โดย :
นางวลัยพร วงศ์งาม
2017-03-27-11:11:49
image1

ความเป็นมาและความสำคัญ

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) ได้กำหนดยุทธศาสตร์

การสร้างความเป็นธรรมลดความเหลื่อมล้ำในสังคมเป็น 1 ใน 10 ยุทธศาสตร์การพัฒนาตามแผนฯ และรัฐบาลได้กำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดิน จำนวน 11 ด้าน ซึ่งมีนโยบายการลดความเหลื่อมล้ำของสังคมและการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐเป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญ ที่มุ่งหวังแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับปากท้องของประชาชนในระดับล่างที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ  

การส่งเสริมการขับเคลื่อนการสร้างสัมมาชีพชุมชน โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ตามแผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็งของรัฐบาล ซึ่งตอบสนองนโยบายรัฐบาลเรื่อง การลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐ  โดยพื้นที่ของอำเภออุทุมพรพิสัย  จังหวัดศรีสะเกษ  มีเป้าหมายในการดำเนินงานใน จำนวน  ๒๐  หมู่บ้าน  บ้านอะลาง หมู่ที่ ๙ ตำบลโคกจาน เป็นหมู่บ้านหนึ่งซึ่งได้กำหนดกระบวนการขับเคลื่อนที่เริ่มต้นด้วยการพัฒนาทักษะการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับปราชญ์ชุมชน เพื่อให้กลับไปสร้างทีมและข้าพเจ้าในฐานะพัฒนากรผู้ประงานได้ร่วมในการขับเคลื่อนกับทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน  โดยการใช้เทคนิคและวิธีการขับเคลื่อนที่สอดคล้องกับศักยภาพของชุมชน

กระบวนการ/วิธีการ/เทคนิค

          กระบวนการ/วิธีการ

๑) ปราชญ์ชุมชนที่ได้รับการคัดเลือกในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงตามพื้นที่ความรับผิดชอบ

จำนวน ๑ คนเข้ารับการอบรมหลักสูตร “วิทยากรผู้นำสัมมาชีพ”

2) ดำเนินการร่วมกับวิทยากรผู้นำสัมมาชีพหมู่บ้านละ 1 คน ที่ผ่านการอบรมหลักสูตร

“วิทยากรผู้นำสัมมาชีพ”คัดเลือกปราชญ์ชุมชนเพิ่มเติมอีกหมู่บ้านละ 4 คน เพื่อร่วมทำหน้าที่เป็นทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านๆ ละ 5 คน

3) สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอส่งเสริมและสนับสนุนการจัดประชุมเตรียมความพร้อมทีม

วิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน

          ๔) การคัดเลือกครัวเรือนเป้าหมายที่เข้าร่วมฝึกอาชีพโดยพิจารณาจากทะเบียนครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) เป็นอันดับแรกและจากแบบสำรวจความต้องการฝึกอาชีพของคนในชุมชนจำนวนหมู่บ้านละ 20 ครัวเรือน   

                    ๕) ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านทำการอบรมครัวเรือนเป้าหมาย  ๒๐ ครัวเรือน

ตามกรอบแนวทางของสัมมาชีพชุมชน  จำนวน  ๕  วัน

                    ๖) ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านรวบรวมข้อมูล สอบถามอาชีพที่ครัวเรือนเป้าหมาย

ต้องการ

 

                                                          -2-

                    ๗) ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน ติดตามเยี่ยมเยียน และรายงานผลการประกอบอาชีพตามแบบฟอร์มการติดตามครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน และขึ้นทะเบียนกลุ่มอาชีพกับสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ  

เทคนิคการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน

๑)      คัดเลือกผู้นำสัมมาชีพและปราชญ์ชุมชนที่มีความรู้ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้

ให้กับครัวเรือนเป้าหมาย  ๒๐  ครัวเรือน

๒)      สร้างจิตสำนึกให้รักบ้านเกิด กระตุ้นการถ่ายทอดความรู้ของปราชญ์ชุมชนเหมือนระบบ

พี่สอนน้อง ให้ปราชญ์มีความมั่นใจในตนเองพร้อมที่จะถ่ายทอดความรู้ให้กับครัวเรือนเป้าหมาย  และพัฒนากรเป็นเพียงผู้แนะนำไม่ใช่ผู้ดำเนินการอบรม

                   ๓) ติดตามให้การส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมสัมมาชีพอย่างต่อเนื่อง

ผลของการสร้างสัมมาชีพชุมชน

                    ๑) ปราชญ์ชุมชนสามาถถ่ายทอดความรู้และการจัดกระบวนการสัมมาชีพชุมชน

๒) ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนได้เรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการสัมมาชีพชุมชน  มีอาชีพเสริมและ

มีการฝึกอาชีพที่มีความเป็นไปได้เหมาะสมกับครัวเรือน

๓)             มีอาชีพและมีรายได้เสริมของครัวเรือน/ชุมชน   มีผลิตภัณฑ์หรือสินค้าของกลุ่มอาชีพที่สามารถ

เข้าสู่ตลาด  พร้อมทั้งขึ้นทะเบียน  OTOP

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

๑)      โครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน เป็นโครงการที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการ

เสริมสร้างเศรษฐกิจฐานราก สร้างความเข้มแข็งให้กับหมู่บ้านและชุมชน

๒) ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนมีความพร้อมและความตั้งใจที่จะพัฒนาตนเอง

๓) การสร้างความเข้าใจแก่ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน และผู้แทนครัวเรือน

สัมมาชีพชุมชน

๔)      ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน  อย่าง

ต่อเนื่อง

ข้อเสนอแนะ

๑)      ระยะเวลาในการอบรมนานเกินไป   ผู้เข้าอบรมเกิดการเบื่อหน่าย เพราะมีภาระในการ

ประกอบกับมีอาชีพหลักและภารกิจส่วนตัวที่ต้องทำ

           ๒)  อาชีพบางอย่างมีต้นทุนสูง ดังนั้นจึงควรเพิ่มงบประมาณในการฝึกอาชีพให้มากขึ้น

           ๓) ควรลดขั้นตอนการปฏิบัติ และลดปริมาณขั้นตอนของเอกสารรายงานลง

++++++++++++++++++++

 

 

 

ความเป็นมาและความสำคัญ

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) ได้กำหนดยุทธศาสตร์

การสร้างความเป็นธรรมลดความเหลื่อมล้ำในสังคมเป็น 1 ใน 10 ยุทธศาสตร์การพัฒนาตามแผนฯ และรัฐบาลได้กำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดิน จำนวน 11 ด้าน ซึ่งมีนโยบายการลดความเหลื่อมล้ำของสังคมและการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐเป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญ ที่มุ่งหวังแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับปากท้องของประชาชนในระดับล่างที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ  

การส่งเสริมการขับเคลื่อนการสร้างสัมมาชีพชุมชน โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ตามแผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็งของรัฐบาล ซึ่งตอบสนองนโยบายรัฐบาลเรื่อง การลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐ  โดยพื้นที่ของอำเภออุทุมพรพิสัย  จังหวัดศรีสะเกษ  มีเป้าหมายในการดำเนินงานใน จำนวน  ๒๐  หมู่บ้าน  บ้านอะลาง หมู่ที่ ๙ ตำบลโคกจาน เป็นหมู่บ้านหนึ่งซึ่งได้กำหนดกระบวนการขับเคลื่อนที่เริ่มต้นด้วยการพัฒนาทักษะการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับปราชญ์ชุมชน เพื่อให้กลับไปสร้างทีมและข้าพเจ้าในฐานะพัฒนากรผู้ประงานได้ร่วมในการขับเคลื่อนกับทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน  โดยการใช้เทคนิคและวิธีการขับเคลื่อนที่สอดคล้องกับศักยภาพของชุมชน

กระบวนการ/วิธีการ/เทคนิค

          กระบวนการ/วิธีการ

๑) ปราชญ์ชุมชนที่ได้รับการคัดเลือกในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงตามพื้นที่ความรับผิดชอบ

จำนวน ๑ คนเข้ารับการอบรมหลักสูตร “วิทยากรผู้นำสัมมาชีพ”

2) ดำเนินการร่วมกับวิทยากรผู้นำสัมมาชีพหมู่บ้านละ 1 คน ที่ผ่านการอบรมหลักสูตร

“วิทยากรผู้นำสัมมาชีพ”คัดเลือกปราชญ์ชุมชนเพิ่มเติมอีกหมู่บ้านละ 4 คน เพื่อร่วมทำหน้าที่เป็นทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านๆ ละ 5 คน

3) สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอส่งเสริมและสนับสนุนการจัดประชุมเตรียมความพร้อมทีม

วิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน

          ๔) การคัดเลือกครัวเรือนเป้าหมายที่เข้าร่วมฝึกอาชีพโดยพิจารณาจากทะเบียนครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) เป็นอันดับแรกและจากแบบสำรวจความต้องการฝึกอาชีพของคนในชุมชนจำนวนหมู่บ้านละ 20 ครัวเรือน   

                    ๕) ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านทำการอบรมครัวเรือนเป้าหมาย  ๒๐ ครัวเรือน

ตามกรอบแนวทางของสัมมาชีพชุมชน  จำนวน  ๕  วัน

                    ๖) ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านรวบรวมข้อมูล สอบถามอาชีพที่ครัวเรือนเป้าหมาย

ต้องการ

 

                                                          -2-

                    ๗) ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน ติดตามเยี่ยมเยียน และรายงานผลการประกอบอาชีพตามแบบฟอร์มการติดตามครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน และขึ้นทะเบียนกลุ่มอาชีพกับสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ  

เทคนิคการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน

๑)      คัดเลือกผู้นำสัมมาชีพและปราชญ์ชุมชนที่มีความรู้ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้

ให้กับครัวเรือนเป้าหมาย  ๒๐  ครัวเรือน

๒)      สร้างจิตสำนึกให้รักบ้านเกิด กระตุ้นการถ่ายทอดความรู้ของปราชญ์ชุมชนเหมือนระบบ

พี่สอนน้อง ให้ปราชญ์มีความมั่นใจในตนเองพร้อมที่จะถ่ายทอดความรู้ให้กับครัวเรือนเป้าหมาย  และพัฒนากรเป็นเพียงผู้แนะนำไม่ใช่ผู้ดำเนินการอบรม

                   ๓) ติดตามให้การส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมสัมมาชีพอย่างต่อเนื่อง

ผลของการสร้างสัมมาชีพชุมชน

                    ๑) ปราชญ์ชุมชนสามาถถ่ายทอดความรู้และการจัดกระบวนการสัมมาชีพชุมชน

๒) ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนได้เรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการสัมมาชีพชุมชน  มีอาชีพเสริมและ

มีการฝึกอาชีพที่มีความเป็นไปได้เหมาะสมกับครัวเรือน

๓)             มีอาชีพและมีรายได้เสริมของครัวเรือน/ชุมชน   มีผลิตภัณฑ์หรือสินค้าของกลุ่มอาชีพที่สามารถ

เข้าสู่ตลาด  พร้อมทั้งขึ้นทะเบียน  OTOP

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

๑)      โครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน เป็นโครงการที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการ

เสริมสร้างเศรษฐกิจฐานราก สร้างความเข้มแข็งให้กับหมู่บ้านและชุมชน

๒) ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนมีความพร้อมและความตั้งใจที่จะพัฒนาตนเอง

๓) การสร้างความเข้าใจแก่ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน และผู้แทนครัวเรือน

สัมมาชีพชุมชน

๔)      ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน  อย่าง

ต่อเนื่อง

ข้อเสนอแนะ

๑)      ระยะเวลาในการอบรมนานเกินไป   ผู้เข้าอบรมเกิดการเบื่อหน่าย เพราะมีภาระในการ

ประกอบกับมีอาชีพหลักและภารกิจส่วนตัวที่ต้องทำ

           ๒)  อาชีพบางอย่างมีต้นทุนสูง ดังนั้นจึงควรเพิ่มงบประมาณในการฝึกอาชีพให้มากขึ้น

           ๓) ควรลดขั้นตอนการปฏิบัติ และลดปริมาณขั้นตอนของเอกสารรายงานลง

++++++++++++++++++++

 

 

 

image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา