ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

เทคนิคในการกรีดยาง

โดย : นายประสิทธิ์ ทองกวาง วันที่ : 2017-06-29-11:18:31

ที่อยู่ : 35 หมู่ที่ 3 ตำบลคลองลุ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การทำสวนยางพารา ถือว่าเป็นอาชีพหลักของคนภาคใด้ ครอบครัวของข้าพเจ้าได้

ยึดอาชีพในการปลูกยางพารามาตั้งแต่บรรพบุรุษ ข้าพเจ้าเริ่มกรีดยางมาตั้งแต่อายุ 10 ขวบและพยามยามกรีดให้ดีที่สุดไม่ให้ถึงเนื้อไม้ และได้เข้าร่วมแข่งขันการกรีดยางทั้งในระดับหมู่บ้านและตำบลจนได้รับรางวัล จนเป็นที่รู้จักของคนในระแวกนั้น หลายๆ ท่านให้ความสนใจและให้สอนแนะถึงเทคนิคในการกรีดยางที่ถูกต้อง น้ำยางออกมากเพาะปลูกและรอคอยจนกระทั่งต้นยางพาราเจริญเติบโตพร้อมจะเก็บเกี่ยวผลผลิต หนึ่งในขั้นตอนที่มีความสำคัญอย่างมาก คือ การกรีดยาง เพื่อเก็บน้ำยาง อันจะนำมาซึ่งรายได้ให้กับเกษตรกรชาวสวนยางต้นยางที่โดนกรีดอย่างผิดวิธีจะเกิดความเสียหาย ไม่สามารถกรีดซ้ำได้ หรือไม่ก็ได้น้ำยางในปริมาณที่น้อย ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดายยิ่งนัก เพราะกว่าจะปลูกยางพาราให้เจริญเติบโตจนกระทั่งพร้อมจะกรีดได้ ต้องใช้ระยะเวลานานหลายปี ดังนั้นเกษตรกรชาวสวนยางทุกท่าน จึงควรให้ความสำคัญกับวิธีการกรีดยางให้มาก

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อสร้างรายได้ให้ครอบครัว

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ต้นยางที่เพาะจากการติดตา ควรปลูกช่วงต้นฤดูฝน วัสดุปลูกที่นิยมในปัจจุบันมี 3 ชนิด คือ ต้นตอตายาง ต้นติดตาในแปลงและต้นยางชำถุง วัสดุปลูกแต่ละชนิด มีวิธีการปลูก ความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่และสภาพภูมิอากาศที่แตกต่างกันดังนี้ ต้นตอตายาง การปลูกด้วยต้นตอตายาง ให้ใช้ไม้ปลายแหลมหรือเหล็กแหลมขนาดเล็กกว่าต้นตอตาที่ปลูกเล็กน้อยแทงลงบนหลุมปลูก ลึกขนาดเกือบเท่าความยาวของรากแก้วต้นตอตา เสียบต้นตอตาร่องที่แทงไว้ โดยหันแผ่นตาอยู่ในแนวทิศเหนือ-ใต้ ทั้งนี้เพื่อป้องกันความร้อนจากแสงแดดถูกแผ่นตาโดยตรงเป็นผลให้แผ่นตาเหี่ยวเฉาแห้งตายได้ ใช้เหล็กหรือไม้อัดต้นตอตาให้แน่นที่สุดเท่าที่จะทำได้ อย่าให้มีโพรงอากาศบริเวณราก เพราะจะทำให้รากเน่า กลบดินให้ระดับดินอยู่ตรงรอยต่อของรากกับลำต้น หลักจากปลูกควรพรวนดินบริเวณโคนต้นตอตาให้สูงเพื่อมิให้เป็นแอ่งเมื่อน้ำท่วมขังทำให้โคนต้นตอตาเน่า ใช้เศษฟางหรือเศษหญ้าหรือวัสดุหาง่ายคลุมโคนต้นตอตายาง หากฝนไม่ตกหลังการปลูกควรให้น้ำต้นยาง ดังนั้น การปลูกด้วยต้นตอตายางจึงเหมาะสมปลูกในแหล่งปลูกยางเดิมที่มีปริมาณน้ำฝนและมีจำนวนวันฝนตกมากกว่าในเขตแห้งแล้งจะมีลำต้นตั้งแต่โคนไปจนถึงด้านบนเกือบเท่ากัน ความหนาของเปลือกยางที่ระดับความสูงวัดจากพื้นในช่วงระดับ 90 ถึง 125 เซนติเมตรไม่ต่างกันมาก และก็ให้ปริมาณน้ำยางในการกรีดพอ ๆ กันชาวสวนยาง สามารถทราบได้ว่าสามารถเริ่มกรีดยางประเภทนี้ได้แล้ว โดยการวัดความสูงจากรอยติดตาที่อยู่บริเวณโคนต้นยางขึ้นไป 125 เซ็นติเมตร จากนั้นทำการวัดความยาวรอบลำต้นที่ตำแหน่งนั้น ถ้ามีความยาวมากกว่า 50 เซ็นติเมตร ก็สามารถเริ่มกรีดยาง

ข้อพึงระวัง ->

ใช้กล้าพันธุ์ที่ดี เชื่อถือได้

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดตรัง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา