ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

หมอดิน

โดย : นายชลอ ร่องมะรุด วันที่ : 2017-04-03-16:56:11

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ .18 . หมู่ ..1..ตำบลหาดทนง.อำเภอเมืองอุทัยธานี

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

นายชลอ ร่องมะรุด หรือที่ชาวบ้านหัวแหลมเรียกขานว่า ( น้าเล็ก ) เติบโตมาที่บ้านหัวแหลม

หมู่ที่ ๑ ตำบลหาดทนง อำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี มีความรู้ในเรื่องการทำนาและมีความรู้ในเรื่องดินเป็นอย่างดี อาชีพหลักทำนา ทำไร่ และทำสวน อาชีพเสริมทำไม้ม๊อบถูพื้น และตัดยางรถยนต์ทำเป็นกระถางปลูกต้นไม้

มีการสืบทอดวัฒนธรรมภูมิปัญญาการทำนาของบรรพบุรุษ

                      ปัจจุบันประกอบอาชีพทำนาข้าว และได้ทำการศึกษาหาความรู้และช่องทางต่างๆ ด้านข้าว  และได้เข้าร่วมกับกลุ่มผู้ผลิตตำบลหาดทนง อำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี

                      นายชลอ  ร่องมะรุด เป็นหมอดินอาสาหมู่บ้าน มาตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๕๕๔   ที่ไม่มีเงินเดือนอาสาสมัครเข้ามาเป็นหมอดินหมู่บ้านเพื่อช่วยชาวนา และชาวไร่ในการนำดินมาตรวจสภาพความเป็นกรด และด่าง และสามารถถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับการเรียนรู้จากสำนักงานพัฒนาที่ดินจังหวัดอุทัยธานี

                     มีความรู้ในด้านดิน สามารถรู้ความเป็นกรด เป็นด่างของดินในแต่ละชนิดที่จะนำมาปลูกข้าวและในการทำไร่ อาทิ. การปลูกข้าวโพดฟักอ่อน ปลูกกล้วย ปลูกมะม่วง ให้ได้ผลผลิตที่ดีควรใช้ดินแบบไหนและในการ

                     ในความเป็นคนทีใช้ง่าย และมีความเต็มใจในอาสาสมัครในการเป็นหมอดินประจำหมู่บ้านหัวแหลม

กับศูนย์พัฒนาที่ดินจังหวัดอุทัยธานี ได้เข้ารับการอบรม ประชุม และศึกษาดูงานจากสถานที่ปฏิบัติจริงและได้ลงมือทำ

จนสามารถเป็นวิทยากรในการถ่ายถอดได้เป็นอย่างดี

 

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อให้ดินมีคุณภาพที่ดีเหมาะสมกับการเพาะปลูกพืช

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

    ขั้นตอนการตรวจสภาพดิน

          ๑   นำดินในนาข้าวแต่ละจุดนำดินไปตรวจสภาพความเป็นกรด และด่าง

           ๒   นำดินส่งตรวจดินที่สำนักงานพัฒนาที่ดินจังหวัดอุทัยธานี

           ๓   เมื่อตรวจเสร็จแล้ว  สำนักงานพัฒนาที่ดินฯแจ้งผลของสภาพดิน

           ๔   เมื่อทราบผลสภาพดินแล้วนำไปปรับหน้าดิน

                      -  สภาพดินมีความเป็นด่าง   ใช้ปูนขาว และไดนาไม

                      -  สภาพดินมีความเป็นกรด   ใช้ปุ๋ยหมัก  หรือมูลสัตว์

          ๕   ทิ้งไว้ประมาณ  ๗ วันเพื่อให้ดินมีการปรับสภาพดิน

           ๖   เสร็จแล้วไถกลบดินและปรับสภาพดินให้เข้าก่อน

           ๗   ดำเนินการต่อไป

 

3. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

                          นายชลอ  ร่องมะรุด ได้เข้ารับการฝึกฝนอบรม และศึกษาเรียนรู้จากสถานที่ปฏิบัติจริงและผ่านการอบรมการเป็นหมอดินอาสาหมู่บ้าน ตำบลหาดทนง อำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี  จากศูนย์พัฒนาที่ดินจังหวัดอุทัยธานี และสามารถเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับการประชุม อบรม ศึกษาดูงานและจากประสบการณ์

ตรงให้กับผู้สนใจ และชาวบ้านตำบลหาดทนง และใกล้เคียงอย่างสม่ำเสมอ

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดอุทัยธานี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา