ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การบริหารจัดการขยายเมล็ดพันธุ์ข้าว

โดย : นายฉลอง ซังบิน วันที่ : 2017-03-18-23:29:04

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ ..9 .. หมู่3.ซอย .สะพานหิน 1 ตำบล หาดทนง. อำเภอเมืองอุทัยธานี

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

นายฉลอง ซังบิน ดำรงตำแหน่งกำนันตำบลหาดทนง อำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี มีครอบครัวประกอบอาชีพเกษตรกรรม  ทำนา  ซึ่งสมัยก่อนเป็นการทำนาเพื่อการบริโภคและด้วยยุคสมัยเปลี่ยนแปลงการทำนาจึงได้ถูกพัฒนาด้วยหลักวิชาการ  และเทคโนโลยี  ปัจจัยการผลิตต่างๆ  ปี พ.ศ. 2523  เกษตรกรบ้านสะพานหิน  ได้รับงบประมาณโครงการสร้างสถานีสูบน้ำด้วยพลังงานไฟฟ้าและคลองส่งน้ำ  (กรมพลังงาน  กระทรวงวิทยาศาสตร์)  และจัดตั้งสหกรณ์ผู้ใช้น้ำสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าบ้านสะพานหิน  จำกัด  เกษตรกรประสบภัยธรรมชาติการระบาดโรค-แมลงศัตรูข้าว  เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล  ขั้นวิกฤติ  และประสบภัยธรรมชาติจากอุทกภัย (น้ำท่วม)  ซึ่งเกษตรกรทำนาปลูกข้าวขายโรงสี  พ่อค้าและบางส่วนเก็บไว้เพื่อการบริโภค

ปี 2552  เป็นจุดเริ่มการเปลี่ยนแปลงของการทำนารูปแบบเชิงธุรกิจ  เกษตรกรรวมกลุ่มจัดตั้งกลุ่มจัดทำแปลงขยายเมล็ดพันธุ์ข้าว  ขายให้กับศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวชัยนาท  และนครสวรรค์  และเอกชน(พันธุ์ข้าว)

โดยมีนายฉลอง  ซังบิน เป็นประธานกลุ่มเกษตรกรตำบลหาดทะนง อำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี

ปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน  70 คน

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ของคนในชุมชน

เพื่อให้คนในชุมชนเห็นถึงความสำเร็จ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

-อดีตเกษตรกรทำนา  ต่างคนต่างทำโดยใช้แหล่งน้ำจากธรรมชาติ  ทำนาปีละ 1 ครั้ง  ซึ่งทำนาเพื่อการบริโภค  เก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ทำพันธุ์ปลูก  เหลือก็ขาย

          -วิธีการขั้นตอน/เทคนิคการรวมกลุ่มของเกษตรกรเพื่อรับงบประมาณโครงการสถานีสูบน้ำด้วยพลังงานไฟฟ้า  เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านการทำนา  แต่ปัญหาคือการแย่งน้ำทำนา  เกษตรกรจึงได้รวมตัวกันอีกครั้งจัดตั้งกลุ่มสหกรณ์ผู้ใช้น้ำสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าบ้านสะพานหิน  จำกัด  เพื่อแก้ไขปัญหาการแย่งน้ำเป็นตามระเบียบสหกรณ์ฯและใช้วิธีการทำนาแบบผสมผสานในการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลตามหลักวิชาการ  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้  บนพื้นฐานของแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  และรวมกลุ่มเกษตรกร  สืบค้นข้อมูลจากประสบการณ์/จากผู้เฒ่าผู้แก่  ช่วงฤดูน้ำหลาก  น้ำท่วม  ข้อสรุป  น้ำไม่เคยท่วมก่อนวันที่ 25 เดือนกันยายนของทุกปีที่ผ่านมา  จึงได้กำหนดปฎิทินเพาะปลูกปีละ 2 ครั้ง  นาปี  ปลูกวันที่ 1-20 พฤษภาคม   เก็บเกี่ยวปลายเดือนสิงหาคม-ต้นเดือนเมษายน   เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบภาวะอากาศหนาว  ช่วงปลูกและกรณีปลูกเดือนมกราคม  ข้าวจะกระทบสภาวะอากาศร้อนผสมเกสรไม่สมบูรณ์ทำให้ผลผลิตตกต่ำ(เกษตรกรปลูกข้าวชนิดพันธุ์ไม่ไวต่อช่วงแสง)  สิ่งสำคัญเกี่ยวข้องปฎิทินเพาะปลูก  เกษตรกรต้องติดตามการรายงานอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา

          ปี 2552  รวมกลุ่มจัดตั้งกลุ่มทำแปลงขยายเมล็ดพันธุ์ข้าว  ขายให้กับ  ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวชัยนาท  และนครสวรรค์และเอกชน(ข้าวพันธุ์)  และได้จดทะเบียนภายใต้ชื่อ”กลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวหาดทนง”

          ปัจจุบันนายฉลอง ซังบิน ดำรงตำแหน่ง  ประธานกลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวหาดทะนง อำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี

                  ขั้นตอนการทำนา

๑)      การเตรียมดิน ปล่อยระยะเวลา  ๗ วัน

๒)      ช่วงการหว่านข้าว / หรือการปักดำ  จำนวน ๑ แปลง ต่อ ๑ วัน

๓)      ระยะห่างเวลา ๓ วันทำการฉีดพ่นสารคุมฆ่าวัชพืช และปล่อยทิ้งไว้ประมาณ ๕ – ๗ วัน

๔)      นำน้ำเข้าแปลงนา

๕)      ระยะห่างเวลา ๑๕ – ๒๐ วันให้ใส่ปุ๋ยรอบแรก  สูตร : ๔๖ – ๐๐  ผสมกับปุ๋ยอินทรีย์ชนิดเม็ดขี้วัว

    และขี้ควาย

๖)      ระยะห่างเวลา ๔๐ วันให้ใส่ปุ๋ย รอบที่ ๒ : และรอบที่ ๓

๗)      การดูแลแปลงและฆ่าหญ้าในแปลงข้าว

๘)      ระยะเวลาห่าง ๑๑๐ วัน  ข้าวในแปลงนาจะเริ่มออกรวงเหลืองอร่าม

๙)      ได้ระยะเวลาเก็บเกี่ยวใช้รถเกี่ยวข้าว

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดอุทัยธานี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา