เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิค การเป็นมัคคุเทศก์

โดย : นายทวีศักดิ์ เจริญประวัติ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-08-10-11:15:14

ที่อยู่ : ๓๔ บ้านนาอ้อ หมู่ที่ ๕ ตำบลนาอ้อ อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ผู้ที่จะประกอบอาชีพนี้ ควรเตรียมความพร้อมดังต่อไปนี้ : 
มัคคุเทศก์ท้องถิ่น
          เป็นผู้ที่มีวุฒิการศึกษาตั้งแต่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ขึ้นไป หรือเทียบเท่า  และได้รับการอบรมเพิ่มเติม  เพื่อรับวุฒิบัตรพัฒนาฝีมือแรงงาน (วพร.)  เป็นเวลา 320 ชั่วโมง หรือ 40 วัน  
มัคคุเทศก์ภายในประเทศ  และมัคคุเทศก์นำเที่ยวชาวต่างประเทศ 
          เป็นผู้มีพื้นฐานการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ขึ้นไปต้องเข้ารับการ อบรม  และมีใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์จากสถาบันที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยให้การ รับรอง หรือ มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนคณะ หรือสาขาวิชาธุรกิจ การท่องเที่ยว

วัตถุประสงค์ ->

 อาชีพมัคคุเทศก์ เป็นอาชีพที่ต้องเป็นผู้นำเที่ยวให้กับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ การปฏิบัติงานให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีในการจัดนำเที่ยว มัคคุเทศก์ต้องสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นจะเสนอแนะในการสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ดังนี้

                ๑. ควรระวังในเรื่องสุขภาพ การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ต้องเริ่มต้นที่สุขภาพดี ถ้าบุคคลมีสุขภาพดี หน้าตาก็ยิ้มแย้มแจ่มใส ทำให้คนอื่นอยากเข้าใกล้

  ๒. ควรระงับอารมณ์ไว้ให้ได้ ไม่ว่าจะเกิดอารมณ์โกรธ ควรทิ้งอารมณ์ต่าง ๆ พยายามทำอารมณ์ให้แจ่มใสก่อนจะพูดคุยกับผู้อื่น

                ๓. การปรับปรุง บุคลิกภาพภายนอกให้เหมาะสม เช่น ปรับปรุงการแต่งกายให้สะอาด เรียบร้อย เหมาะสมกับกาลเทศะ

                 ๔. ควรรักษาสัญญา มีความรับผิดชอบต่อคำพูด และการกระทำของตนเอง

                 ๕. ควรรู้จักให้และรับอย่างเหมาะสม

                 ๖. ควรมีความเกรงใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนใกล้ชิด เพราะคนเรามักจะลืมรักษาน้ำใจ คนที่ใกล้ชิดเสมอ

                 ๕.     ไม่ควรคำนึงถึงผลประโยชน์ของตนเอง จนลืมนึกถึงจิตใจของผู้อื่น ซึ่งทำให้พูดจาและแสดงท่าทีที่เห็นแก่ตัวออกมา

 

ข้อควรระวังในการสร้างมนุษยสัมพันธ์

                 เนื่องจากการสร้างมนุษยสัมพันธ์ เป็นการแสดงพฤติกรรมเพื่อให้ได้รับความรักใคร่ น่าเชื่อถือ ไว้ใจ และร่วมมือร่วมใจในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ดังนั้นจึงควรระมัดระวังในการทำพฤติกรรมดังต่อไปนี้

             ๑.     การแสดงสีหน้า กิริยาท่าทาง และบุคลิกภาพที่ไม่สุภาพในกรณีที่ไม่พอใจ

๒.    การนินทาว่าร้ายผู้อื่น ทั้งต่อหน้าและลับหลัง

๓.    การพูดประชดประชัน และแสดงความไม่พอใจ เมื่อผู้อื่นถามคำถาม

๔.    การไม่ฟังความคิดเห็นของผู้อื่น คิดว่าตนเองเป็นผู้รู้แต่ฝ่ายเดียว

๕.    การโต้แย้ง ถกเถียง ก่อการทะเลาะวิวาท

๖.     การแสดงความอิจฉาตาร้อน และไม่มีความจริงใจต่อผู้อื่น

๗.    การพูดโอ้อวด พูดแต่เรื่องของตนเอง พูดข่มผู้อื่น

๘.    การแสดงความอิจฉาตาร้อน และไม่มีความจริงใจต่อผู้อื่น

๙.     การเลือกที่รักมักที่ชัง ลำเอียงและการตัดสินใจอย่างไม่เป็นธรรม

๑๐. การไม่รักษาคำพูด จิตใจรวนเร เชื่อถือไม่ได้

๑๑. การแสดงความโมโห ฉุนเฉียว ใจร้อน ไม่มีความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน

๑๒.     การแสดงความจู้จี้จุกจิก เจ้าระเบียบ จนทำให้ผู้อื่นรำคาญ

๑๓.      การมีอคติที่ไม่ดีต่อผู้อื่น

 

. บุคลิกภาพดี

                บุคลิกภาพของมัคคุเทศก์ที่ดี บุคลิกภาพทั่วไปประกอบด้วย บุคลิกภาพภายนอกและบุคลิกภาพภายใน บุคลิกภาพภายนอกสำหรับมัคคุเทศก์ หมายถึง สิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้ในตัวมัคคุเทศก์ ได้แก่

 

 ๑. ร่างกาย มัคคุเทศก์ควรให้ความสนใจและเอาใจใส่ต่อร่างกายเป็นอันดับแรก โดยพิจารณาที่จะทำ

ให้ผู้ที่พบเห็นเกิดความสบายตา จมูก และอารมณ์ มีจุดสำคัญ ๆ ในร่างกายที่ต้องคำนึงถึง คือ

๑.๑ ผม ไม่ปล่อยให้ยุ่งเหยิง แต่ควรดูแลให้สะอาด และมองดูเรียบร้อย ทั้งนี้ มิได้หมายถึงการ

ตกแต่งที่ต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย

๑.๒  หน้าตา แจ่มใส ไม่ยู่ยี่ หรือง่วงเหงาหาวนอน

๑.๓ หู จมูก ฟัน ควรดูแลทำความสะอาดให้เรียบร้อยตั้งแต่ก่อนจะออกจากบ้าน การแคะหูจมูก ฟัน

ในที่สาธารณะหรือต่อหน้าบุคคลอื่นเป็นมารยาทที่ไม่สุภาพ ไม่ควรปฏิบัติ

๑.๔  เล็บ ตัดให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมทั้งเล็บมือและเล็บเท้า ถ้าจะไว้ยาวก็ควรคำนึงถึงความ

สะอาด การแคะเล็บในที่สาธารณะก็เป็นมารยาทไม่ควรทำอีกเช่นเดียวกัน

 

๒. การแต่งกาย  ควรได้รับการดูแลเอาใจใส่ โดยคำนึงถึงความสะอาดเรียบร้อย และเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมเป็นสำคัญ

๒.๑  เสื้อ กระโปรง หรือกางเกง ควรให้อยู่ในสภาพที่ควรจะเป็น ทั้งรูปร่าง ลักษณะ และสีสัน

นอกจากความสะอาดเรียบร้อยแล้ว ควรคำนึงถึงกาลเทศะในการใช้เสื้อผ้าชุดนั้นๆ ด้วย สำหรับ

เสื้อผ้าที่มีกระดุม จะต้องตรวจดูให้ครบตามจำนวน ถ้าเสื้อผ้ามีสิ่งผิดปกติ เช่นมีคราบเหงื่อไคล รอย

ขาด รูโหว่ ซิปแตก ฯลฯ ควรปรับปรุงแก้ไขให้อยู่ในสภาพที่ดีก่อนที่จะนำมาใช้

๒.๒ รองเท้า ถุงเท้าต้องสะอาด ไม่ขาด หรือชำรุด และเหมาะสมกับโอกาส หรือสถานที่ที่จะใช้

ด้วย การแต่งกายที่สะอาดเรียบร้อยและเหมาะสมกับกาลเทศะ นอกจากจะช่วยสร้างบุคลิกภาพที่ดี

แล้ว ยังช่วยให้ผู้แต่งกายนั้นมีความมั่นใจในตนเองมากขึ้น และช่วยสร้างบรรยากาศที่ดีได้อีกด้วย

ตรงข้ามหากแต่งกายไม่สะอาดเรียบร้อย และไม่เหมาะสมจะทำให้เกิดความผันแปรแห่งอารมณ์ทั้ง

แก่ผู้ที่แต่งกายและผู้ที่พบเห็น

๓. การพูดจา  ควรระมัดระวังเกี่ยวกับคำพูด น้ำเสียง ปฏิกิริยาของผู้ฟัง ดังนี้

๓.๑ คำพูด  ควรระมัดระวังการใช้ถ้อยคำให้สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้คำหยาบหรือคำที่มีความหมาย

สองแง่สองมุม

๓.๒ น้ำเสียง ไม่พูดห้วน ๆ ตวาด กระโชกโฮกฮาก ให้เน้นน้ำหนักเสียงหนักเบาให้เหมาะสม พูด

ให้ชัดถ้อยชัดคำ ไม่ช้าหรือเร็วจนเกินไป

๓.๓ ปฏิกิริยาของผู้ฟัง ขณะพูดควรสังเกตปฏิกิริยาของผู้ฟังว่าสนใจหรือต้องการฟังมากน้อย

เพียงใด มีผู้ใดต้องการซักถาม ไม่พูดสวนหรือแย่งพูด ควรมีจังหวะจะโคนในการพูดให้เหมาะสม

 

๔. กิริยามารยาท หมายถึง การแสดงออกทางสีหน้า ท่าทาง และความประพฤติ จะต้องอยู่ในอาการสำรวม เช่น ไม่ล้วง แคะ แกะ เกา ควัก จิ้มร่างกายในที่ชุมชน และไม่กระทำการที่ควรกระทำในที่ลับไปกระทำในที่แจ้ง หากจำเป็นจริง ๆ ก็ควรกระทำให้แนบเนียน เช่น การจาม การไอ หรือเมื่อเกิดอาการคัน ก็ควรหันความสนใจของผู้ที่อยู่รอบข้างไปที่อื่นเสียก่อน แล้วจึงแอบ ๆ ทำ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
ผู้ประกอบอาชีพนี้ ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้   
1. พูดภาษาต่างประเทศได้อย่างน้อย คือ ภาษาอังกฤษ
2. มีความรู้ทั่วไป  และเป็นผู้ที่ขวนขวายหาความรู้สม่ำเสมอ 
3. รักการเดินทางท่องเที่ยว และงานบริการ  ปรับตัวได้  และเป็นนักแก้ไขปัญหาได้ดีในทุกสถานการณ์  
4. มีความยืดหยุ่น  ประนีประนอม  และมีลักษณะอบอุ่นโอบอ้อมอารีเป็นที่ไว้วางใจของผู้เดินทางร่วมไปด้วย 
5. มีความเป็นผู้นำ  มีความกล้า  มีความรอบคอบและไม่ประมาท 
6. ทัศนะคติดี  ร่าเริง  มีความเสียสละซื่อสัตย์  ซื่อตรง  และอดทน 
7. สุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ มีไหวพริบและปฏิภาณดี 
8. มีความคิดสร้างสรรค์   มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี 
9. เป็นนักสื่อสารที่ดี รักการอธิบาย และการบรรยายความรู้ต่าง ๆ  
10. เป็นนักจัดเก็บข้อมูลที่ดีทั้งข้อมูลการท่องเที่ยว ความนิยมของลูกค้า และรายชื่อลูกค้าที่เป็นนักท่องเที่ยว

อุปกรณ์ ->

ข้อควรระวังในการสร้างมนุษยสัมพันธ์

                 เนื่องจากการสร้างมนุษยสัมพันธ์ เป็นการแสดงพฤติกรรมเพื่อให้ได้รับความรักใคร่ น่าเชื่อถือ ไว้ใจ และร่วมมือร่วมใจในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ดังนั้นจึงควรระมัดระวังในการทำพฤติกรรมดังต่อไปนี้

             ๑.     การแสดงสีหน้า กิริยาท่าทาง และบุคลิกภาพที่ไม่สุภาพในกรณีที่ไม่พอใจ

๒.    การนินทาว่าร้ายผู้อื่น ทั้งต่อหน้าและลับหลัง

๓.    การพูดประชดประชัน และแสดงความไม่พอใจ เมื่อผู้อื่นถามคำถาม

๔.    การไม่ฟังความคิดเห็นของผู้อื่น คิดว่าตนเองเป็นผู้รู้แต่ฝ่ายเดียว

๕.    การโต้แย้ง ถกเถียง ก่อการทะเลาะวิวาท

๖.     การแสดงความอิจฉาตาร้อน และไม่มีความจริงใจต่อผู้อื่น

๗.    การพูดโอ้อวด พูดแต่เรื่องของตนเอง พูดข่มผู้อื่น

๘.    การแสดงความอิจฉาตาร้อน และไม่มีความจริงใจต่อผู้อื่น

๙.     การเลือกที่รักมักที่ชัง ลำเอียงและการตัดสินใจอย่างไม่เป็นธรรม

๑๐. การไม่รักษาคำพูด จิตใจรวนเร เชื่อถือไม่ได้

๑๑. การแสดงความโมโห ฉุนเฉียว ใจร้อน ไม่มีความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน

๑๒.     การแสดงความจู้จี้จุกจิก เจ้าระเบียบ จนทำให้ผู้อื่นรำคาญ

๑๓.      การมีอคติที่ไม่ดีต่อผู้อื่น

กระบวนการ/ขั้นตอน->

มัคคุเทศก์ต้องมีความรู้เรื่องสำคัญ 6 ประการ ดังนี้

๑. ความรู้เกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปที่สำคัญของบริษัท เช่น การบริการ เส้นทางนำเที่ยว เบอร์โทรศัพท์ หรือแฟกซ์ สถานที่ติดต่อ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงานและให้ข้อมูลแก่นักท่องเที่ยว

 

๒. ความรู้โดยรวมของประเทศไทย เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ สังคม  การเมือง การปกครอง ศาสนา เทศกาลงานประเพณีที่สำคัญ วัฒนธรรมความเป็นอยู่ของผู้คนในแต่ละภาค

๓. สถานที่ท่องเที่ยว ประเพณี วัฒนธรรม และผลิตภัณฑ์พื้นเมืองในท้องถิ่น สถานที่เที่ยว เบอร์โทรศัพท์ หรือ แฟกซ์ สถานที่ติดต่อ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงานและให้ข้อมูลแก่นักท่องเที่ยวท่องเที่ยวในท้องถิ่นทั้งที่เป็นธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้น เช่น อาคารบ้านเรือน วัด โบราณสถาน และผลิตภัณฑ์พื้นเมือง เช่น เครื่องจักสาน ผ้าทอ งานแกะสลัก การแสดงของท้องถิ่น เช่น มโนราห์ ฟ้อนเล็บ ระบำชาวเขา เทศกาลและประเพณีต่าง ๆ เช่น  ลอยกระทง สงกรานต์ บุญบั้งไฟ งานแห่เทียนพรรษา ฯลฯ

๔. ขั้นตอนและวิธีการเข้าออกเมือง การเก็บภาษี การติดต่อกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง มัคคุเทศก์ต้องให้คำแนะนำนักท่องเที่ยว และดูแลให้การติดต่อกับฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปอย่างราบรื่น

 ๕. ต้องมีความรู้ในการใช้ภาษาต่างประเทศ มีทักษะในการพูด อ่าน และเขียน เป็นอย่างดี สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ สามารถพูดบรรยายให้นักท่องเที่ยวเข้าใจเรื่องราวต่าง ๆ ได้

 ๖. ต้องมีการประสานงานและความสัมพันธ์ที่ดีกับธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว เพื่อช่วยให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างราบรื่น และก่อให้เกิดความประทับใจแก่นักท่องเที่ยวมากที่สุด เช่น การคมนาคมขนส่ง ที่พัก ร้านอาหาร ธุรกิจบันเทิง และร้านขายของที่ระลึก

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเลย
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา