ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทำเกษตรแบบผสมผสาน

โดย : นางบัวพันธ์ หางสลัด วันที่ : 2017-03-03-15:17:15

ที่อยู่ : 98 ม. 4 ต.นานวน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

นางบัวพันธ์  หางสลัด เกษตรกร/ปราชญ์ชาวบ้านอ้อมแก้ว ผู้มีความเพียรพยายามในการพลิกฟื้นผืนนาและแปลงเกษตรในพื้นที่ ๑๕ ไร่ให้มีการผสมผสานและพึ่งพาตนเอง โดยการใช้แรงงานของตนเองและครอบครัวเป็นหลัก และมีการปรับพื้นที่นาและแหล่งน้ำให้เหมาะสม ,เป็นบ่อเลี้ยงปลานิล,ปลาดุก, ปลาตะเพียน  ๑ บ่อเนื้อที่ ๑ ไร่,ปลูกไม้ผลยืนต้น,ปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อการใช้ในครัวเรือนและจำหน่าย เช่น ข้าวโพด,ถั่วฝักยาว,แตงกวา,มะเขือเทศ และอื่นๆโดยปลูกสลับตามความต้องการของตลาด รวมทั้งการรู้จักผสมผสานในการปรับปรุงดินให้มีอินทรีย์วัตถุเน้นการใช้ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมัก โดยเลี้ยงควาย ๗ ตัว,หมูป่า ๕ ตัว,หมูหลุม ๔ ตัว ,การเกษตรแบบพอเพียงมีรายได้จากปลูกพืชผักสวนครัวระยะสั้น,พอกิน-กอใช้ในครัวเรือน เหลือกินเหลือใช้ก็ได้ขาย,และมีการปลูกอย่างต่อเนื่องไม่ขาดระยะ  และพอถึงช่วงหน้าแล้งประมาณ เม.ย.-พ.ค.ก็จะเพาะพันธุ์กบเหลืองจำหน่าย,และได้ปลูกมะนาวกระถางจำนวน  ๖๐  กระถาง สร้างรายได้ในครัวเรือนเป็นอย่างดี และมีผู้คนสนใจแวะมาซื้อขายและเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
              การทำแปลงเกษตรของตนเองเมื่อสำเร็จระดับหนึ่งแล้ว ก็ขยายผลมาสู่เพื่อนบ้านที่สนใจมาเรียนรู้ และแบ่งปันพันธุ์พืช,พันธ์สัตว์,พันธุ์ปลา และอื่นๆ โดยไม่ได้หวงวิชา เพราะยึดหลักตามแนวทางขอในหลวงท่าน ในการเป็นผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก  รวมทั้งอยากเห็นเกษตรกรในพื้นที่รักหวงแหนในสิ่งที่ทำ และค่อยเป็นค่อยไปไม่ติดยึดกับวัตถุนิยม เช่นปัจจุบันมากนัก ที่มุ่งผลิตใช้สารเคมีมากซึ่งนางบัวพันธ์  หางสลัดพยายามอธิบายให้การศึกษาเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเพื่อนบ้านเกษตรกร และอื่นๆมาโดยตลอด รวมทั้งได้จัดตั้งกลุ่มสตรีส่งเสริมอาชีพนำเงินทุนพัฒนาบทบาทสตรีมาลงทุนด้านอาชีพ สร้างความมั่นคงทางอาชีพสตรีอีกทางหนึ่ง

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

๑. เตรียมตน/เตรียมคนแรงงาน.. ยึดแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ปรัชญาของในหลวงท่านเป็นแนวทาง การเดินทางสายกลาง,มีเหตุมีผล,ระมัดระวังรอบคอบ,และการออม (ต้นทุนน้ำ-ดิน-เงิน-แรงงาน) เพราะเชื่อว่า..การระเบิดจาดข้างใน เป็นสิ่งที่ดี คือ ปัญหาความต้องการต้องเกิดจากประชาชนข้างล่าง,พืช-ต้นไม้ก็ต้องการเช่นนั้นต้องการน้ำ,ปุ๋ย,ความร่มรื่น,จุลินทรีย์ในดินช่วยในการพัฒนาดินให้ร่วนซุยและมีธาตุอาหารที่พืชต้องการ
           การอบรมแสวงหาความรู้ก็เป็นสิ่งสำคัญ  นางบัวพันธ์  หางสลัดได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งเพราะเชื่อว่า การเรียนรู้ทำให้เราพัฒนาปรับตนเองให้มีความรู้พัฒนายู่เสมอ   จึงได้อบรมพัฒนาตนเองเช่น
๑.การอบรมตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง(โดยพัฒนาชุมชนตามโครงการเศรษฐกิจพอเพียงภาคเกษตรและชนบท)
๒.การอบรมเศรษฐกิจพอเพียง แกนนำปราชญ์เรียนรู้จัดโดยปกครองอำเภอสนม
๓.การอบรมเพาะพันธุ์ปลา (จัดโดยประมงจังหวัด)
๔.การอบรมการพัฒนาและบำรุงดิน (กรมพัฒนาที่ดิน)
๕.การอบรมการจัดทำบัญชีครัวเรือน (จัดโดย กศน.สนม)

๒.เตรียมพื้นที่..พื้นที่ประมาณ ๑๕ ไร่แบ่งเป็นแปลงนาส่วนหนึ่ง,สระเลี้ยงปลา ๑ บ่อเนื้อที่ ๑ ไร่ และเพื่อการเก็บน้ำเป็นน้ำต้นทุน โดยเลี้ยงกบ,เลี้ยงปลาดุก,ปลานิล,ปลาตะเพียน, หลังคันสระปลูกไม้ผลยืนต้น,ต้นกล้วย,ขิง,ข่า,ตะไคร้,พริกแซมรอบๆ โอบอุ้มดินและให้ใช้ประโยชน์ได้สะดวก ,พื้นที่ส่วนหนึ่งก็สร้างเป็นที่เพาะกบเหลืองจำหน่าย , และนอกจากนี้ได้เลี้ยงควาย ๗ ตัวเพื่อเป็นแหล่งผลิตปุ๋ยอินทรีย์และอนุรักษ์พันธุ์กระบือพันธุ์ดีไว้ ,มีการเลี้ยงหมูป่า ๕ ตัว หมูหลุ่ม ๔ ตัว(ทดลองเลี้ยง) ซึ่งถือว่าเป็นการเกาตรแบบผสมผสาน ส่วนใหญ่ใช้หลักทำไปวางแผนไป,ทำไปเรื่อยๆ เพราะไม่ได้ไปแข่งขันกับใคร ใช้หลัก”ปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก”       การจัดการด้านแรงงานใช้แรงงานตนเองและแรงงานในครอบครัวเป็นหลัก,ส่วนที่เกิดกำลังก็พึ่งเครื่องมือจักรกลเกษตรบ้างเพื่อช่วยทุ่นแรง และบางครั้งก็ได้เพื่อนบ้านมาช่วยที่สนใจมาเรียนรู้และแบ่งปัน
๓.แบ่งปัน-เรียนรู้ เมื่อทำได้ผลระดับหนึ่งแล้วก็มีเพื่อนบ้าน ทั้งในหมู่บ้านและบ้านอื่นๆ มาสนใจเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน ก็ช่วยเหลือเกื้อกูลกันไป  ถือว่าเป็นพี่เป็นน้องให้กันช่วยเหลือกันทั้งพันธ์พืช,พันธุ์สัตว์และวิชาเทคนิคความรู้แบบชาวบ้านสอนชาวบ้าน
๔.ต่อยอด-ขยายผล ขณะนี้ก็เป็นปราชญ์หลักของบ้านอ้อมแก้ว และยินดีที่จะถ่ายทอดความรู้เป็นวิทยาทานแก่คนอื่นๆที่สนใจ และยินดีอย่างยิ่งที่ทางพัฒนาชุมชนให้ความสำคัญกับปราชญ์ชาวบ้านเชื่อมโยงกิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียงให้มีความพร้อมความพอเพียงในพื้นที่มากขึ้น,ให้ดีกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน รวมทั้งปัจจุบันกำลังเข้าร่วมโครงการไร่ละ ๕,๐๐๐

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสุรินทร์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา