ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การทำปุ๋ยหมัก

โดย : นางหนูเจียม กอมะณี วันที่ : 2017-02-28-14:51:09

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 10 บ้านเดือยไก่ หมู่ 7 ตำบลหนองเหล่า อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัด อุบลราชธานี โทรศัพท์ 0895790259

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การใช้ทรัพยากรดินโดยไม่คำนึงถึงผลเสียของปุ๋ยเคมีสังเคราะห์ ก่อให้เกิดความไม่สมดุลในแร่ธาตุและกายภาพของดินทำให้สิ่งมีชีวิตที่มีประโยชน์ในดินนั้นสูญหาย และไร้สมรรถภาพความไม่สมดุลนี้เป็นอันตรายยิ่ง กระบวน

การนี้เมื่อเกิดขึ้นแล้ว จะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างต่อเนื่อง ผืนดินที่ถูกผลาญไปนั้น ได้สูญเสียความสามารถในการดูดซับแร่ธาตุ ทำให้ผลผลิตมีแร่ธาตุ วิตามิน และพลังชีวิตต่ำเป็นผลให้เกิดการขาดแคลนธาตุอาหารรองในพืช พืชจะอ่อนแอ ขาดภูมิต้านทานโรคและทำให้การคุกคามของแมลง และเชื้อโรคเกิดขึ้น  ได้ง่ายซึ่งจะนำไปสู่การใช้สารเคมีฆ่าแมลงและเชื้อราเพิ่มขึ้น ดินที่เสื่อมคุณภาพนั้น จะเร่งการเจริญเติบโต   ของวัชพืชให้แข่งกับพืชเกษตร และนำไป

สู่การใช้สารเคมีสังเคราะห์กำจัดวัชพืช ข้อบกพร่องเช่นนี้ก่อให้เกิดวิกฤติในห่วงโซ่อาหาร และระบบการเกษตรของเราซึ่งทำให้เกิดปัญหาทางสุขภาพ และสิ่งแวดล้อมอย่างยิ่ง     ในโลกปัจจุบันประเทศไทยนำเข้าสารเคมีสังเคราะห์ทางการเกษตรเป็นเงินปีละ 4-5 หมื่นล้านบาท เกษตรกรต้องซื้อปัจจัยการผลิตที่เป็นสารเคมีสังเคราะห์ในการเพาะปลูกทำให้การลงทุนสูง และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องขณะที่ราคาผลผลิตในรอบยี่สิบปี ไม่ได้สูงขึ้นตามสัดส่วนของต้นทุนที่สูงขึ้นนั้นมีผลทำให้เกษตรกรขาดทุน     มีหนี้สินล้นพ้นตัวเกษตรอินทรีย์จะเป็นหนทางของการแก้ปัญหาเหล่านั้น

วัตถุประสงค์ ->

1.ช่วยปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างในดินและน้ำ

2. ช่วยปรับสภาพโครงสร้างของดินให้ร่วนซุย อุ้มน้ำและอากาศได้ดียิ่งขึ้น

3. ลดการใช้สารเคมี

4. ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของพืชให้สมบูรณ์ ต้านทานโรคและแมลงได้ดี

5. ช่วยให้ผลผลิตคงทน เก็บรักษาไว้ได้นาน ผู้บริโภคปลอดภัยจากสารเคมี

6. ลดรายจ่ายภายในครัวเรือน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. เศษพืช  ผัก  หน่อกล้วย  ปลีกล้วย (กล้วยน้ำว้า)

2. กากน้ำตาล

3. EM

4. น้ำ

5. พด.2

อุปกรณ์ ->

ถังหมัก ที่มีฝาปิดสนิท

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1 นำวัตถุดิบมาสับ หรือหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ

2 นำใส่ถังหมัก

3 เติมกากน้ำตาลพอสมควร ตามด้วย EM 2 ฝา และเท พด.2 ลงไป

4 คลุกเคล้าให้เข้ากัน

5. เติมน้ำเปล่าท่วมวัตถุดิบ

6. ปิดฝาถัง หมักไว้ 7-15 วัน

5. เมื่อครบตามกำหนดน้ำหมักจะมีกลิ่นหอม พร้อมใช้ฉีดพ่นกับพืชผัก

ข้อพึงระวัง ->

ควรเลือกใช้เศษพืชผัก ที่ยังไม่บูดเน่า หรือเสีย

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา