เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การทักเปลใยสังเคราะห์

โดย : นายสุธน ยืนยาว ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-07-03-06:31:40

ที่อยู่ : ๖๙ หมู่ที่ ๘ ตำบลปราสาททนง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การทักเปล เป็นภูมิปัญญาเก่าแก่ประดิษฐ์สืบทอดมานานพร้อมกับการสานแหจับปลาและไม่ทราบ แหล่งที่มาชัดเจนว่าใครในถิ่นใดเป็นผู้ประดิษฐ์ขึ้นมาเป็นคนแรก มีผู้รู้เล่าสืบต่อกันมาว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์สิ่งหนึ่ง ที่ชาวบ้านสานไว้นอนเล่นพักผ่อนในยามว่างหรือให้เด็กนอนต่อมาได้นำใยสังเคราะห์ที่โรงงานทำพรมทิ้งมาสานเป็นเปลใช้ในครอบครัวปรากฏว่าได้ เปลที่นุ่ม เหนียว คงทน แตกต่างจากเชือกไนล่อนที่แข็ง เวลาทำเจ็บมือ นอนนานๆจะเจ็บ ต่อมาสามารถจำหน่ายให้เพื่อนบ้านเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบและส่วนประกอบ

1.ไม้คั่นหัวเปล2.ลวดหรือสายไฟ3.ไม้หัวเปล4.ท่อ PVC5.ที่ค้นหัวเปล6.กรรไกร7.ด้ายสังเคราะห์8.ลังใส่ด้าย9.จีม10.ที่ค้นด้าย11.เลื่อย กบไส สว่าน

ขั้นตอนการผลิต

1.เอาไม้มาเลื่อยให้ได้ขนาดที่ต้องการทำหัวเปล เจาะรู ให้ระยะห่างเท่าๆ กัน ประมาณ 10 รู จำนวน 2 อัน
2.นำด้ายสังเคราะห์ที่เตรียมไว้มาสาวใส่ลังหรืออุปกรณ์อื่น ประมาณ 1.5 กิโลกรัม
3.นำด้ายมาค้นใส่ที่ค้นหัวเปลได้ประมาณ 40 เส้น
4.นำด้ายออกมาจากที่ค้นหัวเปลมาสอดใส่รูไม้หัวเปลจนครบทั้ง 10 รู
5.นำด้ายประมาณ 30 เส้นมามัดหัวเปลให้ปุ่มบนเป็นแนวเดียวกันแล้วมัดเป็นวงกลม
6.ทำในลักษณะเดียวกันกับข้อ 2 -5 จะได้หัวเปลอันที่ 2
7.นำด้ายมาค้นใส่ที่ค้นด้ายให้ได้ประมาณ 24 เส้น และนำมาใส่จีม
8.นำด้ายจากจีม มาสานต่อจากหัวเปลโดยสานทับกันช่องละ 2 ครั้ง
9.ทำการสานต่อไปเรื่อยๆจนได้จำนวนแถวข้างละ 14 แถว
10.นำเปลแต่ละข้างมาต่อกันโดยมัดข้างทั้งสองข้างของเปลก่อนแล้วค่อยสานจากซ้ายไปเรื่อยๆ
11.นำเชือกมาสอดข้างของเปลทั้งสองข้างแล้วมัดให้แน่น
12.ตรวจสอบความเรียบร้อยเป็นการเสร็จสมบูรณ์ก็จะได้เปล 1 หลัง

เทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต

วัสดุอุปกรณ์ชนิดต่างๆ หาได้ในแหล่งชุมชนการออกแบบเปลเกิดจากความร่วมมือกันกับภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้ายสังเคราะห์กลุ่มจัดหาได้โดยการประสานกับโรงงานทำพรม ที่ไม่ใช้เชือกไนล่อนในการสานเนื่องจาก มีความแข็งกระด้างไม่นุ่ม เวลาสานเจ็บมือ ไม่สวยงาม แต่มีความคงทน ถ้าใช้เศษผ้า ไม่ทนทาน ไม่สวยงามแต่มีความนุ่ม สานง่าย กลุ่มจึงได้ใช้ใยสังเคราะห์มาสานเปลเนื่องจากมีความทนทาน นุ่ม สวยงาม ตลาดต้องการ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

            1) การลดความเสี่ยงและความไม่แน่นอนของรายได้

            2) รายได้สม่ำเสมอ

            3) การประหยัดทางขอบข่าย ค่าใช้จ่ายในไร่นาลดลง มีรายได้สุทธิเพิ่มมากขึ้น

            4) ลดการพึ่งพิงจากภายนอก

            5) ลดการว่างงานตามฤดูกาล มีงานทำทั้งปี ทำให้ลดการอพยพแรงงาน

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสุรินทร์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา