เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน บ้านค้อตานี

โดย : ่นายเถิด ดวงใจ ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-04-01-22:32:10

ที่อยู่ : 76 หมู่ที่ 8 ตำบลโนนสูง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ปัจจุบันนี้สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพของประชาชนภาคการเกษตรในชุมชนมีภาวะความเสี่ยงของอาชีพภาคเกษตรกรรมที่เกิดจากการประกอบอาชีพแบบดั้งเดิม เช่น ปลูกพืชเชิงเดี่ยว โรคพืช ราคาผลผลิตตกต่ำ การไม่มีอาชีพหรือรายได้เสริม หลังฤดูกาลผลิตและยังมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มอาชีพค่อนข้างน้อย ส่วนกลุ่มอาชีพที่มีอยู่ยังไม่ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาอย่างเพียงพอ ส่งผลให้ประชาชนต้องเคลื่อนย้ายไปประกอบอาชีพในเมือง และมีส่วนราชการที่มีสถานที่หรือศูนย์ฝึกอบรมซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนเป็นศูนย์ฝึกอาชีพ/แหล่งเรียนรู้การประกอบอาชีพได้ แต่ไม่ได้ใช้ประโยชน์เท่าที่ควร ประกอบกับมีปราชญ์ชุมชนด้านอาชีพที่เชี่ยวชาญ และประสบผลสำเร็จในการประกอบอาชีพด้านต่าง ๆ อยู่ในหมู่บ้าน/ชุมชน แต่มีส่วนน้อยที่สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นนำไปทำตามให้สำเร็จได้

          จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๖๔) ได้กำหนดยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคมเป็น ๑ ใน ๑๐ ยุทธศาสตร์การพัฒนาตามแผนฯ แผนงานที่สำคัญ คือ แผนงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็ง ซึ่งได้มอบให้กระทรวงมหาดไทยที่มีกรมการพัฒนาชุมชนเป็นหน่วยงานหลักบูรณาการไปสู่การปฏิบัติ ด้วยเหตุปัจจัยดังกล่าวนี้ จึงมุ่งเน้นที่การยกระดับเศรษฐกิจฐานราก นั่นคือ “รายได้” ที่ต้องทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยการสร้างอาชีพจึงเป็นที่มาของ “สัมมาชีพชุมชน” ซึ่งกำหนดแผนการสร้างสัมมาชีพชุมชนบนหลักปรัขญาของเศรษฐกิจพอเพียง

          ตามแนวทางการดำเนินงานของกรมการพัฒนาชุมชน นำไปสู่แผนการปฏิบัติงานในพื้นที่เน้นการยกระดับความเป็นอยู่ เพื่อให้ครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ ๓ โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการเสริมสร้างสัมมาชีพชุมชน อันเป็นการสนองต่อหลักการสัมมาชีพชุมชน คือ เป็นอาชีพที่สุจริต ไม่เบียดเบียนตนเอง ไม่เบียดเบียนสิ่งแวดล้อม ไม่เบียดเบียนสังคม ให้ชาวบ้านที่เป็นปราชญ์ชาวบ้าน สอนชาวบ้านในสิ่งที่เค้าต้องการฝึกอาชีพ โดยมีสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเป็นผู้ประสานงาน มีทีมสนับสนุนการขับเคลื่อนสัมมาชีพระดับอำเภอ เป็นพี่เลี้ยง ทำให้หมู่บ้านที่ได้รับการสนับสนุนมีอาชีพ มีผลิตภัณฑ์ชุมชนสามารถก้าวไปสู่หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) เพื่อก่อให้เกิดรายได้ เสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็งต่อไป

วัตถุประสงค์ ->

๑) จัดประชุมให้ความรู้ในเรื่องการจัดทำบัญชีครัวเรือน และวิเคราะห์ผลจากการทำบัญชีครัวเรือนเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถวิเคราะห์รายรับ รายจ่าย ความต้องการของครัวเรือน

         

                                                          -๒-

 

๒) ประชุมคัดเลือกปราชญ์ชุมชน ที่สามารถถ่ายทอดความรู้ จากการฝึกอบรมฯ โครงการพัฒนาผู้นำสัมมาชีพ เพื่อให้วิทยากรสัมมาชีพชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสัมมาชีพชุมชน เกิดกระบวนการเรียนรู้ และคัดเลือกทีมสนับสนุนสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน รวมทั้งคัดเลือกครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน หมู่บ้านละ ๒๐ ครัวเรือน

          ๓) ทีมสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน ๑ คน ต่อ ๔ ครัวเรือนเป้าหมาย ถ่ายทอดความรู้ เทคนิค     การเป็นวิทยากรสัมมาชีพชุมชน ส่งเสริม สนับสนุน กำกับและติดตามครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน ร่วมกันวิเคราะห์สถานการณ์ความต้องการอาชีพของครัวเรือนเป้าหมายเพื่อสร้างรายได้และตรงกับความต้องการ และดำเนินโครงการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน จำนวน ๕ วัน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

๑. สร้างความมุ่งมั่นให้กับทีมปราชญ์ชุมชน ระดับหมู่บ้าน เป็นสิ่งสำคัญที่จะสามารถขับเคลื่อนโครงการฯได้ เพื่อให้เกิดความสำเร็จ มีประสิทธิภาพมากที่สุด

          ๒. ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ตลอดเวลา ทุกคนสามารถเรียนรู้ได้เสมอ ไม่ว่าจะเพศใด อายุเท่าไร ประกอบอาชีพอะไรก็สามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา การเรียนรู้ไม่มีที่สิ้นสุด

          ๓. ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นจากโครงการฯ เป็นการระเบิดจากข้างใน คือ เป็นความต้องการของหมู่บ้าน แล้วจะทำให้ตั้งใจเรียนรู้ในสิ่งที่ต้องการมากที่สุด ก่อให้เกิดผลลัพธ์ เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด

          ๔. ยึดหลักเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา เมื่อมีความเข้าใจในสิ่งที่ตนเองได้ศึกษา และเรียนรู้แล้วจะก่อให้เกิดแนวทางในการพัฒนาอาชีพของตัวเองต่อไป มีการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ในสังคม แบ่งปัน ไม่เบียดเบียน ทำให้ทุกคนในหมู่บ้าน/ชุมชนมีความสุข ก่อให้เกิดสิ่งดีดีในสังคม ทำให้สังคมสงบสุขและน่าอยู่มากขึ้น

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

๑) คัดเลือกปราชญ์ชุมชน ๑ คน เพื่อมาเป็นครูใหญ่ของบ้านค้อตานี ได้มีการจัดเวทีประชาคมเพื่อคัดเลือกคนที่มีความรู้ ความสามารถและถ่ายทอดความรู้ได้ 
    ๒) ติดตาม และสนับสนุนปราชญ์ชุมชนอย่างใกล้ชิด โดยบอกวัตถุประสงค์ของโครงการ และผลลัพธ์ของโครงการ ให้ปราชญ์ชุมชนท่องจำให้ขึ้นใจ เพื่อที่จะสามารถถ่ายทอดให้ครัวเรือนสัมมาชีพได้เข้าใจตรงกัน
    ๔) ใช้เทคนิคการสร้างแรงจูงใจ และสอนให้คิดบวก เพื่อให้กิจกรรมโครงการสำเร็จตามวัตถุประสงค์
 

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา