เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน

โดย : นายสุวิน พิมมาศ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-27-20:25:20

ที่อยู่ : สนง.พัฒนาชุมชนอำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

      นโยบายของรัฐบาล ภายใต้การนำของพลเอกประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้กำหนดให้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) โดยกำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศ สู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 มุ่งเน้นให้ทุกภาคส่วนได้บูรณาการการสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม (โดยเฉพาะในภาคการเกษตรและชนบท เป็นการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับปากท้องและความเป็นอยู่โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจฐานรากของประชาชน) ซึ่งเป็น 1 ใน 10 ยุทธศาสตร์  ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้มอบหมายให้

กรมการพัฒนาชุมชน เป็นหน่วยงานหลักในการบูรณาการไปสู่การปฏิบัติให้เกิดเป็นรูปธรรมในพื้นที่เป้าหมาย (จากพื้นฐานหมู่บ้านที่มีความพร้อมและมีโครงการที่เคยขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆในระดับหนึ่ง แล้ว)

      จากการวิเคราะห์ปัญหาจากเวทีที่ 1 จากข้อมูลที่จัดเก็บและการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อส่งเสริมอาชีพจะพบว่าการประกอบอาชีพของพี่น้องในภาคเกษตรในชุมชน  มีปัจจัยความเสี่ยงที่เกิดจากการประกอบอาชีพแบบดังเดิม ไม่มีอาชีพหรือรายได้เสริมหลังฤดูเก็บเกี่ยว มีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มหรือมีความรู้ในการบริหารจัดการกลุ่ม หรือแม้แต่การจัดทำบัญชีครัวเรือนแบบง่ายๆ หรือทำแล้วเกิดปัญหาไม่สามารถหาออกได้หรือมีแต่ไม่ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาอย่างต่อเนื่องและเพียงพอ หรือแม้แต่ศูนย์เรียนรู้ ศูนย์สาธิต ศูนย์ฝึกอาชีพที่มีอยู่ ก็ไม่สามารถที่สนองตอบต่อความต้องการของพี่น้องประชาชนได้ โดยเราลืมไปว่า เรายังมีองค์ความรู้ ภูมิปัญญาของปราชญ์ชาวบ้านที่น่าจะสนองตอบต่อความต้องการได้ โดยต้องการลบคติที่ว่า “ใกล้เกลือ กินด่าง”

     ตามแนวทางการดำเนินงานของกรมฯและนำไปสู่แผนการปฏิบัติงานในพื้นที่เน้นการยกระดับความเป็นอยู่ เพื่อทำให้ครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้น  3  เปอร์เซ็นต์  โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการเสริมสร้างสัมมาชีพชุมชน อันจะเป็นการสนองตอบต่อหลักการของสัมมาชีพชุมชน คือ เป็นอาชีพที่สุจริต ไม่เบียดเบียนตนเอง ไม่เบียดเบียนสิ่งแวดล้อม ไม่เบียดสังคม ให้ชาวบ้าน (ปราชญ์ชาวบ้าน) สอนชาวบ้านในสิ่งที่เขาอยากรู้ อยากฝึก อยากทำ  ปฏิบัติจริง โดยมีพัฒนาการอำเภอ พัฒนากรผู้ประสานงาน ทีมสนับสนุนการขับเคลื่อนสัมมาชีพระดับอำเภอ (กลุ่ม องค์กรเครือข่าย) เป็นพี่เลี้ยง ทำให้อาชีพที่เลือกสามารถนำไปประกอบอาชีพได้ ทั้งอาจจะเป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริมได้  ตลอดจนสามารถรวมกลุ่มการผลิต ผลิตภัณฑ์หมู่บ้านชุมชน สู่หนึ่งตำบล  หนึ่งผลิตภัณฑ์ ( OTOP) ได้ เพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็งต่อไป

วัตถุประสงค์ ->

    4.1 กระบวนการ

         4.1.1 การพัฒนาทักษะการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับปราชญ์ชุมชน วิทยากรผู้นำสัมมาชีพ (ครูใหญ่ ) และครูน้อย ๔ คน รวมทั้งสิ้นหมู่บ้านละ 5 คน  ได้สร้างทีมและเตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน เสร็จแล้ว ได้คัดเลือกครัวเรือนสัมมาชีพหมู่บ้านละ  20 คนเป้าหมายตามแนวทางของกรมฯ

         4.1.2 ร่วมกับ “ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน (ครูใหญ่ ครูน้อย) ” ร่วมสังเคราะห์ข้อมูลอาชีพ รวมถึงทักษะพื้นฐาน ซึ่งเป็นต้นทุนที่มีความจำเป็นมากในเบื้องต้น

         4.1.3 ร่วมกับ “ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน”ดำเนินการฝึกอาชีพอบรมพัฒนาความรู้ และเสริมสร้างทักษะการพัฒนาอาชีพตามความต้องการของครัวเรือน ให้แก่ผู้แทนครัวเรือนเป้าหมาย จานวน 20 คน ระยะเวลา 5 วัน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

6. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

        6.1  มีศูนย์เรียนรู้การเลี้ยงไส้เดือนดิน ในเขตอำเภอขุนหาญ (นำร่อง) ชุมชนเกิดความภาคภูมิใจในแนวทางสัมมาชีพชุมชน

        6.2  ชุมชนมีความภาคภูมิใจและได้ตระหนักถึงความสำคัญของหมู่บ้านชุมชนที่ทางราชการโดยสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอขุนหาญ ที่ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ

        6.3  ทีมงานสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ ทีมงานสนับสนุนการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชนในระดับอำเภอ พัฒนากรผู้ประสานงานตำบลได้ร่วมกิจกรรมในทุกขั้นตอนและกระบวนการจนเสร็จสิ้นเรียบร้อย

        6.4  ความรัก ความสามัคคีของหมู่บ้านชุมชน อันจะก่อให้เกิดเป็นพลังชุมชนในการพัฒนาชุมชนต่อไป

อุปกรณ์ ->

การดำเนินงานสัมมาชีพชุมชน เป็นงานที่ท้าทายพัฒนากร การให้การส่งเสริม สนับสนุนต้องมีความอดทนและอดกลั้น เพ่ือวางรากฐานงานสัมมาชีพชุมชนให้ติดเทรนด์เคียงข้างพี่น้องประชาชนต่อไป

กระบวนการ/ขั้นตอน->

     4.2 เทคนิค

4.2.1  ใช้เทคนิค สร้างแรงจูงใจ  คิดเชิงสร้างสรรค์ (คิดบวก) มองอนาคตให้ไกลแล้วก้าวไปให้ถึง

4.2.2  ใช้หลักการมีส่วนร่วม  ร่วมคิด  แนะนำ  เป็นผู้เอื้อ และกระตุ้นให้เกิดการอยากรู้ อยากเห็นความสำเร็จ

. ผลงานการสร้างสัมมาชีพชุมชนบ้านตาเส็ด (เลี้ยงไส้เดือนดินพันธุ์ AF- african night crawler)

         5.1 บ้านตาเส็ด  หมู่ที่ 6  ตำบลบักดอง  สามารถตั้งกลุ่มเลี้ยงไส้เดือนดิน ซึ่งเป็นนวัตกรรมสมัยใหม่

ส่งผลให้ครัวเรือนมีปุ๋ยจากไส้เดือน นำมาใช้ในครัวเรือนใส่พืชผักสวนครัว นาข้าวพืชไร่ เป็นการลดรายจ่าย  สามารถต่อยอดไปสู่ครัวเรือนอื่นๆในหมู่บ้านได้

        5.2 บ้านตาเส็ด   หมู่ที่ 6  ตำบลบักดอง  มีทุนเดิมอยู่แล้วคือการดำเนินงานจากงบประมาณของโครงการ 365 วันศรีสะเกษพัฒนา ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และบ้านสวย  เมืองสุข  โดยมุ่งเน้นการนำนวัตกรรมใหม่ๆเข้ามาดำเนินการ โดยเน้นที่การใช้ในครัวเรือนและเมื่อประสบความสำเร็จแล้ว สามารถต่อยอดสู่การจำหน่าย การค้าขาย ขยายผลต่อไป

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา