เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคสัมมาชีพชุมชนบ้านโนนโพธิ์

โดย : นายสุวัฒชัย บุ้งทอง ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-30-05:34:48

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอน้ำเกลี้ยง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ในปี 2560 กรมการพัฒนาชุมชน ได้มุ่งเน้นการยกระดับเศรษฐกิจฐานราก เพื่อทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยการสร้างสัมมาชีพชุมชนบนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ให้ประชาชนได้รับการพัฒนาอาชีพและมีรายได้ โดยให้ชาวบ้านสอนชาวบ้านในสิ่งที่เขาอยากทำ ฝึกปฏิบัติจริงให้สามารถนำไปเป็นอาชีพได้
จนพัฒนาเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับครัวเรือน และต่อยอดสู่การรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพที่มี
ความเข้มแข็งต่อไป และได้ดำเนินกิจกรรมสร้างสัมมาชีพชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ภายใต้การบูรณาการความร่วมมือของประชารัฐโดยใช้พื้นที่เป้าหมายตามพื้นที่ในความรับผิดชอบของยุทธศาสตร์ที่ 1 การส่งเสริมการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคการเกษตร
และชนบท เป็นพื้นที่ดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างสัมมาชีพชุมชน
          ในการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชน  บ้านโนนโพธิ์  หมู่ที่ 10 ตำบลรุ่งระวี อำเภอน้ำเกลี้ยง  
จังหวัดศรีสะเกษ  มีกระบวนการและขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้
          1. ขั้นเตรียมการ
          - เตรียมความพร้อมข้อมูลปราชญ์ชาวบ้านในการฝึกอบรมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน
          - การสำรวจข้อมูลปราชญ์ชาวบ้านและจัดทำทะเบียนข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน
          - คัดเลือกปราชญ์ชาวบ้านหรือผู้ประสบความสำเร็จหรือเชี่ยวชาญในอาชีพ ในหมู่บ้านเพื่อ
เตรียมเข้ารับการฝึกอบรมเป็นวิทยากรสัมมาชีพ
          - ศึกษาแนวทางการสร้างสัมมาชีพชุมชนจากเอกสารแนวทางสร้างสัมมาชีพชุมชน
 ของกรมการพัฒนาชุมชน
          - เตรียมประสานพื้นที่ดำเนินการ ประสานผู้นำชุมชนเตรียมพื้นที่ในการดำเนินการ
สร้างสัมมาชีพชุมชน
          2. ขั้นตอนดำเนินการ
           - การฝึกอบรมหลักสูตร “วิทยากรผู้นำสัมมาชีพ” ประจำปี 2560 ตามโครงการพัฒนาผู้นำสัมมาชีพ
          - แจ้งประสานปราชญ์ชาวบ้านหรือผู้ประสบความสำเร็จหรือเชี่ยวชาญในอาชีพ
                                                              - 2 -
คือนางทองแดง ผลบุญ เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตร “วิทยากรผู้นำสัมมาชีพ” ณ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนอุบลราชธานี เพื่อเพิ่มพูนทักษะด้านการถ่ายทอดความรู้และการจัดกระบวนการสัมมาชีพ และสามารถทำหน้าที่เป็น “วิทยากรสัมมาชีพชุมชน” ในระดับหมู่บ้านได้อย่างมีคุณภาพ
          - แจ้งประสานปราชญ์ชุมชนที่ผ่านการอบรมหลักสูตร “วิทยากรผู้นำสัมมาชีพ” ประจำปี 2560
ซึ่งเรียกวิทยากรผู้นำสัมมาชีพนี้ว่า “ครูใหญ่” เข้าร่วมโครงการโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับจังหวัด
          - โครงการเตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน
          - คัดเลือกปราชญ์ชุมชนเพิ่มเติมอีกหมู่บ้านละ 4 คน ซึ่งเรียกปราชญ์ชุมชนนี้ว่า“ครูน้อย”
เพื่อร่วมทำหน้าที่เป็นทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านๆ ละ 5 คน
          - คัดเลือกครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพ โดยพิจารณาจากทะเบียนครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) เป็นอันดับแรก จำนวนหมู่บ้านละ 20 คน (ครัวเรือนละ 1 คน)
          - ร่วมกับ “ครูใหญ่” ปรึกษาหารือเพื่อวางแผน ออกแบบ วิธีการจัดประชุมฯ และจัดทำเอกสาร เตรียมสื่อที่จำเป็นและเกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจกรรม
          - ดำเนินการจัดประชุมเตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน ระยะเวลา 3 วัน
                    1) วันที่ 1 สร้างความรู้ ความเข้าใจการสร้างสัมมาชีพ
                    2) วันที่ 2 เตรียมความพร้อมครัวเรือนเป้าหมายที่จะเข้ารับการอบรมอาชีพ ตามแนวทางสัมมาชีพชุมชน โดยทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านไปพบและสร้างความเข้าใจแก่ผู้แทนครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพที่จะเข้ารับการอบรมทั้ง 20 คน โดยแบ่งตามสัดส่วนของทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน 1 คน ต่อ 4 ครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพ
                   3) วันที่ 3 ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูล
ความต้องการอาชีพจากแบบความต้องการฝึกอาชีพของคนในชุมชนที่ได้สำรวจไว้แล้ว โดยจัดกลุ่มความต้องการอาชีพ โดยพิจารณาศักยภาพของชุมชน ว่าเป็นอาชีพที่จะสำเร็จได้ สามารถสร้างรายได้จริง ซึ่งต้องเชื่อมโยงกับการตลาด สอดคล้องกับความรู้ ที่ปราชญ์ชุมชนในหมู่บ้านจะถ่ายทอด หรือจากการศึกษาดูงานบ้านปราชญ์ชุมชน ในอำเภอเดียวกัน หรือมีแหล่งเรียนรู้ที่สะดวกต่อการเรียนรู้
          - โครงการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน ส่งเสริมและสนับสนุนการส่งเสริม
การสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้
                   1) วันที่ 1 - 3 ดำเนินการฝึกอบรมความรู้ทางวิชาการ/ทฤษฎีที่ต้องรู้เกี่ยวกับอาชีพ และ
                                                                - 3 -
สาธิตหรือฝึกปฏิบัติเบื้องต้นตามความเหมาะสม  ของแต่ละประเภทอาชีพให้กับผู้แทนครัวเรือนเป้าหมาย
                   2) วันที่ 4 ศึกษาดูงานเพิ่มพูนความรู้ด้านอาชีพ  ณ ศูนย์เรียนรู้ชุมชนบ้านโนนไชยงาม
                   3) วันที่ 5 ดำเนินการฝึกปฏิบัติอาชีพ คือการปลูกหน่อไม้ผรั่ง  ณ สวนของปราชญ์ชุมชน
โดยมีทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน ติดตามเป็นพี่เลี้ยงในการฝึกปฏิบัติ
          - สนับสนุนทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน ดำเนินการส่งเสริมให้ครัวเรือนนำอาชีพ
ที่ได้ฝึกปฏิบัติไปประกอบอาชีพหรือพัฒนาอาชีพ ให้ก่อเกิดเป็นอาชีพและมีรายได้หรือลดรายจ่ายได้อย่างต่อเนื่อง และรายงานผลการประกอบอาชีพตามแบบฟอร์มการติดตามครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน
          - ถอดองค์ความรู้ปราชญ์ชุมชน และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านทาง Facebook / เว็บไซต์สัมมาชีพ        3. ติดตามผลการดำเนินงาน
          4. สรุปและประเมินผลการดำเนินงาน

 

วัตถุประสงค์ ->

1. สร้างการรับรู้การดำเนินงานโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชนแก่ประชาชนในหมู่บ้านเป้าหมาย
ผ่านเวทีประชาคมของกิจกรรมพัฒนาชุมชน และผ่านทางผู้นำชุมชน บอกเล่าปากต่อปาก
          2. ใช้กระบวนการ “ชาวบ้านสอนชาวบ้าน” และยึดหลักการทรงงาน “ระเบิดจากข้างใน”
ให้ชาวบ้านสอนชาวบ้านกันเองในสิ่งที่เขาอยากรู้ ในสิ่งที่เขาต้องการและอยากจะทำ ลงมือปฏิบัติเอง
โดยยึดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางปฏิบัติ
          3. ดึงผู้นำชุมชน คณะกรรมการหมู่บ้าน เข้าร่วมสังเกตการณ์ในการจัดกิจกรรมตามโครงการ

 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. การคัดเลือกผู้นำวิทยากรสัมมาชีพชุมชนและทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนที่เข้มแข็ง เป็นผู้นำ
มีจิตอาสา มีความรู้ความสามารถและทักษะในการถ่ายทอดความรู้  เป็นผู้มีความใผ่รู้ มีการสืบค้นความรู้เพิ่มเติมจากอินเทอร์เน็ตแล้วนำมาถ่ายทอดแก่ครัวเรือนสัมมาชีพ
          2. การคัดเลือกครัวเรือนสัมมาชีพที่สมัครใจมีความพร้อม และความตั้งใจจริงในการฝึกอาชีพ
          3. การได้รับสนับสนุนจากผู้นำชุมชน และให้ความสำคัญในการดำเนินการตามโครงการ
          4. ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน ให้ความสำคัญ เอาใจใส่และรับผิดชอบการดำเนินการตามโครงการ
          5. อาชีพที่ชุมชนเลือก เป็นอาชีพที่เกิดจากความต้องการของชุมชนเอง
          6. ครัวเรือนที่ร่วมโครงการมีความกระตือรือร้นอยากเรียนรู้ และศรัทธาในทีมวิทยากร
          7. ทีมวิทยากรสัมมาชีพ เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนและเครือข่ายติดตามสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา