ความรู้สัมมาชีพชุมชน

ทอเสื่อกก

โดย : นางสาคร ด้วงทองสา วันที่ : 2017-03-21-23:25:42

ที่อยู่ : 16 หมู่ 6 ต.หนองอ้ม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การทอเสื่อ เป็นวัฒธรรมที่สืบทอดกันมาแต่รุ่นบรรพบุรุษ ปัจจุบัน มีการนำวัสดุ สังเคราะห์อื่น มาทอในอุตสาหกรรมมากขึ้น นับวันลูกหลานคนรุ่นหลังไม่รู้จักการทอเสื่อที่ทำมาวัสดุธรรมชาติที่หาได้ในท้องถิ่น  จึงเกิดแนวคิดที่จะสืบสาน และพัฒนาลวดลายแปรรูป เป็นของใช้ พร้อมทั้งเป้นการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ สู่ชุมชน ลดการว่างงานด้วย

วัตถุประสงค์ ->

นอกจากส่วนหนึ่งที่ต้องการจะสืบทอดมรดกทางการทอเสื่อแล้ว ยังต้องการให้การทอเสื่อเป็นการสร้างรายได้สู่คนในชุมชน ไม่ให้เกิดการว่างงานพร้อมทั้งส่งในด้านอื่นๆๆ เช่นการปลูกกก เป็นการขยาย ให้เกิดอาชีพเพิ่มมากขึ้น

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

เสื่อกก เป็นเสื่อที่ผลิตจากต้นกก ซึ่งเป็นพืชล้มลุกมีหัวคล้ายข่า แต่เล็กกว่า ปลายลำต้นมีดอก แพร่พันธุ์ด้วยหัว ด้วยการแตกแขนงเป็นหน่อ กกจัดเป็นพืชเส้นใย 

อุปกรณ์ ->

อุปกรณ์ในการทอเสื่อ                                                                   1.1  กกย้อมสีต่างๆ เช่น สีแดง สีน้ำเงิน สีดำ สีเขียว สีเหลือง เป็นต้น         1.2   เส้นเอ็นปอ ใช้สำหรับขึง ได้มาจากการนำเนื้อเยื่อของเปลือกกระเจามาฉีกเป็นเส้นฝอย เล็กๆ แล้วนำมาปั่นให้เป็นเกลียวต่อให้ยาวติดต่อกัน           1.3   ฟืม คือ เครื่องมือที่กระทบเส้นกกให้แน่น ยาวเท่ากับขนาดกว้างของผืนเสื่อที่ทอ ประกอบด้วยช่องฟันฟืมและรูฟันฟืมสลับกันไปทั้งสองด้าน               1.4 ไม้ส่งเส้นกก หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “ ไม้พุ่ง ” ทำด้วยไม้ยาวพอที่จะส่งเส้นกกได้ตลอดความกว้างของผืนเสื่อ ปลายเรียวเหมือนปากกาสำหรับพันเส้นกก เพื่อในขณะที่ส่งเส้นกก เมื่อชักไม้กลับมาเส้นกกจะได้ไม่กลับตามออกมา            1.5 ไม้ทำคาน ต้องใช้ 4 ท่อน แบ่งออกเป็น ท่อนใหญ่ 2 ท่อน ใช้ผูกติดกับเสาหลักเป็นคานเรียกว่า “ คานตาย ” ส่วนคานอีก 2 ท่อน ใช้สำหรับผูกมัดเส้นเอ็นปอสามารถเลื่อนเข้า – ออกได้เรียกว่า “คานเป็น ”                                 1.6  เกลียวเร่ง ใช้สำหรับผูกมัดระหว่างคานเป็นกับคานตาย เพื่อหมุนเกลียวเร่งเข้าหากันให้เส้นเอ็นขึงนั้นมีความตึง อยู่เสมอ (อาจใช้เชือกแทนก็ได้)                  1.7 ไม้รองคานหรือที่ชาวบ้านรียกว่า “ ไม้ตุ๊กตา ” ทำจากไม้กว้างประมาณ 3 นิ้ว ยาวประมาณ 10นิ้ว ด้านล่างเรียบใช้ตั้งกับพื้น ด้านบนเป็นง่ามใช้รองรับคานเป็นให้สูงขึ้นจากพื้น มีจำนวน 4 อัน                                                              1.8ไม่ขัดเอ็น ใช้ไม้ไผ่เหลาให้บางพอประมาณ กว้างประมาณ 2 ซม. ยาวตามความเหมาะสม ใช้สำหรับขัดเส้นเอ็นก่อนที่จะส่งเส้นกกเส้นแรกและเส้นต่อๆ ไปจำนวนต้นละ 2 อัน                                                                     1.9 เทียน ,ขี้ผึ้ง สำหรับทาเอ็นเพื่อให้เกิดความลื่นของเส้นเอ็น เป็นการเบาแรงในการกระทบ                                                                                  1.10น้ำ เตรียมไว้สำหรับชุบ ปลายกกทั้งสองข้าง เพื่อให้เส้นกกนิ่ม สะดวกในการพันกับไม้พุ่งกก

กระบวนการ/ขั้นตอน->

วิธีการทอเสื่อ การทอนี้ต้องใช้ 2 คนด้วยกัน คนหนึ่งเป็นคนกระทบ อีกคนหนึ่งเป็นคนพุ่งเส้นกก                                                                             คนทอ มีหน้าที่พลิกฟืมให้คว่ำหงายและกระทบเส้นกก พร้อมกับการคอยสังเกตลักษณะของเส้นกกที่กระทบกันนั้น ขาด โค้งงอหรือไม่ ผู้พุ่งให้สีหรือเปลี่ยนสีที่ถูกต้องหรือไม่                                                                        ผู้พุ่ง มีหน้าที่ส่งเส้นกกตามจังหวะหงายและคว่ำฟืม พร้อมด้วยการทำลวดลายของผืนเสื่อ การขึงเส้นเอ็นเพื่อการทอ ส่วนใหญ่การขึงครั้งหนึ่งจะทอเป็นเสื่อได้ 2 ผืน เมื่อทอเสร็จแล้วก็จะจำหน่ายให้กับกลุ่มเพื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เสื่อกก

ข้อพึงระวัง ->

1.ในขั้นตอนการตากและการย้อมสีต้องตากให้มั่นใจว่าเส้นกก แห้งทั้งหมดแล้ว เพราะถ้า กกไม่ไม่แห้งอาจจะทำให้เกิดเชื้อราได้

2.ในขั้นตอนการทอเสื่อต้องใช้ความละเอียดและปราณีตเนื่องจากถ้าขั้นตอนใดผิดเพี้ยนไปแล้วนั้นอาจทำให้ลายเสียหายไปทั้งหมด

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา