เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การเกษตรผสมผสาน

โดย : นายเชือด ใยยอง ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-06-28-12:33:48

ที่อยู่ : 3 ม. 8 ตำบลตานี

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

            เหตุผลที่มาของรูปแบบการเกษตรผสมผสานจากการทำเกษตรกระแสหลักโดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำเกษตรเชิงเดี่ยวหรือการผลิตสินค้า เกษตรชนิดเดียว เกิดปัญหาหลายๆด้านคือ

                     1) รายได้ของครัวเรือนไม่มีเสถียรภาพ

                     2) เศษวัสดุจากพืชและมูลสัตว์ไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์

                     3) การผลิตสินค้าเดี่ยวบางชนิดใช้เงินลงทุนมาก

                     4) ครัวเรือนต้องพึ่งพิงอาหารจากภายนอก

       ดังนั้นจึงเกิดแนวคิดในการที่หาระบบการผลิตในไร่นา ที่สามารถใช้ประโยชน์จากพื้นที่ทำกินขนาดเล็ก เพื่อลดความเสี่ยงจากการผลิต ลดการพึ่งพิงเงินทุน ปัจจัยการผลิตและอาหารจากภายนอก เศษพืชและมูลสัตว์ ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากกิจกรรมการผลิต ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในไร่นาและทำให้ผลผลิตและรายได้เพิ่มขึ้น ระบบการผลิตดังกล่าวคือ เกษตรผสมผสาน

        เกษตรผสมผสาน คือ ระบบการเกษตรที่มีการปลูกพืชและหรือมีการเลี้ยงสัตว์หลายชนิด ในพื้นที่เดียวกัน โดยที่กิจกรรมแต่ละชนิด จะต้องเกื้อกูลประโยชน์ต่อกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในไร่นา เช่น ดิน น้ำ แสงแดด อย่างเหมาะสมเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีความสมดุลของสภาพแวดล้อมและเพิ่มพูนความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ

       ตามแนวคิดดังกล่าวมีหลักการพื้นฐานที่สำคัญ 2 ประการ คือ

              1) ต้องมีกิจกรรมการเกษตรตั้งแต่ 2 กิจกรรมขึ้นไป

              2) ต้องเกิดการเกื้อกูลประโยชน์ระหว่างกิจกรรมต่างๆ

วัตถุประสงค์ ->

หลักการและเงื่อนไขของเกษตรผสานผสาน  มีหลักการที่สำคัญ 2 ประการ คือ

             1) มีกิจกรรมการเกษตรตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป และกิจกรรมการเกษตรทั้งสองชนิดต้องทำเวลาและสถานที่เดียวกัน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดมากกว่าให้เกิดกำไรสูงสุด

             2) เกิดการเกื้อกูลกันอย่างต่อเนื่องระหว่างกิจกรรม

เกื้อกูลกันระหว่างพืชกับพืช พืชกับปลา สัตว์กับปลา พืชกับสัตว์ สัตว์กับสัตว์ ซึ่งลักษณะการเกื้อกูลกันของระบบเกษตรผสมผสาน จึงทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง หรือที่เรียกว่า เป็นการประหยัดทางขอบข่าย(Ecomomy of Scope) และลดการพึ่งพิงปัจจัยจากภายนอกในที่สุด

             ในด้านเทคนิคและการจัดการไร่นานั้น เกษตรผสมผสานให้ความสำคัญในเรื่องของการสร้าง ความหลากหลายของพืช สัตว์ และทรัพยากรชีวภาพ การใช้ประโยชน์เกื้อกูลกันระหว่างกิจกรรม การใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก การใช้วัสดุหรือพืชคลุมดิน การปลูกพืชหลายระดับ มีแหล่งน้ำในไร่นาซึ่งจะไม่เน้นหนักว่าต้องมีการปฏิบัติ เช่นสามารถใช้พืชคลุมดิน ไถพรวนดิน หรือปุ๋ยเคมีก็ได้

        การพัฒนารูปแบบเกษตรผสมผสาน

มีการทำการเกษตรแบบผสมผสานมานานแล้ว จากรูปแบบการผลิตที่ง่ายๆเช่นการเลี้ยงปลาในนาข้าว และหลังจากที่หน่วยงานของรัฐเข้ามามีบทบาทในด้านการส่งเสริมและวิจัยมากขึ้น รูปแบบการผลิตจึงมีความซับซ้อนมากขึ้น มีการผสมผสานระหว่างพืช สัตว์และปลา

       โดยทั่วไปรูปแบบของการผลิตซึ่งประกอบด้วยชนิดและขนาดของกิจกรรมการผลิตในไร่นาจะแตกต่างกันไป ปัจจัยที่กำหนดรูปแบบการผลิตมี 3 ประการคือ

            (1) สภาพแวดล้อมทางกายภาพของพื้นที่ เช่น ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ระดับความสูงต่ำของพื้นที่ แหล่งน้ำ สภาพลมฟ้าอากาศและอื่นๆ

            (2) สภาพแวดล้อมทางชีวภาพของพื้นที่ ได้แก่ ชนิดของพืช สัตว์และปลาที่สามารถปรับตัวเข้ากับพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม

            (3) สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคม ได้แก่ ขนาดของพื้นที่ถือครอง จำนวนแรงงานในครัวเรือน เงินออม ตลาด พฤติกรรมการบริโภค เป็นต้น

        รูปแบบของเกษตรผสมผสาน

จะคิดสมมติจากรายได้รวมจากฟาร์มเป็นหลัก สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 แบบ คือ

            1) การผสมผสานโดยยึดพืชเป็นหลัก รายได้จากพืชจะเป็นรายได้หลักของครัวเรือน ส่วนรายได้จากกิจกรรมอื่นเช่น ปลา และเลี้ยงสัตว์ จะเป็นรายได้รอง

            2) การผสมผสานโดยยึดสัตว์เป็นหลัก จะได้รายได้หลักจากสัตว์เลี้ยงส่วนรายได้จากพืชและปลาจะเป็นรายได้รอง

            3) การผสมผสานโดยยึดปลาเป็นหลัก รายได้หลักมาจากการเลี้ยงปลา ส่วนรายได้จากพืชและสัตว์จะเป็นรายได้รอง

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

จุดเด่นของการเกษตรผสมผสาน

            1) การลดความเสี่ยงและความไม่แน่นอนของรายได้

            2) รายได้สม่ำเสมอ

            3) การประหยัดทางขอบข่าย ค่าใช้จ่ายในไร่นาลดลง มีรายได้สุทธิเพิ่มมากขึ้น

            4) ลดการพึ่งพิงจากภายนอก

            5) ลดการว่างงานตามฤดูกาล มีงานทำทั้งปี ทำให้ลดการอพยพแรงงาน

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสุรินทร์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา