เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคการทอผ้าไหม

โดย : นางเพ็ญ สายแก้ว ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-04-02-14:09:33

ที่อยู่ : 10 หมู่ที่ 5 ตำบลดินแดง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม คือการท้านา ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ ปลูกพริก ค้าขาย ทอผ้าไหม อาชีพเสริมก็คือการรับจ้างทั่วไป รายได้ของประชากรส่วนใหญ่ คือการท้านา รายได้รอง คือ เลี้ยงสัตว์ เช่น วัว ไก่ เป็ด เลี้ยงปลา รองลงมา คือปลูกพริก และปลูกพืชต่างๆ ตามความถนัด และเริ่มทอผ้าไหม เพื่ออาชีพเสริมหลังฤดูการทำนา สรา้งรายได้ในชุมชนอีกทาง

วัตถุประสงค์ ->

การทอผ้าไหมลายลูกแก้วย้อมมะเกลือ เป็นการใช้เทคนิคการเพิ่มตะกอให้มากขึ้นกว่าสองตะกอ ลายผ้าที่ได้จะเป็นลายดอกนูนขึ้นมาตลอดทั้งผืน เป็นผ้าทอที่ต้องใช้ความสัมพันธ์ในการเหยียบตะกออย่างชำนาญ นอกจากนี้ใช้เส้นยืนและเส้นพุ่งย้อมสีเดียวกัน มีลักษณะการทอแบบยกดอก จะแตกต่างจากการทอผ้าพื้น ที่การใช้ตะกอเป็นตัวกำหนดลาย มีจุดกลับโดยยกตะกอย้อนกลับ แล้วเก็บตะกอตามลวดลายที่กำหนดไว้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

การทอผ้าไหม
อันดับแรกต้องขอบอกก่อนเลยว่า ผ้าไหมขอหมูบ้านนี้ เป็น ผ้าไหมระดับ 5 ดาว ที่ส่งออกให้กับต่างประเทศ อย่างญี่ปุ่น ซึ่งก็จะมีหลาย ลาย ให้เลือกซื้อ เลือกชม เช่น ลายยกดอก 
การมัดหมี่ เป็นกรรมวิธีที่สำคัญที่สุดที่จะทำผ้าไหมให้เป็นลายและสีสันต่าง ๆ ในการมัดหมี่ให้เป็นลายและสีต่าง ๆ นั้น ขึ้นอยู่กับกรรมวิธีและความนิยมของผู้ใช้เป็นสำคัญ เพราะลายและสีของผ้าไหมมีมากมายเหลือเกิน เช่น ถ้าต้องการผ้าไหมมีลายเล็ก ๆ เต็มผืนและหลาย ๆ สี ต้องใช้ผู้ที่มีฝีมือปราณีตในการมัดหมี่ ขณะเดียวกันค่าแรงงานในการจ้างมัดหมี่ก็แพงขึ้นด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการมัดหมี่ คือ มีดบางเล็ก ๆ หรือใบมีดโกนชนิดมีด้าม เชือก ฟาง (สมัยก่อนใช้กาบกล้วยแห้ง) "ฮงหมี่" และ "แบบลายหมี่" การมัดลายเต็มตัว (เต็มผืน) ผู้มัดจะต้องมัดลายตามแบบลายหมี่ให้เต็ม
การแก้หมี่ คือกรรมวิธีแก้เชือกฟางที่ใช้มัดลำหมี่แต่ละลำออกให้หมดโดยใช้มีดบางเล็ก ๆ หรือใบมีดโกนชนิดมีด้าม การแก้หมี่จะต้องทำอย่างระมัดระวังอย่าให้มีดถูกเส้นไหมขาด หมที่แก้เชือกฟางออกหมดแล้ว จะเห็นลายหมี่ได้สวยงามและชัดเจนมาก

อุปกรณ์ ->

การทำงานผ้าทุกชิ้นต้องใส่ใจในรายละเอียดทุกขั้นตอน

กระบวนการ/ขั้นตอน->

   ผ้าไหมลายลูกแก้วย้อมมะเกลือ มีเอกลักษณ์โดดเด่น มีสีดำมันวาว ย้อมด้วยวัสดุธรรมชาติ คือ ผลมะเกลือ และต้องย้อมซ้ำไปซ้ำมาจนติดสีดำเข้ม มีกรรมวิธีการทอโดยการทอลายในตัว และใช้วิธีการแยกตะกอ 5 ตะกอ เพื่อให้เกิดลวดลายขนมเปียกปูนเป็นวงซ้อนกันติดต่อกันตลอดทั้งผืน เมื่อเสร็จสิ้นการทอ ขั้นตอนต่อไปนำไปตัดเสื้อและย้อมมะเกลืออีกครั้งเป็นขั้นตอนสุดท้าย
       ส่วนลวดลายผ้าไหมลายลูกแก้วย้อมมะเกลือ อดีตบรรพบุรุษได้คิดค้นมาจากลวดลายของผลหวายป่า ลักษณะคล้ายผลระกำหรือสละ ซึ่งมีรูปร่างเป็นช่อคล้ายลูกแก้วในปัจจุบัน แล้วนำไปใช้เป็นลวดลายทอผ้าขึ้นมาเป็นลักษณะรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนซ้อนกันตลอดทั้งผืน

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา