เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

การฟักไข่ไก่พันธุ์พื้นเมืองเพื่อขยายพันธุ์

โดย : นายสารคุณ คำมา ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-25-13:22:51

ที่อยู่ : 18/1 บ้านเหล็ก ตำบลพิมายเหนือ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การเลี้ยงไก่พันธุ์พื้นเมืองเป็นการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นมาอย่างยาวนานประกอบเป็นอาชีพที่สามารถเลี้ยงได้ง่ายต้นทุนต่ำ สามารถเป็นอาหารในครอบครัวและสร้างรายได้เสริมได้เป็นอย่างดี

วัตถุประสงค์ ->

1. เกษตรกรมีเวลาในการดูแลเอาใจใส่ต่อไก่พื้นบ้านของตนน้อยมาก ส่วนใหญ่มักเลี้ยงปล่อยไปตามยถากรรม

2. การขยายพันธุ์ของไก่พื้นบ้าน ยังต้องอาศัยวิธีตามธรรมชาติ คือแม่ไก่ฟักเอง ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่ต้องลงทุนสูง

3. เกษตรกรยังไม่สามารถที่จะจัดซื้อตู้ฟักไข่มาใช้เองได้

4. ไม่มีการคัดทิ้งลักษณะการฟัก ในทางตรงข้ามกลับคัดแต่แม่ไก่ที่ฟักไข่ดีเก็บไว้ แล้วมักคัดทิ้งไก่ที่ให้ไข่ดก แต่ฟักไข่ไม่ค่อยดี

เมื่อไก่ที่เลี้ยงอายุได้ประมาณ 7 เดือน ก็จะเริ่มให้ไข่ ผู้เลี้ยงต้องเตรียมภาชนะสำหรับให้แม่ไก่วางไข่อาจจะป็นตะกร้าแบน ๆ รองด้วยฟางข้าวเอาไปวางไว้ตรงจุดใด จุดหนึ่งที่ค่อนข้างจะมืดในคอก หรือในเล้าที่ใช้เลี้ยงไก่ ถ้าหากไม่ได้เตรียมสิ่งดังกล่าวนี้ไว้แม่ไก่จะไปไข่ตามบริเวณในซอกกองไม้ หรือบนยุ้งฉาง ซึ่งอาจทำให้หาไม่พบ และจะทำให้ไข่เน่าเสียไปได้

1. อุปกรณ์และวิธีปฏิบัติสำหรับการฟักไข่ ควรเตรียมอุปกรณ์บางชนิดที่สำคัญและจำเป็นสำหรับการฟักไข่ของแม่ไก่ เพื่อช่วยให้อัตราการฟักออกดีขึ้นดังนี้

 

1.1 เตรียมตะกร้า หรือกล่องกระดาษที่ไม่ลึกเกินไป และปูรองพื้นด้วยฟางข้าวที่สะอาดแล้วนำไปวางในมุมมืดที่อากาศสามารถ่ายเทได้สะดวก

1.2 ในระยะแรก ๆ ของการให้ไข่ ควรเก็บไข่ในตะกร้าหรือกล่องทุกวัน ในฤดูร้อนไข่ที่เก็บในฟองแรก ๆ มักฟักไม่ออกเป็นตัว ควรนำไปปรุงเป็นอาหารรับประทานดีกว่าที่จะปล่อยให้ไข่เน่าเสียโดยเปล่าประโยชน์

1.3 หลัจากเก็บไข่จากตะกร้าหรือรังไข่แล้ว ควรปิดรังไข่ในเวลากลางคืน เพื่อป้องกันไม่ให้ไก่ถ่ายมูลลงในรังซึ่งมีผลทำให้ไข่ฟักสกปรกและอาจเน่าเสียในระหว่างการฟักได้ง่าย

1.4 ถ้ามีตู้เย็น ควรเก็บไข่ฟักไว้ในตู้เย็น โดยหันเอาด้านป้านของไข่คว่ำลงและภาย ในตู้เย็นควรวางขันใส่น้ำไว้เพื่อเพิ่มความชื้นสัมพัทธ์ภายในตู้ ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้น้ำระเหยจากไข่ในปริมาณมากเกินไป

1.5 ในกรณีที่ไม่มีตู้เย็น ควรนำไข่มาวางในบริเวณร่มเย็นที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก แดดส่องไม่ถึง และเป็นบริเวณที่สะอาด โดยวางไข่เอาด้านป้านคว่ำลงไม่ควรล้างไข่ด้วยน้ำ แต่ถ้าไข่สกปรก ให้ใช้ผ้าสะอาด เช็ดบริเวณรอยเปื้อนนั้น ถ้าไข่สกปรกมาก ไม่ควรนำไปฟัก

1.6 เมื่อพบว่า แม่ไก่ให้ไข่มากพอควร และเริ่มสังเกตเห็นแม่ไก่หมอบอยู่ในรังไข่เป็นเวลานาน ๆ แล้ว ให้นำไข่ที่เก็บไว้นั้นไปให้แม่ไก่ฟัก

1.7 ในระหว่างที่แม่ไก่ฟักไข่อยู่นั้น ควรจัดเตรียมอาหารและน้ำไว้ในบริเวณใกล้ ๆ ที่แม่ไก่ฟัก เพื่อป้องกันไม่ให้แม่ไก่ทิ้งรังไข่ไปหาอาหารเป็นระยะเวลานาน ๆ

1.8 เมื่อแม่ไก่ฟักไข่ได้ประมาณ 7 วัน ควรนำไข่ฟักมาส่องดูเพื่อแยกไข่ไม่มีเชื้อหรือไข่เชื้อตาย หรือไข่เน่าออกจากรังไข่

การส่องไข่ฟัก จะสามารถเจริญเติบโตออกมาเป็นตัวได้หรือไม่โดยไม่จำเป็นต้องเคาะไข่ให้แตกทำได้โดยการส่องไข่ การส่องไข่ทำให้สามารถทราบได้ว่าถ้าไข่ฟักฟองนั้นไม่ได้รับการผสมจากตัวผู้ก็สามารถคัดแยกออกมาประกอบเป็นอาหารบริโภคได้ และยังทำให้ทราบได้ว่าไข่ฟักฟองไหนเป็นไข่เน่า เพื่อแยกทิ้งออกก่อนที่ไข่จะระเบิดภายในรัง ซึ่งจะส่งกลิ่นเหม็นมาก และยังมีผลต่อการฟักออกของไข่ฟักฟองอื่น ๆ ด้วย

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา