ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

ทำนา

โดย : นางนวลจันทร์ แก้วนิ่ม วันที่ : 2017-02-23-15:50:35

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 3/1 หมู่ 3 ตำบล เกาะเทโพอำเภอ .เมืองอุทัยธานีจังหวัดอุทัยธานี

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

นางนวลจันทร์ แก้วนิ่ม ได้ดำเนินชีวิตเกษตรกรในการทำนาสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมภูมิปัญญาการทำนาของบรรพบุรุษ  ประกอบอาชีพทำนาตั้งแต่เป็นสาวตั้งแต่อายุ ๒๕ ปีจนแต่งงานกัยนายวินัย แก้วนิ่มช่วยกันทำนาจากเดิมมีนาจำนวน ๑๐ ไร่ ปัจจุบันมีนาเป็นของตนเองจำนวน ๓๕ ไร่ จนสามารถส่งเสียและเลี้ยงดูลูกทั้ง ๒ คน

ได้จนจบปริญญาตรี สามารถเลี้ยงดูครอบครัวได้เป็นอย่างดี

          เมื่อปี 2535  ได้เริ่มทำนาจำนวน 1๐ ไร่เป็นของตนเอง และได้เช่านาเพิ่มอีกจำนวน ๒๕ ไร่รวมเป็น ๓๕  ไร่ช่วยกันทำนาทั้งครอบครัว ประกอบด้วยสามีและตนเอง  จากที่ไม่มีความรู้เรียนรู้จากพ่อแม่และช่วยพ่อแม่ทำนาจึงได้หาความรู้จากประสบการณ์จริงในท้องไร่ ท้องนาจากการช่วยพ่อและแม่ลงนาเป็นประจำทุกเช้ามีดทำให้ตนเองเริ่ม

เรียนรู้จากประสบการณ์จริงในท้องนาของพ่อและแม่  หลังจากตนเองได้แต่งงานกับสามีทำให้ต้องทำนาเพิ่มขึ้นเพื่อจะได้มีรายได้ให้มากนำเงินมาเลี้ยงดูบุตร จำนวน ๒ คน

           ผลสำเร็จในด้านการทำเกษตรกรรม การทำนา ปัจจุบัน นางนวลจันทร์ แก้วนิ่มสามารถประสบความ

ความสำเร็จในการทำนา หลังจากลองผิดลองถูกและเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงและเรียนรู้เพิ่มเติมจากสำนักงานเกษตรจังหวัดอุทัยธานี ในการเข้ารับการฝึกอบรมการทำปุ๋ยหมัก สารไล่แมลง และปุ๋ยอินทรีย์ เป็นต้น 

วัตถุประสงค์ ->

ลดรายจ่าย และเพิ่มรายได้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ข้าวเปลือก

อุปกรณ์ ->

รถไถ

 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

-  นางนวลจันทร์ แก้วนิ่ม ใช้หลักการทำนาในสรูปแบบผสมผสาน  ทำให้ลดต้นทุนการผลิต  ดิน  น้ำ  ปุ๋ย  ตามหลักการแนวทางของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  ๖ คูณ ๒ นำหลักการลดรายจ่าย และเพิ่มรายได้มาใช้ในการทำนา อาทิเช่น ทำปุ๋ยหมักชีวภาพ และสารไล่แมลงเองเพื่อลดต้นทุนในการทำนาแต่ละครั้ง

 

 

 

 

 

 ขั้นตอนการทำนา

๑)      การเตรียมดินในแปลงนา

๒)      หวาน ไถ่ดิน

๓)      ใส่ปุ๋ยน้ำหมัก ทิ้งไว้ระยะห่าง จำนวน ๗ วัน

๔)      ทำการย่ำ

๕)      เวลานำน้ำเข้านา เนื่องจากใช้น้ำบาดาล ซึ่งมีความเป็นกรดและด่างให้ใช้ปูนขาวโรยลงไปในพื้นนา

          

ข้อพึงระวัง ->

            ข้อควรระวัง

๑)      การทำนาหลังจากต้นข้าวเริ่มออกรวงให้หมั่นดูและสังเกตต้นขาวว่ามีหนอนมวนใบ หรือหนอนใบขาว

ในต้นข้าวหรือไม่ และหมั่นสังเกตว่ามีเพลี้ยะกระโดดในนาข้าวหรือไม่

๒)      สังเกตหนอนกอ และเพลี้ยกระโดดในนาข้าว

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดอุทัยธานี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา