เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคการส่งเสริมการจัดตั้งกลุ่มเลี้ยงไก่ไข่เพื่อสร้างสัมมาชีพชุมชน

โดย : นายสุรัตน์ อินทร์แก้ว ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-27-08:10:04

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอห้วยทับทัน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

          การส่งเสริมการขับเคลื่อนการสร้างสัมมาชีพชุมชน โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามแผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็งของรัฐบาล ซึ่งตอบสนองนโยบายรัฐบาลเรื่อง การลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐ  โดยอำเภอห้วยทับทันกำหนดพื้นที่เป้าหมายในการดำเนินงาน จำนวน 2๖ หมู่บ้าน จากพื้นที่หมู่บ้านเป้าหมายที่ผ่านการให้การศึกษาด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การสำรวจข้อมูลและจัดเวทีประชาคมทำแผนชุมชนในปี 2559 ตามแผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคการเกษตรและชนบท (ยุทธศาสตร์ที่ 1) ซึ่งได้กำหนดกระบวนการขับเคลื่อนที่เริ่มต้นด้วยการพัฒนาทักษะการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับปราชญ์ชุมชน เพื่อให้กลับไปสร้างทีม และจัดฝึกอบรมอาชีพให้กับครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพในหมู่บ้าน โดยใช้พื้นที่ในบ้านปราชญ์ชุมชนหรือศูนย์เรียนรู้ชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ เพื่อมุ่งหมายให้ครัวเรือนที่เข้ารับการฝึกอาชีพมีความรู้ และปฏิบัติอาชีพได้จริง จนพัฒนาเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับครัวเรือน และต่อยอดสู่การรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพที่มีความเข้มแข็งต่อไป

วัตถุประสงค์ ->

     การส่งเสริมการขับเคลื่อนขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชนเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการการสร้างความรู้ให้กับประชาชนในการประกอบอาชีพเพื่อให้มีรายได้และมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น  การเลี้ยงไก่ไข่ถือว่าเป็นอาชีพที่น่าสนใจ เนื่องจากการเลี้ยงไก่ไข่ใช้พื้นที่น้อย มีความสะดวกทั้งในด้านการจัดหาลูกไก่ อาหาร อุปกรณ์การเลี้ยง วัคซีนและยารักษาโรค และยังมีการปรับปรุงพันธ์ไก่ไข่จากพันธุ์แท้เป็นลูกผสมที่ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์แท้ ทำให้สามารถผลิตไข่เพื่อบริโภคในครัวเรือนและสามารถทำรายได้ให้ครอบครัวอีกทางหนึ่งด้วย ดังนั้นการส่งเสริมการจัดตั้งกลุ่มองค์กรของชุมชน จึงเป็นแนวทางในการรวมตัวกันของประชาชน ให้มีพลังต่อรอง พลังในการจัดการด้านต่างๆ  ตั้งแต่การผลิตการตลาด โดยมีขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้

 

          (๑)การประชุมสร้างการเรียนรู้ เพื่อทบทวนสถานการณ์ ในปัจจุบันนี้สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพของประชาชนภาคการเกษตรในชุมชนมีภาวะความเสี่ยงของอาชีพภาคเกษตรกรรมที่เกิดจากการประกอบอาชีพแบบดั้งเดิม เช่น ปลูกพืชเชิงเดี่ยว โรคพืช ราคาผลผลิตตกต่ำ การไม่มีอาชีพหรือรายได้เสริม หลังฤดูการผลิตและยังมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มอาชีพค่อนข้างน้อย ส่วนกลุ่มอาชีพที่มีอยู่ยังไม่ได้รับการส่งเสริม และพัฒนาอย่างเพียงพอ ดังนั้น จึงควรให้มีการจัดตั้งและเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลุ่ม

          (๒)การจัดตั้งกลุ่มสัมมาชีพในชุมชน  โดยการเชิญหัวหน้าครัวเรือนที่มีกิจกรรม ดำเนินการในแนวทางเดียวกันได้มาพูดคุยกัน สนทนากัน เพื่อสร้างความรู้ในหลักการรวมกลุ่ม ว่าต้องมีอะไรบ้างนับตั้งแต่ การสร้างกติการ่วมกัน การจัดตั้งคณะกรรมการ การบริหารงาน การระดมกองทุนของกลุ่ม  การจัดกิจกรรมเพื่อขับเคลื่อนงานของกลุ่ม

          (๓) การให้ความรู้ในเชิงเทคนิคองค์ความรู้ให้แก่สมาชิกในกลุ่ม  ในด้านเทคนิคการเลี้ยงไก่ไข่ ทั้งระบบตั้งแต่  วิธีเริ่มต้นการเลี้ยงไก่ไข่ การให้อาหาร การจัดการโรงเรือน การจัดการรวบรวมผลผลิตของกลุ่ม และการนำไปสู่เส้นทางการตลาดของกลุ่มว่าจะมีรูปแบบการจัดการอย่างไร   โดยเป็นการทบทวนความรู้เดิมและเชิญวิทยากรจากภายนอกมาส่งเสริมสนับสนุน  ให้ความรู้ 

          (๔) การสรุปบทเรียนการทำงานของกลุ่มอย่างสม่ำเสมอ  โดย ให้กลุ่มจัดประชุมเป็นประจำทุกเดือนอย่างน้อยเดือนละ ๑  ครั้งเพื่อ ให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ การทำงานซึ่งกันและกัน ซึ่งปัจจัย

 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

                -การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
          -มีแรงจูงใจในด้านการลดรายจ่ายสร้างรายได้ ให้ครัวเรือน
          -การขับเคลื่อนกิจกรรมบนฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

อุปกรณ์ ->

          -กลุ่มควรมีการพูดคุยกันแลกเปลี่ยนร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเสริมสร้างทักษะ ความรู้ ในการบริหารจัดการให้เกิดความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา