เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

ทอผ้าไหมมัดหมี่

โดย : นางวิเชียร แก้วเลิศ ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-06-19-15:35:56

ที่อยู่ : 3 ม.5 ต.กระหาด

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

้านเวียยมีการประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ทุกครัวเรือนจะมีที่ดินท านา ท าไร่ เลี้ยงสัตว์ นอกจากอาชีพท านาแล้ว ก็มีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม เพื่อน าเส้นไหมมาทอเป็นผืนผ้า ยามว่างจากนา ผู้หญิง ทอผ้า ในอดีตที่ผ่านมา การทอผ้าถือเป็นหน้าที่ส าคัญของผู้หญิงชาวอีสาน เพราะจะต้องทอผ้าเพื่อใช้เป็น เครื่องนุ่งห่มในชีวิตประจ าวัน ผู้หญิงต้องเรียนรู้และฝึกหัดการทอผ้ามาตั้งแต่เด็ก จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถี ชีวิต การทอผ้าเพื่อใช้ในครอบครัวจึงเป็นสิ่งส าคัญที่ผู้หญิงอีสานจะต้องเรียนรู้และฝึกหัด โดยเริ่มจากผู้เป็นแม่ ได้ถ่ายทอดความรู้และเทคนิควิธีการทอผ้าให้ลูกหลาน สืบทอดกันมาไม่ขาดสาย ผ้าไหมที่ทอได้ นิยมสวมใส่ไป ท าบุญที่วัด หรือในงานพิธีและงานมงคลต่างๆ รวมทั้งเก็บไว้เป็นมรดกให้ลูกหลาน

วัตถุประสงค์ ->

น าเส้นไหมขั้นหนึ่งหรือไหมน้อย มาใช้ในการทอผ้า ไหมน้อยจะมีลักษณะเป็นผ้าไหมเส้นเล็ก เรียบ นิ่ม เวลาสวมใส่จะรู้สึกเย็นสบาย นอกจากนี้การทอผ้าไหมพื้นบ้าน ยังมีกรรมวิธีการทอที่ สลับซับซ้อน และเป็นกรรมวิธีที่ยาก ซึ่งต้องใช้ความสามารถและความช านาญ โดยส่วนใหญ่ใช้ไหมเส้นเล็กใน การทอ หรือไหมน้อย คือไหมที่สาวมาจากเส้นใยภายในรังไหม มีลักษณะเรียบ นุ่ม และ เงางาม ลวดลายได้รับ อิทธิพลทางวัฒนธรรมจากกัมพูชา และลวดลายที่บรรจงประดิษฐ์ขึ้นล้วนมีที่มาและมีความหมายอันเป็นมงคล ใช้สีธรรมชาติในการทอ ท าให้มีสีไม่ฉูดฉาด มีสีสันที่มีลักษณะเฉพาะ คือ สีจะออกโทนสีขรึม เช่น น้ าตาล แดง เขียว ด า เหลือง อีกทั้งยังมีกลิ่นหอมจากเปลือกไม้

ขั้นตอนการมัดหมี่ การมัดหมี่ คือ การท าผ้าไหมให้เป็นลายและสีสันต่างๆตามแบบหรือลายที่ได้ออกแบบไว ซึ่ง ปัจจุบันมีทั้งแบบลายที่เป็นแบบลายโบราณและแบบที่เป็นลายประยุกต์ โดยการมัดเส้นไหมให้เป็นลวดลายที่ เส้นพุ่งด้วยเชือกฟางมัดลายแล้วน าไปย้อมสี แล้วน ามามัดลายอีกแล้วย้อมสีสลับกันหลายครั้ง เพื่อให้ผ้าไหมมี ลวดลายและสีตามต้องการ เช่น ผ้าที่ออกแบบลายไว้มี 5 สี ต้องท าการมัดย้อม 5 ครั้ง

ขั้นตอนการย้อมสี การย้อมสีไหมจะต้องน าไหมดิบมาฟอกเพื่อไม่ให้มีไขมันเกาะ โดยจะใช้ด่างจากขี้เถ้าไปฟอกไหม เรียกว่า “การดองไหม” จะท าให้เส้นไหมขาวนวลขึ้น แล้วจึงน าไปย้อม ในสมัยก่อนนิยมใช้สีจากธรรมชาต แต่ ปัจจุบันการย้อมด้วยสีธรรมชาติเริ่มหายไป เนื่องจากมีสีวิทยาศาสตร์เข้ามาแทนที่ ที่หาซื้อง่ายตามร้านขายเส้น ไหมหรือผ้าไหม เมื่อละลายน้ าจะแตกตัว ย้อมง่าย สีสดใส ราคาค่อนข้างถูกทนต่อการซักค่อนข้างดี การย้อม ด้วยสีธรรมชาติมีข้อดี คือ สีไม่ฉูดฉาด สีอ่อนเย็นตากว่าสีสังเคราะห์ จึงท าให้สีของผ้างดงามสัมพันธ์กับรูปแบบ ของผ้าพื้นเมือง สีธรรมชาติจะติดสีได้ดีในเส้นไหมและฝ้าย วิธีย้อมคือ การคั้นเอาน้ าจากพืชที่ให้สีนั้นๆ ต้มให้ เดือด จากนั้นน าไหมชุบน้ าให้เปียกบิดพอหมาด กระตุกให้เส้นไหมเรียงเส้นจึงแช่ในน้ าย้อมสีที่เตรียมไว จากนั้น น าไปผึ่งให้แห้งจะได้เส้นไหมที่มีสีตามต้องการ ขั้นตอนการแก้หมี่ การแก้หมี่ คือ การแก้เชือกฟางที่มัดหมี่แต่ละล าออกให้หมดหลังจาการย้อมในแต่ละครั้ง ขั้นตอนการทอผ้า ขั้นตอนสุดท้ายก่อนที่จะออกมาเป็นผ้าผืน คือการทอผ้าไหมจะประกอบไปด้วยเส้นไหม 2 ชุด คือ ชุดแรกเป็น “เส้นไหมยืน” จะขึงไปตามความยาวผ้าอยู่ติดกับกี่ทอ(เครื่องทอ) หรือแกนม้วนด้านยืน อีกชุดหนึ่ง คือ “เส้นไหมพุ่ง” จะถูกกรอเข้ากระสวย เพื่อให้กระสวยเป็นตัวน าเส้นด้ายพุ่งสอดขัดเส้นด้ายยืนเป็นมุมฉาก ทอสลับกันไปตลอดความยาวของผืนผ้า การสอดด้ายพุ่งแต่ละเส้นต้องสอดให้สุดถึงริมแต่ละด้าน แล้วจึง วกกลับมา จะท าให้เกิดริมผ้าเป็นเส้นตรงทั้งสองด้าน ส่วนลวดลายของผ้านั้นขึ้นอยู่กับการวางลายผ้าตามแบบ ของผู้ทอที่ได้ท าการมัดหมี่ไว้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1) การหมั่นฝึกฝนเพื่อให้เกิดความช านาญ เพราะในแต่ละกระบวนการต้องใช้ทักษะเฉพาะและ ความช านาญจริงจะได้ผ้าที่มีคุณภาพ ประณีต 3) ความอดทนในการท างาน กว่าจะได้ผ้าไหมแต่ละผืนต้องผ้าหลายขั้นตอน ต้องใช้ความขยัน และอดทน - เทคนิคที่ท าให้เกิดความส าเร็จในการท างาน คือ การท างานต้องรอบคอบ ช่างสังเกต มีเวลา เอาใจใส่ในการท างาน และต้องขยัน อดทน - ข้อสังเกตที่พบระหว่างการปฏิบัติตามขั้นตอน คือ การย้อมสีผ้าไหมที่อยู่ด้านนอกสีจะติดเยอะ และมีสีเข้มกว่าขั้นข้างใน

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสุรินทร์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา