เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในหมู่บ้าน

โดย : นายจงกล เขตการณ์ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-30-13:39:08

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางระจัน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

สัมมาชีพ หมายถึง อาชีพที่ไม่เบียดเบียนตนเอง ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เบียดเบียนสิ่งแวดล้อม  และมีรายได้มากกว่ารายจ่าย เป็นความพยายามที่จะปรับจากการ “ทำมาหากิน”เป็น “ทำมาค้าขาย” โดยไม่ได้เอากำไรสูงสุดเป็นตัวตั้ง หรือเป็นเป้าหมายสุดท้าย และต้องคำนึงถึงความเป็นธรรมทางสังคม กรมการพัฒนาชุมชน ได้ส่งเสริมสนับสนุนในการพัฒนาสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน และได้สนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาหมู่บ้าน ซึ่งการขับเคลื่อนจะใช้ปราชญ์ชุมชน ในการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชน ปราชญ์ชุมชน หมายถึง ผู้ที่ประกอบสัมมาชีพ จนมีความรู้ความชำนาญในการประกอบอาชีพ หรือมีความเชี่ยวชาญในอาชีพนั้นๆ ประสบความสำเร็จและมีความมั่นคงในอาชีพเป็นที่ยอมรับของคนในชุมชน พร้อมมีจิตอาสาที่จะถ่ายทอดและขยายผลไปยังบุคคลอื่นๆ ในชุมชนโดยให้ วิทยากรสัมมาชีพชุมชนที่ผ่านการอบรมตามหลักสูตร“วิทยากรผู้นำสัมมาชีพ”เข้าไปเป็นผู้ถ่ายถอดความรู้ให้กับชาวบ้าน

 

วัตถุประสงค์ ->

จุดมุ่งหมาย 

1 เพื่อพัฒนาผู้นำสัมมาชีพให้
   เป็นวิทยากรสัมมาชีพชุมชน          

2.เพื่อยกระดับรายได้ครัวเรือน

  ให้เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 3

๓.เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการ
  จัดตั้งและพัฒนากลุ่มอาชีพ OTOP

ขั้นตอนการปฏิบัติ

 1. คัดเลือกพัฒนาปราชญ์ผู้นำสัมมาชีพ เป็นวิทยากรสัมมาชีพชุมชน หมู่บ้านละ1 คน เข้าร่วมอบรมรุ่นละ 4 วัน ณ ศูนย์ฝึกอบรม
 2. ประชุมเชิงปฏิบัติการวิทยากรสัมมาชีพระดับจังหวัด 1 วัน และคัดเลือกทีมวิทยากรอีกหมู่ละ 4 คน
 3. จัดอบรมระดับอำเภอเตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับอำเภอหมู่บ้าน ๆ ละ 5 คน ( 3 วัน) คัดเลือกครอบครัวพัฒนา จำนวน  20  ครอบครัว
 4. ส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน ๆ ละ 20 คน (หมู่บ้านละ 5 วัน)
 5. สนับสนุนการจัดตั้งและพัฒนากลุ่มอาชีพ (กลุ่มละ 1 วัน) และครัวเรือนเป้าหมายในหมู่บ้านได้รับการพัฒนาอาชีพและมีรายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3
 ขุมความรู้
1. ศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง
2. สร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการขับเคลื่อนกิจกรรมแก่ทีมงาน
3. การเชื่อมโยงกลไกระดับพื้นที่  เพื่อเป็นแกนกลางประสานขับเคลื่อนและส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ทั้งในระดับแกนนำชุมชน คณะกรรมการหมู่บ้าน  ผู้นำ อช./อช. ปราชญ์ชาวบ้าน  ผู้นำกลุ่ม/องค์กรต่าง  และ ครอบครัวพัฒนาตัวอย่าง  รวมทั้งประชาชนในหมู่บ้าน  ก่อให้เกิดความร่วมมือในการปฏิบัติ
4. ส่งเสริม สนับสนุนให้ชุมชนมีวิถีชีวิต ด้วยหลักการการมีส่วนร่วม
5. ติดตามประเมินผลการดำเนินงานทุกระยะ ทำให้เกิดประสิทธิผลต่อการดำเนินงาน
แก่นความรู้
1. ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจอย่างต่อเนื่อง
2. ให้ชาวบ้านเป็นผู้ตัดสินใจในการดำเนินงานและยึดการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน
3. ปฏิบัติจริง/การก่อเกิดอาชีพใหม่ในหมู่บ้านนำไปสู่การจัดตั้งกลุ่มอาชีพและชุมชนพึ่งตนเองได้
3. ยึดแนวทางการดำเนินงานตามคู่มือสัมมาชีพชุมชนของกรมการพัฒนาชุมชน/ระเบียบที่เกี่ยวข้อง
กลยุทธ์ ศึกษา ยึดแนวทางกรมฯ ชี้แจง สอดแทรกและกระตุ้นให้คิดและยึดหลักการมีส่วนร่วม
1.การเตรียมความพร้อมในทุกๆ ด้าน    2.การชี้แจงทำความเข้าใจ      3.การทำงานเป็นทีม
4. การสร้างมนุษย์สัมพันธ์/การประสานงานกับทุกภาคส่วน   5. กระบวนการมีส่วนร่วม
6.การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

1. ก่อนดำเนินงานต้องนำเสนอโครงการขอความเห็นชอบจากผู้บังคับบัญชาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนจึงจะดำเนินการได้                   2.จำเป็นต้องสร้าง ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการขับเคลื่อนกิจกรรมการดำเนินงานแก่ทีมงานและผู้ร่วมงาน รับรู้/รับทราบและยอมรับก่อน เพื่อลดปัญหาการต่อต้านและความขัดแย้ง      ในการดำเนินงาน               

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดสิงห์บุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา