ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การทอผ้า

โดย : นางอรอนงค์ วิเศษศรี วันที่ : 2017-01-27-14:31:59

ที่อยู่ : 4/1 หมู่ที่ 2 ตำบลโคกหม้อ อำเภอท่ัพทัน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

              การทอผ้าได้สืบทอดมาจากบรรพบุรุษการสืบทอด การถ่ายทอด ในสมัยโบราณผู้คนเรียนรู้หนังสือน้อยหรือแทบไม่ได้ศึกษาเล่าเรียนเลยโดยเฉพาะผู้หญิง ซึ่งต้องมีหน้าที่ในงานบ้านเลี้ยงลูก ทำงานทอผ้า เพื่อใช้ในการนุ่งห่มของคนในครอบครัวหลังจากเวลาว่างจากการทำไร่ทำนา อาศัยเวลากลางคืนบ้าง เวลาหยุดพักเพื่อรอคอยการเก็บเกี่ยวผลผลิตบ้าง นับว่าเป็นงานหนักพอสมควรสำหรับหญิงไทยเพราะเมื่อเลิกงานประจำวันแล้วยังต้องมาประกอบอาหารดูแลลูก ๆ และสามีให้รับประทานอาหารจนอิ่มและเข้านอนแล้ว   ตนเอง  ก็ยังไม่ได้พักผ่อนยังต้องเก็บฝ้าย ดีดฝ้าย มัดหมี่ เพื่อเตรียมไว้เมื่อว่างเว้นจากการทำงานแล้วจึงทำการทอผ้า

วัตถุประสงค์ ->

เป็นการเพิ่มรายได้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

1. ด้าย

2. กี่

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การทอผ้าไหมของชาวโคกหม้อในปัจจุบันจะนิยมซื้อเส้นไหมคุณภาพดี นำมาย้อมหรือมัดหมี่

แล้วทอเป็นผืนให้เป็นลวดลายตามความต้องการ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

             ๑) การฟอกไหม  คือ การแยกไขมันออกจากเส้นไหมเพื่อป้องกัน การย้อมสีไม่ติด ฟอกไหมในอดีตจะใช้ขี้เถ้าถ่านจากต้นไม้โดยการนำขี้เถ้ามาแช่น้ำจนตกตะกอน แล้วจึงกรองน้ำใส ๆ มาแช่เส้นไหมที่ยังมีไขมันติดอยู่ 1 คืน หลังจากนั้นต้มน้ำจนเดือดนำสบู่ซันไลด์๑ ก้อน โดยต้องสบู่ให้เป็นชิ้นบาง ๆในน้ำเดือด นำเส้นไหมที่แช่น้ำขี้เถ้าไว้แล้วใส่น้ำเดือดโดยใช้เวลาในการต้ม ๑๕ - ๓๐ นาที หรือให้สังเกตจากเส้นไหมจะนิ่ม

             ๒) กรอเส้นไหมเข้าหลอดเพื่อทำเส้นยืน คือเส้นไหมที่ขึงอยู่ในกี่จะควบ ๖,๑๒ และการเข้ากวักทำเส้นพุ่ง คือ เส้นไหมที่อยู่ในกระสวยใช้เวลาในการกรอเส้นไหม ซึ่งทำด้วยมือไม่ใช้เครื่องเป็นเวลา ๒ วัน

             ๓) การค้นเส้นยืนในเฝือ โดยกำหนดว่าจะเอาเส้นไหมยาวเท่าใดตามความต้องการส่วนใหญ่นิยมใช้ความยาว ๙-๒๗เมตรการค้นเส้นพุ่งนำเส้นไหมมาค้นใส่แม่สะดึงยาวตามความกว้างของหน้าฟืม ต้องเรียงเส้นไหมให้ได้  ๔,๕๐๐  เส้น ตามลายหมี่จำนวนปอยขนาด ๑๗-๑๙-๒๑-๒๕-๒๙-๓๕-๓๙ ใช้เวลาในการค้น ๕-๖ ชั่วโมง

             ๔) เส้นยืนมัดต่อประมาณ ๑,๖๐๐-๒,๔๐๐ เส้น เส้นยืนเก่าที่มีอยู่แล้วหรือเส้นยืนใหม่ต้องเก็บตระกรอ ใช้เวลาในการมัดต่อสำหรับเส้นยืนผู้มีความชำนาญจะใช้เวลา ๒ วัน.

             ๕) การนำเส้นไหมที่มัดหมี่แล้วไปแช่น้ำเพื่อให้น้ำซึมเข้าเส้นหมี่โดยใช้เวลาแช่น้ำตั้งแต่๓ ชม. ขึ้นไปแล้วจึงทำการย้อมสีพื้นเส้นไหมมัดหมี่ เหตุที่นำเส้นไหมไปแช่น้ำเพราะว่าจะทำให้ได้สีเสมอกัน     

             ๖) วิธีการแจะสี (การแต้มสี) ตามลายตามแบบที่ต้องการสีที่ใช้ส่วนใหญ่นิยมแต้มด้วยสีดำ เหลือง เขียว น้ำตาล แดง มัดหมี่ทั้งผืนจะใช้เวลา ๒ วัน มัดหมี่ตาจะใช้เวลา๕-๖ ชั่วโมง

๗) หลังจากได้เส้นไหมที่มีสีสันแล้วก็จะนำมาค้นหูกต่อด้ายเครือหูก แต่งหูกเพื่อให้พร้อมที่จะทอโดยการใช้กระสวยในการพุ่งทอกลับไปกลับมาถ้าจะทำลายจกลายบิด ก็จะขึ้นลายโดยใช้เส้นยืน เส้นพุ่ง และเส้นดอกการทอหมี่ตา หมี่ยกบิด สลับกีบหมี่เป็นตา  ใช้เวลาในการทอหมี่ตา ๑ ผืน ๔ วัน การทำลายบิดใช้กระสวยพุ่งกลับไปมาและจะใช้ด้ายสีเดียวการทำลายจกใช้มือจกด้ายตั้งแต่ ๕ สีขึ้นไป ตามสีที่ต้องการ

 

ข้อพึงระวัง ->

-

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดอุทัยธานี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา