เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

แจกันเถาวัลย์ (สามขา)

โดย : นายราวี เ กษี ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-28-20:38:00

ที่อยู่ : 26 ม. 5 ตำบลรุ่งระวี

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

พื้นที่บ้านหนองพะแนง  ตั้งอยู่ใกล้ลำห้วย   ป่าสนสองใบ  จึงมีเครือเถาวัลย์อยู่มากเป็นพืชที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ  ชอบขึ้นในที่ลุ่ม  ป่าชุ่มชื้น   บรรพบุรุษดั้งเดิมจะใช้เครือเถาวัลย์มาสานกับไม้ไผ่ทำเป็นที่ดักปลา   กั้นน้ำ  กระด้งใส่ข้าว  ตระกร้า  เอาไว้ใช้  ราษฎรในหมู่บ้านหนองพะแนง  หลังฤดูเก็บเกี่ยว  จะมีอาชีพเสริม  คือ  การเก็บเครือเถาวัลย์ไปจำหน่าย  หรือมีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อเครือเถาวัลย์ในหมู่บ้านเป็นจำนวนมากต่อมา  มีแนวความคิดว่าน่าจะมีการนำเครือเถาวัลย์มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ขายน่าจะได้ราคาดี  จึงได้มีการรวมกลุ่มกันจัดตั้งกลุ่มอาชีพผลิตผลิตภัณฑ์จากเครือเถาวัลย์ขึ้น

วัตถุประสงค์ ->

1.นำเถาวัลย์มาต้มและปลอกเปลือกออก

2.  นำเถาวัลย์แช่น้ำให้อ่อน

3.นำกระบอกไม้ไผ่ที่ตัดแล้วยาว 12   นิ้วศูนย์กลาง  1  นิ้ว  เอาไปแช่น้ำยากันเชื้อรา

4.  นำเถาวัลย์มาพันเข้ากันกับไม้ไผ่

                5.  นำวัสดุคือ  ไม้  ประกอบเข้า  3   ตัวเพื่อทำเป็นขาแจกัน

6.  นำเถาวัลย์แต่งพันกับขาแจกันให้เป็นลวดลาย

7.  นำแจกันย้อมสีตามที่ต้องการและทาแล็คเกอร์

8.  นำไปตากแดดให้แห้งก่อนจำหน่าย

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อดทน  มีความรู้ด้านการผลิต  ออกแบบ ริเริ่มสร้างสรรค์  อยู่ตลอดเวลา

อุปกรณ์ ->

-ขณะที่ทาสี และพ่นแล็คเกอร์ควรสวมถุงมือ และผ้าปิดจมูก

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. การคัดเลือกเถาวัลย์มาทำควรเลือกเถาวัลย์ที่แก่  เพราะถ้าใช้เถาวัลย์อ่อนจะทำให้แตกง่าย

2. เถาวัลย์ที่มีคุณภาพจะเป็นเถาวัลย์ที่เกิดในป่าชุ่มชื้น

3.  เครือเถาวัลย์ที่อ่อนเหมาะที่จะนำมาทำตระกร้า

4. เครือเถาวัลย์ที่จะย้อมสีสวยต้องเป็นเครือที่แก่  สามารถเก็บไว้ได้นาน

5. การลงสารเคลือบเงาต้องนำไปแช่น้ำยา  ๒-๓   รอบ  เพื่อป้องกันเชื้อรา  มอด   แมลง

6. การลงสารเคลือบเงาและย้อมสีควรทำในวันที่มีแดดมากๆ

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา