เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การส่งเสริมกลุ่มปุ๋ยอินทรีย์บ้านแจงแมงน้อย หมู่ที่ ๗ ตำบลชำ อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ

โดย : นางชุดาณัฏฐ์ กอแก้ว นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-26-20:18:49

ที่อยู่ : สํานักงานพัฒนาชุมชนอำเภอกันทรลักษ์

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ขาพเจาไดรับคําสั่งไปปฏิบัติราชการรับผิดชอบประสานงานตำบลชำ อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ  หลังจากที่ขาพเจาไดเข้าไปปฏิบัติราชการ ก็ไดทราบว่ามีผู้นำและกลุ่มองค์กรที่มีความเข้มแข็ง มีความพร้อมที่จะพัฒนาชุมชนหรือหมู่บ้านให้มีความเจริญรุ่งเรืองและเข้มแข็งสามารถพึงตนเองได้   ตามแนวคิดแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ฉบับที่ 10)  คนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ อย่างต่อเนื่อง  และเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญในการพัฒนาชุมชน สังคม  เศรษฐกิจ  การเมือง  การปกครอง การศึกษาวัฒนธรรมอันดีงาม และคุณภาพชีวิตประชาชน  การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจ พอเพียง   เป็นงานที่สำคัญและท้าทายของหน่วยงานต่างๆ  เพราะต้องใช้กระบวนการ (Process) การพัฒนาที่ชัดเจน  ทั้งด้านข้อมูลการพัฒนาชนบท  การบูรณาการแก้ปัญหาชุมชนของทุกหน่วยงาน  และเจ้าของชุมชนหมู่บ้านร่วมดำเนินการขับเคลื่อนบ้านแจงแมงน้อย  หมู่ที่ ๗  ตำบลชำ อำเภอกันทรลักษ์  จังหวัดศรีสะเกษ จึงใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง   ในการขับเคลื่อนตามกระบวนการมีส่วนร่วมประชาชนทั้งร่วมคิด ร่วมทำ  ร่วมแก้ไขปัญหาของชุมชนเอง  เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและพึ่งตนเองของชุมชนอย่างต่อเนื่อง

ในการเข้าไปจัดเวทีประชาคมวิเคราะห์เพื่อหาจุดแข็ง,จุดอ่อน,โอกาสของหมู่บ้านรวมทั้งหาปัญหาของหมู่บ้านพบว่าบ้านแจงแมงน้อย  หมู่ที่ ๗  ตำบลชำ ทุกคนเป็นเจ้าของเพื่อแก้ไขปัญหาโดยยึดแนวทางตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตสำหรับทุกครัวเรือน  นี้คือจุดเริ่มต้นที่ต้องการแก้ไขของหมู่บ้านโดยส่วนมากไม่มีการออมเงินในลักษณะฝากเงินตามกำลังของตัวเองเป็นประจำทุกเดือน  ซึ่งจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาขาดการออม

วัตถุประสงค์ ->

กลุ่มปุ๋ยกองโตบ้านแจงแมงน้อย หมู่ที่ ๗ ตำบลชำ ได้เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ ๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ ซึ่งที่ทำการครั้งแรกอยู่ที่ที่ดินของนายวิชัย  จำปาทอง  ได้รับการสนับสนุนจากกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) โดยให้ชาวบ้านนำปุ๋ยมูลวัวมารวมกันเป็นกองใหญ่ ๆ แล้วทำการหมักด้วยน้ำจุลินทรีย์ อีเอ็ม และกากน้ำตาล ผักตบชวา จนเป็นปุ๋ยแล้วแจกจ่ายชาวบ้านกลับไปใช้ใส่ต้นไม้นานาชนิด  

          ต่อมาในปีเดียวกัน สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย(วว.) ได้มาจัดการอบรมให้กับสมาชิกกลุ่มปุ๋ยกองโตในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง อัดเม็ด และได้มอบเครื่องจักรในการผลิตปุ๋ยอัดเม็ดจำนวน ๑ ชุด ซึ่งประกอบด้วยเครื่องอัดเม็ด  เครื่องบดละเอียด เครื่องผสมและเครื่องกลับปุ๋ย ต่อมาได้ย้ายหนี้น้ำมาตั้งชั่วคราวที่บ้านนายวิชัย  จำปาทอง แต่มีปัญหาสถานที่แคบเกินไปและใกล้ชุมชนไม่เหมาะในการที่ผลิตปุ๋ย

           

 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

การบริหารงานของกลุ่มปุ๋ยกองโต บ้านสำโรงเก่า ได้ยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในการบริหารจัดการของกลุ่มฯทำให้เกิดการเรียนรู้สามารถแก้ไขปัญหาได้ในระดับหนึ่ง ภายใต้ความซื่อสัตย์ ความขยัน อดทน และเพื่อช่วยลดต้นทุนสำหรับผู้ใช้ปุ๋ย   ปัจจุบันการมีสมาชิกและลูกค้าขยายวงกว้างตามลำดับ   

                   การจัดทำเอกสารหลักฐานทางบัญชี  มีการมอบหมายงานแก่คณะกรรมการในการจัดทำบัญชีอย่างเป็นระบบตามหลักการบัญชี ได้รับคำแนะนำจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรร่วมกับเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนในการจัดทำ เช่น บัญชีเงินสด  บัญชีรายรับ บัญชีรายจ่าย บัญชีเงินฝากธนาคาร และทะเบียนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยได้กำหนดบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการไว้ในระเบียบข้อบังคับของกลุ่มฯ อย่างชัดเจน 

                   ทุกสิ้นปีคณะกรรมการฯ จะจัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี เพื่อสรุปผลการดำเนินงานในรอบปี, ทบทวนบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการ, วาระของคณะกรรมการ, ปิดบัญชี สรุปสถานะทางการเงินและจัดสรรผลประโยชน์คืนให้สมาชิกตามระเบียบฯ ที่กำหนดไว้

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

 

๑.       ปุ๋ยกองโตสามารถบำรุงหน้าดินให้มีคุณภาพของดินกลับคืนมาในสภาพดินล้วนซุยหาเรื่องดินเสื่อมคุณภาพ  ได้ปุ๋ยในราคาย่อยเยา ลดปัญหาค่าใช้จ่ายและเวลาในการเดินทางไปซื้อปุ๋ยเพื่อการเกษตรในอำเภอขุนหาญ

๒.       เมื่อมีการประชุมใหญ่สามัญประจำปีได้จัดสรรผลกำไรจากการดำเนินงานแก่สมาชิกและชุมชนเป็นประจำทุกปี

๓.       และได้บริจาคให้แก่สาธารณะประโยชน์ในเทศกาลต่างๆ ของหมู่บ้าน

๔.     ได้จัดกิจกรรมด้านสาธารณะประโยชน์ของกลุ่ม ดูแลช่วยเหลือครอบครัวสมาชิกตั้งแต่เกิดจนตาย

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา