เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคการทอผ้าไหม

โดย : นางสำราญ ยอดจักร์ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-04-02-14:14:30

ที่อยู่ : 76 หมู่ที่ 5 ตำบลดินแดง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ชาวบ้านดินแดงส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม คือการท้านา ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ ปลูกพริก ค้าขาย ทอผ้าไหม อาชีพเสริมก็คือการรับจ้างทั่วไป รายได้ของประชากรส่วนใหญ่ คือการท้านา รายได้รอง คือ เลี้ยงสัตว์ เช่น วัว ไก่ เป็ด เลี้ยงปลา รองลงมา คือปลูกพริก และปลูกพืชต่างๆ ตามความถนัด และเริ่มทอผ้าไหม เพื่ออาชีพเสริมหลังฤดูการทำนา สรา้งรายได้ในชุมชนอีกทาง

วัตถุประสงค์ ->

การมัดหมี่ เป็นกรรมวิธีที่สำคัญที่สุดที่จะทำผ้าไหมให้เป็นลายและสีสันต่าง ๆ ในการมัดหมี่ให้เป็นลายและสีต่าง ๆ นั้น ขึ้นอยู่กับกรรมวิธีและความนิยมของผู้ใช้เป็นสำคัญ เพราะลายและสีของผ้าไหมมีมากมายเหลือเกิน เช่น ถ้าต้องการผ้าไหมมีลายเล็ก ๆ เต็มผืนและหลาย ๆ สี ต้องใช้ผู้ที่มีฝีมือปราณีตในการมัดหมี่ ขณะเดียวกันค่าแรงงานในการจ้างมัดหมี่ก็แพงขึ้นด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการมัดหมี่ คือ มีดบางเล็ก ๆ หรือใบมีดโกนชนิดมีด้าม เชือก ฟาง (สมัยก่อนใช้กาบกล้วยแห้ง) "ฮงหมี่" และ "แบบลายหมี่" การมัดลายเต็มตัว (เต็มผืน) ผู้มัดจะต้องมัดลายตามแบบลายหมี่ให้เต็ม

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

การใส่ใจในรายละเอียดของชิ้นงาน

อุปกรณ์ ->

การแก้หมี่ คือกรรมวิธีแก้เชือกฟางที่ใช้มัดลำหมี่แต่ละลำออกให้หมดโดยใช้มีดบางเล็ก ๆ หรือใบมีดโกนชนิดมีด้าม การแก้หมี่จะต้องทำอย่างระมัดระวังอย่าให้มีดถูกเส้นไหมขาด ไหมที่แก้เชือกฟางออกหมดแล้ว จะเห็นลายหมี่ได้สวยงามและชัดเจนมาก

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การทำงานทุกอย่างต้องเอาใจใส่ และพัฒนาผลิตภัณฑือน่างสมำ่เสมอ

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา