เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

บทบาทพัฒนากรกับเทคนิคการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน

โดย : นางยุภาวดี เนื้อทอง ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-27-18:51:40

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอขุนหาญ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

กรมการพัฒนาชุมชน มีภารกิจสำคัญที่ต้องขับเคลื่อนตามนโยบายรัฐบาลและนโยบายของกระทรวงมหาดไทย  เพื่อส่งผลประโยชน์ให้กับประชาชน ซึ่งต้องทำงานแข่งขันกับเวลา  เทคโนโลยี  และสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว  โดยทำงานให้มีระบบ มีเป้าหมายที่ชัดเจน  ลดขั้นตอนการทำงาน  เพื่อให้พัฒนากรทำงานได้ง่ายขึ้น เร็วขึ้น  และเห็นผลเป็นรูปธรรม

          กรมการพัฒนาชุมชน กำหนดวาระกรมการพัฒนาชุมชน ในปีงบประมาณ ๒๕๖๐ (CDD Agenda 2017)  ขึ้น  จำนวน  ๘  ปัจจัย สำคัญ   ประกอบด้วย   ปัจจัยขับเคลื่อน ๓    ปัจจัย คือ  ๑) การพัฒนาอาชีพครัวเรือน ๒)  หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ OTOP  ๓)  เศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ    และปัจจัยสนับสนุน  ๕  ปัจจัย  คือ   ๑) ส่งเสริมองค์กรธรรมาภิบาล   ๒) พัฒนาบุคลากรและผู้นำ  ๓)พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ และจัดการความรู้   ๔) พัฒนากระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วม   ๕) กองทุนหนุนเสริมอาชีพครัวเรือน

     การดำเนินงานภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขับเคลื่อนด้วยกลไก “ประชารัฐ”  อันเป็นปัจจัยหนุนนำให้กรมฯ ก้าวไปสู่เป้าหมายวิสัยทัศน์ “เศรษฐกิจฐานรากมั่นคงและชุมชนพึ่งตนเองได้ภายในปี 2564”

          จากปัจจัยขับเคลื่อน : ๑ การพัฒนาอาชีพครัวเรือน ซึ่งคนในหมู่บ้าน/ชุมชน  ต้องได้รับการพัฒนาอาชีพ โดยเน้นให้ผู้นำสัมมาชีพชุมชน หรือปราชญ์ชาวบ้านเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ และให้การแนะนำช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง  พร้อมทั้งสนับสนุนให้เกิดการรวมกลุ่มอาชีพตามแนวทางสัมมาชีพ เพื่อให้ครัวเรือน ได้รับการพัฒนาอาชีพและมีรายได้เพิ่มขึ้น   ที่สามารถดำรงชีวิตที่พอเพียงตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

วัตถุประสงค์ ->

พื้นที่เป้าหมายในการดำเนินงานสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านในพื้นที่รับผิดชอบ   จำนวน  ๕  หมู่บ้าน  คือ  บ้านดู่  หมู่ที่ ๒   ตำบลขุนหาญ   บ้านระหาร  หมู่ที่ ๓   ตำบลกระหวัน  บ้านพอก หมู่ที่  ๓  ตำบลไพร   บ้านปุน  หมู่ที่ ๖   ตำบลไพร  และบ้านสนามแจ้ง  หมูที่ ๘   ตำบลไพร   อำเภอขุนหาญ  จังหวัดศรีสะเกษ  พัฒนากรในฐานะผู้ให้บริการเป็นผู้กระตุ้น ปลุกประชาชนให้ตื่น สร้างจิตสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวม  มุ่งพัฒนาคนมากกว่าพัฒนางาน โดยใช้กลไกการมีส่วนร่วมจากภาครัฐ ภาคประชาชน สังคม และภาคประชาชน ร่วมกันคิด  ร่วมกันวางแผน  ร่วมกันตันสินใจ ร่วมปฏิบัติงาน และร่วมรับผิดชอบ

                   กระบวนการ/วิธีการ

                   ๔.๑  สร้างและพัฒนาผู้นำและองค์กรขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน  โดยการคัดเลือกปราชญ์ที่มีความรู้ความสามารถถ่ายทอดได้เป็นอย่างดี ที่เรียกว่า “ครูใหญ่”  จำนวน  ๑   คน  และสร้างทีมสนับสนุน/ผู้นำชุมชนรุ่นใหม่  ที่เรียกว่า  “ครูน้อย”  จำนวน ๔  คน  รวมทั้งสิ้น  ๕   คน   เป้าหมายคือผู้นำสัมมาชีพชุมชนได้การยกระดับ “ผู้นำชุมชนต้นแบบ” ๑  หมู่บ้าน ๑  คนต้นแบบ ด้วยระบบมาตรฐานงานชุมชน  (มชช.)

                   ๔.๒  สร้างและพัฒนาเครื่องมือ/สื่อขับเคลื่อนการสร้างสัมมาชีพชุมชน โดยการใช้แผนชีวิตสร้างเป้าหมายการพัฒนาอาชีพ  หรืออาชีพเด่นของครัวเรือนที่สร้างงาน สร้างรายได้ในระดับครัวเรือน มีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ ๓  เป้าหมาย จำนวน ๒๐  คน/ครัวเรือน    และใช้แผนชุมชนในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก ระดับหมู่บ้าน  จำนวน ๑ หมู่บ้าน   เป้าหมายครัวเรือนมีอาชีพ/ผลิตภัณฑ์ใหม่  หมู่บ้านมีการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ชุมชน

                   ๔.๓  ส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชน  โดยพัฒนาอาชีพจากภูมิปัญญาหรือองค์ความรู้ที่มีอยู่ในหมู่บ้าน/ชุมชน (ปราชญ์ชุมชน)  ที่เรียกว่า “การสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น”  โดยใช้องค์ความรู้ แนวคิดคนรุ่นใหม่ มาใช้ปรับปรุงและพัฒนาอาชีพให้ดีมากยิ่งขึ้น และสามารถสร้างเครือข่ายอาชีพให้เติบโตและใช้ชีวิตอย่างมีความสุข    

                   ๔.๔  ครัวเรือน/หมู่บ้านมีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ ๓  วัดจากข้อมูลการออม และบัญชีครัวเรือน  (ข้อมูลบัญชีรับ–จ่าย) 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ตามบทบาทพัฒนากรกับเทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน  ส่งผลทำให้หมู่บ้าน/ชุมชน   ครัวเรือน ในหมู่บ้านเป้าหมายประสบผลสำเร็จ ดังนี้

             ๕.๑  มีรูปแบบและกลไกการมีส่วนร่วม “ภาคประชารัฐ” 

             ๕.๒  ผู้นำชุมชน/ปราชญ์ชุมชนมีการเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ  ประสบการณ์แนวคิดกระบวนการแก้ปัญหาการทำงานเป็นทีม การวางแผน การวิเคราะห์ และการบริหารจัดการ

             ๕.๓  มีอาชีพใหม่ “เดิมทำเพื่อกิน ปัจจุบันทำเพื่อขาย”เกิดกลุ่มอาชีพ   มีผลิตภัณฑ์ใหม่เกิดขึ้นในชุมชน สามารถนำมาลงทะเบียนหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)  สามารถแข่งขันทางการตลาดได้  และพร้อมที่จะยกระดับการพัฒนาและมาตรฐานผลิตภัณฑ์   เช่น  ผลิตภัณฑ์ปลาส้ม     ไส้กรอก    ขนมดอกจอก    หมูแดดเดียวรสเด็ด   กล้วยฉาบ   และ ผักสวนครัวปลอดสาร  เป็นต้น     

             ๕.๔  ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน ปี ๒๕๖๐  ร้อยละ ๑๐๐  ผ่านการประเมิน  โดยใช้เกณฑ์ประเมิน ๓  มี คือ  มีสัมมาชีพ มีความสัมพันธ์ที่ดี  มีสภาพแวดล้อมเหมาะสม  และ ๒ ไม่  คือ ไม่ติดยาเสพติด  ไม่มีหนี้นอกระบบ

 

อุปกรณ์ ->

-

กระบวนการ/ขั้นตอน->

-

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา