เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคการสร้างสัมมาชีพชุมชนสู่กลุ่มอาชีพที่สร้างรายได้ให้คนในชุมชน

โดย : นางสาวผกาวัน อุปชา ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-27-20:40:56

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ปัจจุบันนี้สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพของประชาชนภาคการเกษตรในชุมชนมีภาวะความเสี่ยงของอาชีพภาคเกษตรกรรมที่เกิดจากการประกอบอาชีพแบบดั้งเดิม เช่น ปลูกพืชเชิงเดี่ยว โรคพืช ราคาผลผลิตตกต่ำ การไม่มีอาชีพหรือรายได้เสริม หลังฤดูการผลิตและยังมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มอาชีพค่อนข้างน้อย ส่วนกลุ่มอาชีพที่มีอยู่ยังไม่ได้รับการส่งเสริม และพัฒนาอย่างเพียงพอ ส่งผลให้ประชาชนต้องเคลื่อนย้ายไปประกอบอาชีพในเมือง และมีส่วนราชการที่มีสถานที่หรือศูนย์ฝึกอบรมซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนเป็นศูนย์ฝึกอาชีพ/แหล่งเรียนรู้การประกอบอาชีพได้ แต่ไม่ได้ใช้ประโยชน์เท่าที่ควร ประกอบกับมีปราชญ์ชุมชนด้านอาชีพที่เชี่ยวชาญและประสบผลสำเร็จในการประกอบอาชีพด้านต่าง ๆ อยู่ในหมู่บ้าน/ชุมชน แต่มีส่วนน้อยที่สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นนำไปทำตามให้สำเร็จได้ ดังนั้นด้วยเหตุปัจจัยดังกล่าวข้างต้น การดำเนินการในปี 2560 นี้ จึงมุ่งเน้นที่การยกระดับเศรษฐกิจฐานราก นั่นคือ “รายได้” ที่ต้องทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยการสร้างอาชีพจึงเป็นที่มาของ “สัมมาชีพชุมชน” ซึ่งกำหนดแผนการสร้างสัมมาชีพชุมชนบนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่มีเป้าหมาย คือ ประชาชนได้รับการพัฒนาอาชีพและมีรายได้ โดยให้ชาวบ้านสอนชาวบ้านในสิ่งที่เขาอยากทำ ฝึกปฏิบัติจริงให้สามารถนำไปเป็นอาชีพได้เพราะข้อเท็จจริงในทุกพื้นที่จะมีคนเก่งในแต่ละอาชีพอยู่แล้ว เช่น ทำนาได้ผลผลิตสูง ทำสวนเก่ง หรือทางช่างแกะสลัก และการแปรรูปอื่นๆ ซึ่งจะคัดเลือกและจัดเวทีฝึกทักษะการสอนการนำเสนอให้กับคนเก่งเหล่านี้ ยกให้เป็น “วิทยากรสัมมาชีพชุมชน” หลังจากนั้นกลับไปสร้างทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านเพิ่มเติมอีกหมู่บ้านละ4 คน แล้วเปิดรับลูกศิษย์ที่สนใจอยากฝึกอาชีพในแต่ละประเภทอาชีพหมู่บ้านละ 20 คน เมื่อผ่านการฝึกปฏิบัติแล้วขั้นพื้นฐานที่สุดก็จะสามารถสร้างอาชีพบนฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสร้างรายได้เลี้ยงตนเองและครอบครัวได้ ขณะที่ส่วนหนึ่งมีความก้าวหน้าก็จะมีแหล่งทุนสนับสนุนต่อยอดอาชีพสร้างผลผลิต สร้างผลิตภัณฑ์ขึ้นมาเข้าสู่ระบบ OTOP เพื่อขยายตลาดในวงกว้างต่อไปดังนั้น จึงได้กำหนดดำเนินกิจกรรมสร้างสัมมาชีพชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ภายใต้การบูรณาการความร่วมมือของประชารัฐโดยใช้พื้นที่เป้าหมายตามพื้นที่ในความรับผิดชอบของยุทธศาสตร์ที่ 1 การส่งเสริมการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคการเกษตรและชนบท เป็นพื้นที่ดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนให้ครัวเรือนในหมู่บ้านเป้าหมายดังกล่าวมีโอกาสในการเรียนรู้และพัฒนาอาชีพให้เกิดสัมมาชีพชุมชนเพื่อสร้างรายได้ ที่ส่งผลให้เศรษฐกิจฐานรากเติบโตไปได้อย่างมีคุณภาพต่อไป

 

 

 

วัตถุประสงค์ ->

          กระบวนการแรกเลยในการพัฒนาในด้านต่างๆ คือหลักการมีส่วนร่วม เป็นผลมาจากการเห็นพ้องกันในเรื่องของความต้องการและทิศทางของการเปลี่ยนแปลง การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ชุมชนเกิดการพัฒนา สิ่งเหล่านี้จึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่ต้องใช้ในงานพัฒนาชุมชน และคนก็มีส่วนสำคัญที่สุด เพราะคนคือตัวแปรสำคัญ คนเป็นศูนย์กลาฃหลักในการพัฒนาที่จะทำให้ชุมชนมีการพัฒนาไปในทางที่ดี การมีส่วนร่วมจึงจึงเป็นหัวใจของการพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นโครงการอะไรต้องยึดการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชน

ดังนั้นการที่จะเสริมสร้างสัมมาชีพชุมชนให้ก้าวสู่กลุ่มอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนโดยเริ่มจากทำให้ทุกคนเห็นความสำคัญของโครงการ ที่มาและที่ไปรวมถึงกระบวนการในการดำเนินโครงการ ต้องสร้างความรู้ความเข้าใจให้คนในชุมชนอย่างจริงจังและจริงใจ กระตุ้นให้ชาวบ้านมีส่วนร่วม ที่จะคิด จะทำ แล้วสุดท้ายเป้าหมายที่ชุมชนจะได้รับประโยชน์

เทคนิค/วิธิการ

1.การที่อยากจะได้ใจคนเราต้องให้ใจเขาก่อน พัฒนากรงานหลักเลยคือการลงพื้นที่ แต่การลงพื้นที่ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน แต่สำหรับการลงพื้นที่ของข้าพเจ้าแต่ละครั้งเราจะต้องได้ใจพี่น้องในชุมชนไม่มากก็น้อย ไม่ใช่แค่การลงไปตามงาน แต่การที่จะได้ใจเขา คือการที่เราจะต้องพูดคุย สร้างปฏิสัมพันธ์ รับฟังความคิด ความเห็นของเขา โดยใช้หลักการเป็นผู้ฟังที่ดี

2.ใช้เทคนิคการโน้มน้าวจิตใจ หากข้อที่1 เราทำได้ดีแล้ว เราจะสามารถใช้เทคนิคการโน้มน้าวจิตใจ ชักชวนเขาทำในสิ่งที่เขาจะได้รับประโยชน์ เพราะเขาจะเปิดใจและรับฟังเรามากขึ้น หากทุกคนเปิดใจ เราต้องสร้างความรู้ความเข้าใจให้เขาอย่างถ่องแท้ เพราะคนเราถ้ามีความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่จะทำ คนนั้นย่อมมีความมั่นใจ และทำอะไรได้ประสบผลสำเร็จ

3.เทคนิคต่อมาที่ใช้ได้ผลกับทุกงาน คือการสร้างรอยยิ้มและเสียงหัวเราะระหว่างการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการประชุม การชี้แจง การอบรม รวมถึงการลงมือปฏิบัติ พัฒนากรสามารถเป็นตัวสร้างรอยยิ้มและเสียงหัวเราะให้กับพี่น้องในชุมชนได้ทุกเมื่อ โดยเป็นเทคนิคที่ไม่ต้องสิ้นเปลืองเงินทองอะไร เพียงแค่เรามีใจที่อยากจจะสร้างให้กับชุมชน

4.เทคนิคสุดท้าย คือการสร้างความเชื่อมั่นให้กับคนในชุมชน ทุกคนมีศักดิ์ศรี มีความสามารถ และความสามารถของคนพัฒนาได้ โดยยึดกระบวนการมีส่วนร่วม ร่วมกันคิด ร่วมกันทำ และร่วมกันรับประโยชน์ หากเป็นความต้องการร่วมกันแล้ว ไม่ว่าจะทำอาชีพอะไรก็จะสามารถสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนได้ 

ข้อพึงระวัง คือพัฒนากรจะต้องไม่ทอดทิ้ง ต้องติดตาม สนับสนุน ให้คำปรึกษาอยู่ข้างๆพี่น้องเสมอ ถึงแม้จะให้ชุมชนดำเนินการเอง สอนกันเอง ทำกันเอง แต่สำหรับพัฒนากรแล้วไม่ควรที่จะวางเฉย อย่างน้อยสิ่งที่เราจะช่วยได้ไม่มากก็น้อย คือกำลังใจ คำติชม

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.วิทยากรเป็นคนในชุมชนที่คนในชุมชนคัดเลือก และให้ความไว้วางใจ

          2.มีการทำงานกันเป็นทีม

          3.เป็นอาชีพที่มาจากความต้องการของคนในชุมชนเอง

          4.พัฒนากรเป็นพี่เลี้ยงอย่างใกล้ชิด

อุปกรณ์ ->

1.ชุมชนมีความเข้มแข็ง เพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาตนเองมากขึ้น

2.เกิดการรวมกลุ่มกันขึ้น สร้างงาน สร้างรายได้ให้คนในชุมชน

3.มีกลุ่มอาชีพที่สามารถต่อยอดไปสู่ OTOP

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา