เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคการเลี้ยงไก่พื้นบ้าน

โดย : นายสายทอง พรมพุ้ย ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-03-24-01:09:35

ที่อยู่ : 11 ม.16 ต.บัวหุ่ง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ปัจจุบันไก่พื้นบ้านได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้นมาก เพราะไก่พื้นบ้านมี เนื้อ รสชาติอร่อยและเนื้อแน่น เป็นที่ถูกปากของผู้บริโภคทั่วไป จนมีแนวโน้มว่า จะสามารถส่งเนื้อไก่พื้นบ้านออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ แต่ปัญหาคือปริมาณไก่บ้านยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ เพราะเกษตรกรส่วนมากประมาณร้อยละ 70-80 จะเลี้ยงไก่พื้นบ้านแบบหลังบ้านประมาณ 10-20 ตัวต่อครัวเรือน ซึ่งการเลี้ยงก็เป็นการเลี้ยงแบบปล่อยตามธรรมชาติ ซึ่งทำให้การเลี้ยงไม่ได้ผลเท่าที่ควร แต่หากเกษตรกรสามารถปรับใช้เทคนิคการเลี้ยงแบบเรือนโรงมาผสม ผสานกับการเลี้ยงแบบพื้นบ้านและมีการปรับปรุงพันธุ์ลูกผสมระหว่างไก่บ้านกับไก่ พันธุ์แท้แล้วย่อมส่งผลทำให้จำนวนไก่บ้านที่จะออกสู่ตลาดมีปริมาณที่สูงขึ้นอย่าง แน่นอน

                    การเลี้ยงไก่พื้นบ้านเป็นอีกอาชีพหนึ่งที่น่าสนใจและเหมาะสำหรับเลี้ยงขายเพื่อหารายได้ เป็นอาชีพเสริมที่ไม่ต้องใช้เวลาดูแลมากนัก ไม่กระทบกับงานประจำและการเลี้ยงไก่ยังเป็นการพักผ่อนได้ผ่อนคลายความเครียดจากการทำงานอีกด้วย

วัตถุประสงค์ ->

1) เพื่อใช้บริโภคในครัวเรือนและจำหน่าย

                   2) เพื่อสร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือนและใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

                   3) เพื่อสร้างกลุ่มอาชีพให้เข้มแข็ง

1) หลังจากที่สร้างโรงเรือน และมีแม่พันธุ์ไก่ที่พร้อมฟักไข่แล้ว ผู้เลี้ยงต้องจัดระบบการเลี้ยง

ให้ดีโดยขั้นตอนแรกคือการให้อาหาร ซึ่งควรซื้อหัวอาหารเพื่อเอามาผสมกับอาหารที่ผู้เลี้ยงมีอยู่เช่น ผสมกับปลายข้าว หรือรำเป็นต้น อาหารผสมนี้ใช้เลี้ยงไก่โดยเฉพาะอย่างยิ่งไก่เล็ก จะทำให้ไก่ที่เลี้ยงโตเร็วและแข็งแรง

2) เสริมเปลือกหอยป่นในอาหารที่ให้ไก่กินจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องเปลือกไข่บางและปัญหาการ

จิกกินไข่ของแม่ไก่

3) นำหญ้าขนหรือพืชตระกูลถั่วบางชนิดเช่น ถั่วฮามาต้า ใบกระถิน หรือเศษใบพืชต่างๆ

เช่น ใบปอ ใบมัน เป็นต้น นำมาสับให้ไก่กินจะทำให้ไก่ได้รับไวตามินและโปรตีนเพิ่มมากขึ้น

4) ใช้แสงไฟล่อแมลงในตอนกลางคืน นำแมลงนั้นมาเป็นอาหารไก่จะทำให้ไก่ได้อาหาร

โปรตีนอีกทางหนึ่งนอกจากนี้ยังเป็นการช่วยทำลายแมลงศัตรูพืชอีกด้วย

5) นำภาชนะสำหรับใส่อาหารและน้ำโดยเฉพาะ อาจทำจากวัสดุต่าง ๆ ที่หาได้ เช่นยาง

รถยนต์ หรือไม้ไผ่ ภาชนะสำหรับให้น้ำและอาหารควรวางให้สูงระดับเดียวกับหลังของตัวไก่และใส่อาหารเพียง 1 ใน 3 ก็พอเพื่อให้หกเรี่ยราด สำหรับน้ำนั้นควรใช้น้ำที่สะอาดให้ไก่ดื่มกินตลอดเวลา ส่วนอาหารอาจจะให้เฉพาะตอนเช้า และเย็นเท่านั้น นอกเหนือจากนั้นให้ไก่หาอาหารกินเอง

                     6) สำหรับอาหารลูกไก่ ควรเป็นอาหารที่ละเอียด ย่อยง่าย และให้ทีละน้อย ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ระบบการย่อยอาหารของลูกไก่ต้องทำงานหนักเกินไป 

7) ให้อาหารเสริมเป็นพิเศษสำหรับแม่ไก่ในช่วงการให้ไข่และฟักไข่ของแม่ไก่ ซึ่งจะช่วยให้

แม่ไก่แข็งแรงไม่ทรุดโทรมเร็ว และไม่ต้องไปหากินไกล ๆ 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ขยัน อดทน สังเกตุ

อุปกรณ์ ->

๑) การใช้เศษอาหารมาเลี้ยงไก่ควรคำนึงถึงความสะอาดและสิ่งแปลกปลอมที่เป็นพิษต่อไก่

ด้วย

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1) ควรมีการคัดเลือกลักษณะไก่ที่ดีเอาไว้ทำพันธุ์ เพื่อทดแทนพ่อแม่พันธุ์รุ่น แรก ๆ อยู่ตลอดเวลา ปกติผู้เลี้ยงไก่มักจะมีการคัดเลือกลักษณะนี้ในทางกลับกัน คือ ไก่ตัวไหนที่โตเร็วแข็งแรงแทนที่จะถูกเก็บไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์ต่อไป มักจะถูกฆ่าเพื่อใช้บริโภคก่อน เหลือแต่พวกที่มีลักษณะไม่ดีไว้ทำพันธุ์ต่อไป ทำให้ ได้ลูกในรุ่น ต่อ ๆ ไปมีลักษณะเลวลง

                    2) ไม่ควรปล่อยให้พ่อพันธุ์ตัวหนึ่งตัวใดคุมฝูงนานเกินไป เนื่องจากจะทำให้ เกิดปัญหาเกี่ยวกับการผสมเลือดชืดมากขึ้น ซึ่งได้แก่ปัญหาอัตราการฟักออกเป็นตัวต่ำ ปริมาณไข่ลดลงกว่าปกติและมีอัตราการตายของลูกไก่สูงขึ้น เป็นต้น ถ้าไก่พ่อพันธุ์มีจำนวนจำกัด อาจใช้วิธีแลกเปลี่ยนพ่อพันธุ์กับเพื่อนบ้านก็ได้

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา