เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

เทคนิคการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนบ้านโพนทราย ตำบลหนองบัว อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ

โดย : นางสาวจุฑาริณี แกล้วเกษตรกรณ์ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-24-10:57:03

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอกันทรารมย์

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การส่งเสริมการขับเคลื่อนการสร้างสัมมาชีพชุมชน โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามแผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็งของรัฐบาล เป็นการดำเนินงานซึ่งตอบสนองนโยบายรัฐบาลเรื่อง การลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐ  โดยกำหนดเป้าหมายดำเนินงาน ในอำเภอกันทรารมย์ จำนวน 11 ตำบล 24 หมู่บ้าน จากพื้นที่หมู่บ้านเป้าหมายที่ผ่านการให้การศึกษาด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การสำรวจข้อมูลและจัดเวทีประชาคมทำแผนชุมชนในปี 2559 ตามแผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคการเกษตรและชนบท (ยุทธศาสตร์ที่ 1) การดำเนินงานมีการพัฒนาทักษะการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับปราชญ์ชุมชน โดยสถาบันการพัฒนาชุมชน  เพื่อให้ปราชญ์กลับไปสร้างทีมเพิ่มเติม หมู่บ้านละ 4 คน และจัดฝึกอบรมให้กับครัวเรือนที่ต้องการฝึกอาชีพในหมู่บ้าน อีก 20 คน  ใช้พื้นที่ในบ้านปราชญ์ชุมชนหรือศูนย์เรียนรู้ชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ เพื่อให้ครัวเรือนที่เข้ารับการฝึกอาชีพมีความรู้และปฏิบัติอาชีพได้จริง  จนพัฒนาเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับครัวเรือน ตามแนวทาง “สัมมาชีพชุมชน” เป็นอาชีพที่ไม่เบียดเบียนตนเอง ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เบียดเบียนสิ่งแวดล้อม      มีรายได้มากกว่ารายจ่าย และมีการต่อยอดสู่การรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพที่มีความเข้มแข็งต่อไป

บ้านโพนทราย หมู่ที่ 3 ตำบลหนองบัว เป็นหนึ่งใน 24 หมู่บ้าน ของอำเภอกันทรารมย์ ซึ่งเป็นพื้นที่เป้าหมายในการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคเกษตรและชนบท ยุทธศาสตร์ที่ 1 ในปี 2560 ที่จะต้องดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนให้ครัวเรือนมีโอกาสในการเรียนรู้และพัฒนาอาชีพให้เกิดสัมมาชีพชุมชน ข้าพเจ้าในฐานะพัฒนากรผู้ประสานงานตำบลหนองบัว ได้มีส่วนในการขับเคลื่อนและสนับสนุนการดำเนินงานดังกล่าวร่วมกับทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน โดยการใช้เทคนิคและวิธีการขับเคลื่อนที่สอดคล้องกับบริบทและศักยภาพของชุมชน  

วัตถุประสงค์ ->

กระบวนการ/วิธีการ/เทคนิค/ข้อพึงระวัง
1. กระบวนการ/วิธีการ
กระบวนการขับเคลื่อนการสร้างสัมมาชีพชุมชนในหมู่บ้านเป้าหมาย บ้านโพนทราย ตำบลหนองบัว อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ มีกระบวนการ/วิธีการดำเนินงาน ดังนี้ 
1) สร้างความรู้ ความเข้าใจกับชุมชน/หมู่บ้าน ผ่านการประชุมในวาระต่างๆ หรือเวทีประชาคม
ในหมู่บ้านเกี่ยวกับการดำเนินงานตามโครงการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน 
2) คัดเลือกปราชญ์ชุมชนเพื่อเข้าร่วมอบรมตามหลักสูตร “วิทยากรผู้นำสัมมาชีพ” ณ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนอุบลราชธานี ตามแผนการฝึกอบรมที่กรมการพัฒนาชุมชนกำหนด และเข้าร่วมโครงการประชุม    เชิงปฏิบัติการวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับจังหวัด เพื่อเพิ่มพูนทักษะด้านการถ่ายทอดความรู้และการจัดกระบวนการสัมมาชีพ สามารถกลับไปทำหน้าที่เป็น “วิทยากรสัมมาชีพชุมชน” ในระดับหมู่บ้านได้อย่างมีคุณภาพ   
3) ดำเนินการร่วมกับวิทยากรผู้นำสัมมาชีพหมู่บ้านละ 1 คน ที่ผ่านการอบรมหลักสูตร “วิทยากรผู้นำสัมมาชีพ”คัดเลือกปราชญ์ชุมชนจากฐานข้อมูลตามแบบสำรวจปราชญ์ชุมชนหรือผู้ประสบความสำเร็จในอาชีพ เพิ่มเติมอีกหมู่บ้านละ 4 คน เพื่อร่วมทำหน้าที่เป็นทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านๆ ละ 5 คน 
4) คัดเลือกครัวเรือนเป้าหมายเข้าร่วมฝึกอาชีพ จำนวน 20 ครัวเรือน โดยพิจารณาจากทะเบียนครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ก่อนเป็นอันดับแรกและจากแบบสำรวจความต้องการฝึกอาชีพของคนในชุมชนที่สมัครใจและตั้งใจฝึกอาชีพเพื่อประกอบอาชีพให้เกิดรายได้  
5) สนับสนุนให้ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน ดำเนินการจัดฝึกอบรมสัมมาชีพชุมชนแก่ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน 20 ครัวเรือน ตามแผนปฏิบัติการที่กำหนด จำนวน 5 วัน    
6) ติดตามเยี่ยมเยียน และรายงานผลการประกอบอาชีพตามแบบฟอร์มการติดตามครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน ร่วมกับทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน

2. เทคนิค
1) การคัดเลือกปราชญ์ชุมชน ให้พิจารณาจากผู้มีความรู้  มีความพร้อมที่จะเข้าร่วมในการดำเนินงานตามโครงการฯ และเมื่อเข้ารับการอบรมในหลักสูตรต่างๆ ของกรมการพัฒนาชุมชนแล้ว สามารถที่จะนำความรู้
มาถ่ายทอดให้แก่ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน ทั้ง 20 ครัวเรือนได้
2) การกระตุ้นให้ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน มีทักษะการเป็นวิทยากร และมีทักษะการถ่ายทอดองค์ความรู้โดยวิธีการสาธิต 
3) สร้างความมั่นใจและทบทวนกระบวนการสร้างสัมมาชีพชุมชนให้แก่ทีมวิทยากร และร่วมวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน เพื่อให้การดำเนินงานตามโครงการบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ 
4) การคัดเลือกและส่งเสริมอาชีพของครัวเรือนเป้าหมาย เป็นอาชีพที่เกิดจากความต้องการของชุมชนซึ่งเน้นการพัฒนาอาชีพเดิมที่มีในชุมชนเพื่อให้เกิดการสนับสนุนและต่อยอด 
5) พัฒนากรประจำตำบล ส่งเสริม สนับสนุน ติดตามและให้คำปรึกษาและร่วมขับเคลื่อนการดำเนินงานอย่างใกล้ชิด

3. ผลการดำเนินงานส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนบ้านโพนทราย
จากการดำเนินงานส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนบ้านโพนทราย ตำบลหนองบัว อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ ปรากฏผล ดังนี้
1) ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน จำนวน 5 คน ได้รับการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มพูนทักษะด้านการถ่ายทอดความรู้และการจัดกระบวนการสัมมาชีพ และสามารถทำหน้าที่เป็น “วิทยากรสัมมาชีพชุมชน”
ในระดับหมู่บ้านได้อย่างมีคุณภาพ 
2) ครัวเรือนสัมมาชีพ 20 ครัวเรือน ร่วมกันคัดเลือกกิจกรรมการปลูกกล้วยน้ำว้าและทำกล้วยฉาบ ในกิจกรรมการปลูกต้นกล้วยน้ำว้า เพื่อจะนำไปเป็นวัตถุดิบในการทำกล้วยฉาบ นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้วิธีการ ขยายพันธุ์ต้นกล้วยน้ำว้าโดยการผ่าหน่อกล้วยเพื่อเพาะชำ ในส่วนของกิจกรรมการทำกล้วยฉาบ ได้เรียนรู้เทคนิคและวิธีการผลิตให้มีคุณภาพ รสชาติอร่อย และมีการต่อยอดสู่การรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพ 
3) บ้านโพนทราย หมู่ที่ 3 ตำบลหนองบัว มีการจัดตั้งกลุ่มอาชีพทำกล้วยฉาบ และมีการหาช่องทางการตลาดที่สามารถผลิตจำหน่ายและสร้างรายได้ให้กับกลุ่มอย่างต่อเนื่อง

 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1) ทีมวิทยากรสัมมาชีพ มีความมุ่งมั่นและเอาใจใส่ในการขับเคลื่อนงานตามโครงการ
2) ความสามัคคีและการให้ความร่วมมือของครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน 20 ครัวเรือน ที่ร่วมกันขับเคลื่อนการดำเนินงานสร้างสัมมาชีพชุมชนในหมู่บ้านให้ประสบความสำเร็จ 
3) การคัดเลือกการฝึกอาชีพเป็นความต้องการของครัวเรือนสัมมาชีพ ทำให้การดำเนินงานประสบความสำเร็จ และเป็นไปด้วยความราบรื่น  
4) พัฒนากรประจำตำบล ให้คำแนะนำและสนับสนุนการดำเนินงานในทุกกระบวนการอย่างต่อเนื่อง

อุปกรณ์ ->

-

กระบวนการ/ขั้นตอน->

-

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา