชุบน้ำมาพันผือที่จะทอไว้ให้เปียกอยู่เสมอ

2.  เวลาตึงด้ายต้องให้เสมอกัน

 

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา