เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

KM เทคนิคการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน

โดย : นายจงศิลป์ บุตราช ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-24-13:45:48

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภออุทุมพรพิสัย

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๒ (๒๕๖๐-๒๕๖๔) กำหนดยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมลดความเหลื่อมล้ำในสังคมและรัฐบาลได้กำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินจำนวน ๑๑ ด้าน ซึ่งนโยบายการลดความเหลื่อมล้ำของสังคมและสร้างโอกาสการเข้าถึงการบริการของรัฐ เป็นหนึ่งในนโยบายหลักสำคัญที่มุ่งหวังแก้ปัญหาเกี่ยวกับปากท้องของประชาชนระดับล่าง  โดยมีแผนงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็ง  ซึ่งได้มอบให้กระทรงมหาดไทยที่มีกรมการพัฒนาชุมชนเป็นหน่วยงานหลักบูรณาการสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม

                    ในปัจจุบันสถานการณ์เกี่ยวกับการประกอบอาชีพของภาคการเกษตรในชุมชนมีภาวะความเสี่ยงสูงเกิดจากการประกอบอาชีพแบบดั้งเดิม ราคาผลผลิตตกต่ำ ไม่มีอาชีพเสริม สร้างรายได้และการรวมกลุ่มมีข้อจำกัด และกลุ่มอาชีพไม่ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาอย่างเพียงพอ ประกอบกับในหมู่บ้านมีปราชญ์ชาวบ้าน (ภูมิปัญญาท้องถิ่น) มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ประสบผลสำเร็จในการประกอบอาชีพ      แต่ขาดโอกาสการพัฒนาองค์ความรู้และขยายผลความรู้สู่การพัฒนาอาชีพ สร้างรายได้อย่างเป็นระบบ

            ด้วยปัจจัยดังกล่าว ปี ๒๕๖๐ ซึ่งมุ่งเน้นที่จะยกระดับเศรษฐกิจฐานราก นั่นคือรายได้ที่ต้องทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยการสร้างงานสร้างอาชีพสร้างรายได้อย่างเป็นรูปธรรมและมั่นคงจึงเป็นที่มาของสัมมาชีพชุมชน ซึ่งกำหนดแผนการสร้างสัมมาชีพชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่มีเป้าหมายคือประชาชนได้รับการพัฒนาอาชีพและรายได้ ๒๓,๔๘๙ หมู่บ้าน รวม ๔๗๑,๗๘๐ ครัวเรือน คิดเป็น ๒๐%  ของหมู่บ้านในประเทศ โดยให้ประชาชนในหมู่บ้านเรียนรู้สิ่งที่อยากทำ ฝึกปฏิบัติจริงให้สามารถนำไปเป็นอาชีพได้ โดยคัดเลือกปราชญ์ชาวบ้านที่มีความรู้ประสบการณ์เป็นวิทยากรสัมมาชีพชุมชนหนึ่งคนเข้าประชุมเชิงปฏิบัติการวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับเขต/จังหวัด/อำเภอ ไปสร้างวิทยากรสัมมาชีพระดับหมู่บ้านอีกจำนวน ๔ คน รวมหมู่บ้านละ ๕ คน ฝึกอาชีพที่สนใจในครัวเรือนเป้าหมายหมู่บ้านละ ๒๐ คน เมื่อครัวเรือนผ่านการฝึกปฏิบัติขั้นพื้นฐานแล้วก็สามารถสร้างอาชีพบนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสร้างผลิตภัณฑ์ขึ้นมาเข้าสู่ระบบ OTOP เพื่อขยายผลทางการตลาดให้กว้างขึ้นภายใต้การบูรณาการความร่วมมือของประชารัฐ ส่งผลให้เศรษฐกิจฐานรากเติบโตอย่างมีคุณภาพมั่นคงตลอดไป

                  อำเภออุทุมพรพิสัย มีหมู่บ้านเป้าหมายสัมมาชีพชุมชนจำนวน ๒๐ หมู่บ้าน บ้านธาตุน้อย หมู่ที่ ๑๐ ตำบลก้านเหลือง เป็นอีกหนึ่งหมู่บ้านเป้าหมายที่ดำเนินการตามแนวทางสัมมาชีพชุมชน ครบตามกระบวนการ

วัตถุประสงค์ ->

กระบวนการ/วิธีการ/เทคนิค

          เตรียมการ

          -ประชุมเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน/อบต/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

          -ประชุมแกนนำหมู่บ้าน/หัวหน้าคุ้ม

                -ประชาคมคัดเลือกวิทยากรสัมมาชีพชุมชน หมู่บ้านละ ๑ คน

          -ประชาคมคัดเลือกครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน

          -ประชุมเตรียมความพร้อมวิทยากรและครัวเรือนเป้าหมาย

          การดำเนินการ

          -ประชุมเชิงปฏิบัติการวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับเขต/จังหวัด/อำเภอ

                -ประชาคมคัดเลือกวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านๆละ ๔ คน

          -อบรมเรียนรู้ร่วมกันวิทยากรสัมมาชีพชุมชน

-การนำองค์ความรู้ของปราชญ์ชาวบ้านมาขยายผลและการเรียนรู้ร่วมกัน

          -ประชุมแกนนำหมู่บ้าน/ตัวแทนครัวเรือนกำหนดเป้าหมายการพัฒนา

          -ประชุมเชิงปฏิบัติการครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน

          -ศึกษาดูงานหมู่บ้าน/กลุ่มอาชีพต้นแบบภายในอำเภอ

          -ฝึกปฏิบัติอาชีพเป้าหมายของครัวเรือนสัมมาชีพ

                -สรุปประเมินผลการดำเนินงาน

          -การรวมและตั้งกลุ่มอาชีพ (หลัก ๔ ก)

          -กลุ่มสมัครเข้าสู่ระบบ OTOP

          -จัดทำแผนพัฒนารักษามาตรฐานกลุ่ม

          หลังดำเนินการ

          -สร้างความคุ้นเคย/มิตรภาพที่ดี

          -ขยายผลครัวเรือนต้นแบบ

          -ประสานภาคีการพัฒนาหมู่บ้าน/กลุ่มให้ได้มาตรฐาน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

บทสรุป

    ผลสำเร็จการดำเนินงานสัมมาชีพชุมชน

          -เกิดการวมกลุ่มอาชีพ

          -เข้าสู่การสมัครโอทอป

          -นำผลผลิตภัณฑ์ชุมชนมาแปรรูป

          -สร้างงานสร้างอาชีพ สร้างรายได้

          -คุณภาพชีวิตชุมชนดีขึ้น

                -มีกฎระเบียบกลุ่ม

          -ผู้นำสัมมาชีพเข้าสู่ระบบมาตรฐานงานชุมชน

ปัจจัยความสำเร็จ

          -หลักการมีส่วนร่วม (ทุกส่วนราชการ+ผู้นำชุมชน+หัวหน้าคุ้ม+ชุมชนทุกครัวเรือนได้เข้ารับการเรียนรู้ร่วมและมีส่วนร่วมด้วยกัน)

-ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตัวชี้วัด ๖X๒ (ทุกครัวเรือนมีและปฏิบัติร่วมกัน)

          -การบูรณาการทำงาน (กำหนดกรอบ แผนงานร่วม)

          -ยุทธศาสตร์การพัฒนาอำเภอ/จังหวัด/รัฐบาล

-การประชาสัมพันธ์ (การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร เป็นแรงกระตุ้นและสร้างความชื่นชม ยินดีได้)

          -การติดตามสนับสนุนองค์ความรู้ของเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน

-การกำกับ ดูแลร่วมกัน

-ความหลากหลายของวิทยากรสัมมาชีพชุมชน(มีความมุ่งมั่น เสียสละ)

-การสร้างแรงจูงใจ  (ทำให้เกิดการกระทำความดี การเชิดชูเกียรติครัวเรือนที่เป็นแบบอย่าง)

       -การสร้างความตระหนักร่วมกัน (ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ความมั่นคงการพัฒนาคุณภาพชีวิต)

 

อุปกรณ์ ->

๑.การดำเนินงานควรยึดแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

๒.วิทยากรสัมมาชีพชุมชน/ปราชญ์ชาวบ้านควรมีการขยายผล ดูแและมีหลสากหลายต่อเนื่อง

กระบวนการ/ขั้นตอน->

๑.สนับสนุนงบประมาณครัวเรือนเพิ่มเติม

๒.ปราชญ์/วิทยากรสัมมาชีพควรเตรียมความพร้อมและพัฒนาทักษะอาชีพให้มีความแตกฉาน

๓.ทีมงานพํมนาชุมชนควรสนับสนุนติดตามอย่างสมำ่เสมอต่อเนื่อง

๔.ประสานภาคีการพัฒนาสนับสนุนต่อยอดเพื่อความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา