เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

เทคนิคการสร้างสัมมาชีพชุมชน บ้านโพธิ์สามัคคี ตำบลพิมายเหนือ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ

โดย : นายสุพัฒน์ ยงกุล ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-24-17:04:05

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอปรางค์กู่

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

รัฐบาลได้กำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดิน   ซึ่งมีนโยบายการลดความเหลื่อมล้ำของสังคมและการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐเป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญ ที่มุ่งหวังแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับปากท้องของประชาชนในระดับล่างที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ โดยมีแผนงานที่สำคัญ คือ แผนงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็ง ซึ่งได้มอบให้กระทรวงมหาดไทยที่มีกรมการพัฒนาชุมชนเป็นหน่วยงานหลักบูรณาการไปสู่การปฏิบัติ

        จากสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพของประชาชนภาคการเกษตรในชุมชนปัจจุบัน         มีภาวะความเสี่ยงของอาชีพภาคเกษตรกรรมที่เกิดจากการประกอบอาชีพแบบดั้งเดิม เช่น ปลูกพืชเชิงเดี่ยว โรคพืช ราคาผลผลิตตกต่ำ การไม่มีอาชีพหรือรายได้เสริม หลังฤดูการผลิต และยังมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มอาชีพค่อนข้างน้อย ส่วนกลุ่มอาชีพที่มีอยู่ยังไม่ได้รับการส่งเสริม และพัฒนาอย่างเพียงพอ ประกอบกับมีส่วนราชการที่มีสถานที่หรือศูนย์ฝึกอบรมซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนเป็นศูนย์ฝึกอาชีพ/แหล่งเรียนรู้การประกอบอาชีพได้ แต่ไม่ได้ใช้ประโยชน์เท่าที่ควร มีปราชญ์ชุมชนด้านอาชีพที่เชี่ยวชาญและประสบผลสำเร็จในการประกอบอาชีพด้านต่าง ๆ อยู่ในหมู่บ้าน/ชุมชน แต่มีส่วนน้อยที่สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นนำไปทำตามให้สำเร็จได้ ด้วยปัจจัยดังกล่าว จึงมีเป้าหมายในการมุ่งเน้นที่การยกระดับเศรษฐกิจฐานราก ต้องทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยการสร้างอาชีพจึงเป็นที่มาของ “สัมมาชีพชุมชน” ซึ่งกำหนดแผนการสร้างสัมมาชีพชุมชนบนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่มีเป้าหมาย คือ ประชาชนได้รับการพัฒนาอาชีพและมีรายได้ โดยให้ชาวบ้านสอนชาวบ้านในสิ่งที่เขาอยากทำ ฝึกปฏิบัติจริงให้สามารถนำไปเป็นอาชีพได้ ซึ่งจะคัดเลือกและจัดเวทีฝึกทักษะการสอนการนำเสนอให้กับคนเก่ง ยกให้เป็น “วิทยากรสัมมาชีพชุมชน” หมู่บ้านละ 1 คน หลังจากนั้นกลับไปสร้างทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านเพิ่มเติมอีกหมู่บ้านละ 4 คน แล้วเปิดรับลูกศิษย์ที่สนใจอยากฝึกอาชีพในแต่ละประเภทอาชีพหมู่บ้านละ 20 คน ขณะที่ส่วนหนึ่งมีความก้าวหน้าก็จะมีแหล่งทุนสนับสนุนต่อยอดอาชีพสร้างผลผลิต สร้างผลิตภัณฑ์ขึ้นมาเข้าสู่ระบบ OTOP เพื่อขยายตลาดในวงกว้างต่อไป

                    เมื่อกลับมามองถึงบทบาทหน้าที่ของพัฒนากรในพื้นที่ จะสามารถเข้าไปส่งเสริมสนับสนุนให้กระบวนการ “ชาวบ้านสอนชาวบ้านในสิ่งที่เขาอยากทำ ฝึกปฏิบัติจริงให้สามารถนำไปเป็นอาชีพได้” นั้น พัฒนากรในฐานะเจ้าหน้าที่คอยให้การสนับสนุนจะมีวิธีการอย่างไร ที่จะทำให้วิทยากรสัมมาชีพชุมชนเป็นกลไกลหลักในการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชน และสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของการสร้างสัมมาชีพชุมชนบนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

วัตถุประสงค์ ->

๔.๑ กระบวนการ

          พัฒนาการต้องส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน โดยมีความเชื่อขั้นพื้นฐาน 3 ประการ ของนักพัฒนา

(จิตจำนงค์ กิติกีรติ : 2532) คือ เชื่อว่า

(1) คนมีศักดิ์ศรี ความเชื่อที่ว่าชาวชุมชนมีศักดิ์ศรีเหมือนกับตัวเจ้าหน้าที่เองจะทำให้ไม่ดูถูก หมิ่นชาวชุมชน เพราะถ้าขาดความเคารพในความเป็นคนเหมือนกัน ขาดความคิดว่าชาวชุมชนถึงแม้จะจนและมีความรู้น้อย แต่มีศักดิ์ศรี เจ้าหน้าที่จะติดต่อกับชาวชุมชนด้วยวิธีการ กิริยาท่าทางที่ดูถูกดูหมิ่นและจะยัดเยียดความคิดของตนให้กับชาวชุมชน โอกาสการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงของประชาชนก็เกือบจะหมดลงไป

(2) คนมีความสามารถ ความเชื่อที่ว่าชาวชุมชนมีความสามารถ เป็นความเชื่อที่เจ้าหน้าที่สามารถพัฒนาได้ด้วยตนเอง เพราะในความเป็นจริงแล้วชาวชุมชนมีความสามารถมากภายใต้สิ่งแวดล้อมของเขา เราก็มีความสามารถในรูปแบบของเรา เป็นความสามารถคนละอย่าง

(3) ความสามารถของคนพัฒนาได้ เจ้าหน้าที่หรือนักพัฒนาจะต้องมีความเชื่อว่า ความสามารถของคนนั้นพัฒนาให้ดีขึ้นได้หรือสามารถจะพัฒนาในสิ่งที่ยังไม่มี ให้มีความสามารถได้ เพราะถ้าหากขาดความเชื่อนี้แล้ว เจ้าหน้าที่ของเราอาจจะดูหมิ่นชาวชุมชนว่าชาวบ้านก็มีความสามารถเพียงแต่เลี้ยงควายกับปลูกข้าวเท่านั้นเอง และถ้าคิดว่ากิจกรรมอย่างอื่น ๆ นั้น ชาวชุมชนไม่สามารถจะทำให้เจ้าหน้าที่ก็จะเริ่มยัดเยียดหรือดำเนินกิจกรรมด้วยตนเอง โดยขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนไป

ประกอบกับใช้ “หลักแห่งความรู้และความจริงของกระบวนการทำงานพัฒนาในชุมชน”ปรัชญาของการพัฒนาชุมชนมี 7 ประการ คือ (๑)คนเป็นทรัพยากรที่ประเสริฐ มีค่า และสำคัญที่สุด (๒)คนเป็นสัตว์โลกที่พัฒนาได้ดีที่สุด (๓)การรวมกลุ่ม (๔)ความยุติธรรม (๕)การศึกษา (๖)หลักประชาธิปไตย (๗)ความสมดุลของการพัฒนา เพื่อเป็นปรัชญาเสริมความเข้มข้นของกระบวนการสร้างสัมมาชีพชุมชน หรือกระบวนการให้ชาวบ้านสอนชาวบ้าน

       ๔.๒ เทคนิค/วิธีการ

                   การสร้างสัมมาชีพชุมชนของบ้านโพธิ์สามัคคี ตำบลพิมายเหนือ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ นอกจากการดำเนินการตามกระบวนการที่กรมการพัฒนาชุมชนให้แนวทางการดำเนินงานมา ข้าพเจ้าในฐานะเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนผู้รับผิดชอบการสนับสนุนการสร้างสัมมาชีพชุมชนของหมู่บ้านเป้าหมายดังกล่าว โดยพิจารณาจากบริบท และศักยภาพของชุมชน แล้วใช้การเสริมแรงแก่ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน ให้มีความเชื่อมั่นในตนเอง สามารถดึงศักยภาพและถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่ลูกศิษย์ 20 ครัวเรือน อย่างเต็มที่ซึ่งมีเทคนิคดังนี้

                  (1) สร้างความมั่นใจแก่ทีมวิทยากร โดยพูดให้เกียรติยกย่องให้เป็นผู้รู้ มีความสามารถเป็นบุคคลสำคัญในการขับเคลื่อนการสร้างสัมมาชีพชีพชุมชน เป็นแกนหลักในการสร้างอาชีพ และทำให้หมู่บ้านมีรายได้เพิ่มขึ้นจากอาชีพที่ต้องการ ในเวทีประชาคม(วันแรกของโครงการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน)

            (2) การพูดให้ความเชื่อมั่นกระบวนการให้ชาวบ้านสอนชาวบ้าน คำตอบอยู่ที่หมู่บ้านไม่ใช่เจ้าหน้าที่

            (3) ใช้การกำกับติดตาม ยกย่องการขับเคลื่อนกิจกรรมที่น่าสนใจ และประชาสัมพันธ์กิจกรรมเพื่อสร้างกระแสการขับเคลื่อน ทำให้เกิดกระบวนการแข่งขันระหว่างหมู่บ้าน ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ และในการประชุมระดับอำเภอ

            (4) ประสานงานกับวิทยากรสัมมาชีพชุมชนอย่างใกล้ชิด ร่วมสังเกตการณ์ และให้คำปรึกษา โดยไม่ครอบงำความคิดของชุมชน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

(1) วิทยากรสัมมาชีพชุมชนเป็นผู้ที่ได้รับเลือกและยอมรับจากเวทีประชาคมของหมู่บ้าน

          (2) ผู้นำชุมชนให้การเอาใจใส่ และให้ความสำคัญการขับเคลื่อนกิจกรรม

          (3) อาชีพที่ชุมชนเลือก เป็นอาชีพที่เกิดจากความต้องการของชุมชนเองบนพื้นฐานของความรู้ และสอดรับกับทุนที่มีในชุมชน

          (4) เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ติดตามสนับสนุนอย่างใกล้ชิดแต่ไม่ใช่ดำเนินการให้

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา