เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคการปลูกพืชด้วยวิธีไฮโดรพอนิกส์

โดย : นายล้อ ผิวศิริ ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-08-10-11:44:33

ที่อยู่ : ๑๖ บ้านท่าวังแคน หมู่ที่ ๙ ตำบลศรีสองรัก

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เทคนิคไฮโปนิกาเป็นเทคนิคที่บริษัทเกียววะ ประเทศญี่ปุ่นพัฒนาขึ้น และนำมาสาธิต ในงาน Science World Fair Expo 85 ที่เมืองสึกุบะ ประเทศญี่ปุ่น ผลงานชิ้นนี้แสดงให้เห็นต้นมะเขือเทศมหัศจรรย์ที่มีลำต้นขนาด ใหญ่ มีเส้นผ่าศูนย์กลางของทรงพุ่มยาวถึง  ๖ เมตร มีผลตามขนาดที่ตลาดต้องการ ถึง ๑๒,๐๐๐ ผลต่อต้น ส่วนต้นพริกหวาน มีผลถึง ๔๐๐ ผลต่อต้น

วัตถุประสงค์ ->

เทคนิคนี้มีโครงสร้างและหลักการคล้ายๆการให้อากาศ จะแตกต่างกันคือ การเติมออกซิเจนลงในน้ำอาศัยการไหลหมุนเวียนของน้ำหรือสารละลายธาตุอาหารพืช เทคนิคนี้เป็นระบบปิด (closed system) การไหลหมุนเวียนของน้ำเกิดจากน้ำล้นเหนือระดับควบคุม ปริมาณน้ำที่ไหลจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความสูงของระดับควบคุม และอัตราเร็วของน้ำที่ปลดปล่อย มีทั้งแบบน้ำลึกและน้ำตื้น  แบบน้ำลึกจะขาดออกซิเจน  ง่ายกว่าแบบน้ำตื้น ในทำนองเดียวกัน อัตราการไหลของน้ำที่ช้าจะขาดออกซิเจนได้ง่ายกว่าอัตราการไหลที่เร็ว ดังนั้น เทคนิคน้ำ ลึกและอัตราการไหลที่ช้าจะขาดออกซิเจน ง่ายกว่าเทคนิคน้ำตื้นและอัตราการไหลที่เร็ว ในกรณีที่ขาดออกซิเจน สามารถแก้ไขได้ด้วยวิธียกระดับน้ำตก (waterfall) ให้สูงขึ้นที่ท่อจ่ายหรือถังรับน้ำ หรือเพิ่มอัตราความเร็ว ของน้ำที่ไหล แต่ถ้าน้ำไหลเร็วมากเกินไปจะเป็นอันตรายต่อรากพืช ดังนั้น ส่วนใหญ่จะใช้วิธีติดท่อดูดอากาศช่วย เทคนิคน้ำหรือสารละลายไหลหมุนเวียนได้ถูกพัฒนาขึ้น อีกหลายรูปแบบ เช่น เทคนิคทำให้เปียกและระบายทิ้ง (Soak and Drain) เทคนิคสารละลายหมุนเวียนแบบน้ำตื้น (Semi-Deep Nutrient Flow Technique)  เทคนิค  M-System และเทคนิคไฮโปนิกา เป็นต้น 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

เทคนิคนี้เป็นระบบปิด (closed system) การไหลหมุนเวียนของน้ำเกิดจากน้ำล้นเหนือระดับควบคุม ปริมาณน้ำที่ไหลจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความสูงของระดับควบคุม และอัตราเร็วของน้ำที่ปลดปล่อย มีทั้งแบบน้ำลึกและน้ำตื้น  แบบน้ำลึกจะขาดออกซิเจน  ง่ายกว่าแบบน้ำตื้น ในทำนองเดียวกัน อัตราการไหลของน้ำที่ช้าจะขาดออกซิเจนได้ง่ายกว่าอัตราการไหลที่เร็ว ดังนั้น เทคนิคน้ำ ลึกและอัตราการไหลที่ช้าจะขาดออกซิเจน ง่ายกว่าเทคนิคน้ำตื้นและอัตราการไหลที่เร็ว ในกรณีที่ขาดออกซิเจน สามารถแก้ไขได้ด้วยวิธียกระดับน้ำตก (waterfall) ให้สูงขึ้นที่ท่อจ่ายหรือถังรับน้ำ หรือเพิ่มอัตราความเร็ว ของน้ำที่ไหล แต่ถ้าน้ำไหลเร็วมากเกินไปจะเป็นอันตรายต่อรากพืช

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเลย
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา