ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การบริหารจัดการทุนชุมชน

โดย : นายวรชาติ ลิลา วันที่ : 2017-03-18-23:39:53

ที่อยู่ : ๒๑/๑ ม.๗ ต.หนองยาง อ.หนองฉาง จ.อุทัยธานี ๐๙๘๔๕๓๖๙๗๖

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

สมัยในอดีต เมื่อ ๑๕ ปีที่ผ่านมาความเป็นอยู่ของเกษตรกรในบ้านหนองจิก ม.๗ ต.หนองยาง อ.หนองฉาง จ.อุทัยธานี แล้งแคล้นมาก เพราะจำนวนครอบครัวก็เริ่มขยายเพิ่มมากขึ้น การทำการเกษตรต้องใช้เงินทุนสูงขึ้นทุกที ทำให้เกษตรกรส่วนใหญ่ที่เป็นครัวเรือนขยาย เข้าไม่ถึงแหล่งทุน ต้องอาศัยแหล่งทุนจากนายทุน พ่อค้าคนกลาง ล้วนแล้วเป็นหนี้ดอกเบี้ยสูง หรือในปัจจุบันเรียกว่า "หนี้นอกระบบ" นั่นเอง ทำให้ยิ่งทำยิ่งเป็นหนี้มากขึ้น จนบางครอบครัวต้องหนีออกไปทำมาหากินต่างจังหวัด และบ้างก็ประสบกับอุบัติเหตุเสียชีวิตทั้งครอบครัว 

ต่อมาเมื่อหาแหล่งเงินทุนไม่ได้ ก็เกิดการรวมกลุ่มกันขึ้นเพื่อสมทบเงินหรือออมเงินกันขึ้นมา เมื่อได้เงินแล้วก็กู้เงินไปทำทุนประกอบอาชีพ มีการจัดตั้งกลุ่มกันขึ้นมาประมาณ ๑๖ กลุ่ม ก็เกิดปัญหา การกู้เงินหมุนเวียนทำให้เกิดระบบหนี้เรื้อรังใช้หนี้ไม่รู้จักหมด ทำให้แต่ละครัวเรือนมีหนี้เกินรายได้ จึงจำเป็นต้องให้ครัวเรือนเหล่านั้นปรับโครงสร้างหนี้ ให้เป็น ๑ บัญชีเงินกู้ ๑ ครัวเรือน เป็นหนี้กลุ่มใดบ้าง ก็ให้รวมหนี้เป็นสัญญาเดียว โดยใช้ "สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน" เป็นศูนย์กลางในการประสานงานแต่ละกลุ่ม

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่าย (โดยเฉพาะดอกเบี้ย) ของสมาชิก

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

กระบวนการและขั้นตอนที่ใช้ในการแก้ไขปัญหา โดยใช้บันได ๓ ขั้น

๑.ขั้นที่ ๑ ให้คนในชุมชนพึ่งตนเอง คือ ให้ครัวเรือนช่วยเหลือตนเองในการดำรงชีวิต ได้แก่ การลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ การจัดทำบัญชีครัวเรือน การออมเงินสัจจะออมทรัพย์ฯ

๒.ขั้นที่ ๒ ให้คนในชุมชนพึ่งพาซึ่งกันและกัน คือ การรวมตัวกันจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนขึ้น เพื่อพึ่งพาซึ่งกันและกัน มีการทำงานร่วมกันให้เกิดความสามัคคี รู้จักการบริหารจัดการกลุ่ม มีการเอื้ออารีย์ต่อกัน และมีการแบ่งปันของคนในชุมชน

๓.ขั้นท่ี ๓ การเชื่อมโยงเครือข่าย คือ การเชื่อมโยงกิจกรรมกลุ่มต่างๆ และมีการประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และรัฐวิสาหกิจ

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดอุทัยธานี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา