เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชนในหมู่บ้านให้เป็นบรรลุผลสำเร็จ

โดย : นางนงค์รัก ภาคบุญ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-07-21-16:03:10

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอแม่เมาะ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การดำเนินงานสัมมาชีพชุมชน เป็นวาระของกรมการพัฒนาชุมชน ปี 2560 ที่ต้องขับเคลื่อนเพื่อให้บรรลุตามวิสัยทัศน์กรมการพัฒนาชุมชน "เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง ชุมชนเข้มแข็งพึ่งตนเองได้ ภายในปี 2564"  โดยกำหนดให้พื้นที่ดำเนินการขับเคลื่อน เพื่อเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพ เพื่อความอยู่เย็น เป็นสุข 

      สัมมาชีพชุมชน ที่หมายถึง อาชีพที่ไม่เบียดเบียนตนเอง ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เบียดเบียนสิ่งแวดล้อม และมีรายได้มากกว่ารายจ่าย คือชุมชนที่สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างแข็งแกร่งและมีประสิทธิภาพ โดยในการทำให้เป็นสัมมาชีพชุมชนได้นั้น จะต้องผ่านกระบวนการเป็นขั้นเป็นตอน ซึ่งมีทั้งหมด 5 โครงการหลักด้วยกัน ได้แก่ 
1.พัฒนาผู้นำสัมมาชีพเป็นวิทยากรสัมมาชีพชุมชน 23,589 คน (รุ่นละ 4 วัน)
2.ประชุมเชิงปฏิบัติการวิทยากรสัมมาชีพระดับจังหวัด 23,589 (จังหวัดละ 1 วัน)
3.เตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน 23,589 หมู่บ้านๆ ละ 5 คน (หมู่บ้านละ 3 วัน)
4.ส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน 23,589 หมู่บ้านๆ ละ 20 คน (หมู่บ้านละ 5 วัน)
5.สนับสนุนการจัดตั้งและพัฒนากลุ่มอาชีพ 2,360 กลุ่ม (กลุ่มละ 1 วัน) 
โดยทั้ง 5 โครงการที่กล่าวมาทั้งหมดคือโครงการหลักในกระบวนการสร้างสัมมาชีพชุมชน ที่พัฒนาตามเป้าหมายให้ครัวเรือนเป้าหมายภายในหมู่บ้านได้รับการพัฒนาอาชีพและมีรายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 

      อำเภอแม่เมาะ ได้รับการจัดสรรงบประมาณ จำนวน 12 หมู่บ้าน  มีวิทยากรสัมมาชีพชุมชน 12 คน  รวมทีมปราชญ์ชุมชนอีก หมู่บ้านละ 4 คน รวม 60 คน และครัวเรือนสัมมาชีพ จำนวน 240 คน

วัตถุประสงค์ ->

1. สำรวจข้อมูลของหมู่บ้านในการคัดเลือกตัวแทนปราชญ์ชุมชนของแต่ละหมู่บ้าน และคัดเลือกตัวแทน เพื่อเป็นวิทยากรสัมมาชีพ ไปอบรมเพื่อมาเป็นวิทยากรของหมู่บ้าน

2. วิทยาสัมมาชีพชุมชน ได้กลับมาคัดเลือกปราชญ์ชุมชน อีก 4 คน เพื่อเป็นทีมในการขับเคลื่อนในระดับหมู่บ้าน

3. ประชาคม คัดเลือกครัวเรือนที่มีความพร้อมและสนใจเข้าร่วมโครงการ โดยคัดเลือกจากครัวเรือนยากจน เป็นอับดับแรก  จำนวนหมู่บ้านละ 20 ครัวเรือน (ครัวเรือนละ 1 คน

4. จัดประชุม ทีมปราชญ์ เพื่อเตรียมความพร้อมในการลงขับเคลื่อนในระดับหมู่บ้าน และวิเคราะห์อาชีพของครัวเรือนที่ต้องการฝึกอบรม โดยวิทยากร 1 คน รับผิดชอบ 4 ครัวเรือน

5. ทีมปราชญ์ ลงขับเคลื่อนโครงการในระดับหมู่บ้าน โดยดำเนินการ หมู่บ้านละ 5 วัน ซึ่งมีการประชุมชี้แจง ศึกษาดูงาน และฝึกปฏิบัติ สนับสนุนวัสดุสำหรับการประกอบอาชีพ

6. ทีมปราชญ์ ติดตามผลการดำเนินงานครัวเรือน

7. สนับสนุนการจัดตั้งกลุ่มอาชีพ โดยรวมจากอาชีพเดียวกัน ประเภทเดียวกัน

 

 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. ความทุ่มเทการทำงานของเจ้าหน้าที่ และทีมวิทยากร, ปราชญ์สัมมาชีพ

2. ครัวเรือนสัมมาชีพ มีความตระหนักในการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต และพร้อมที่จะน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน 

3. มีความขยัน ตั้งใจจริง พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงตนเอง

อุปกรณ์ ->

1. ช่วงเวลาในการอบรม ซึ่งใช้เวลานานเกินไป 

2. ทีมปราชญ์ เปลี่ยนแปลง ไม่สามารถร่วมขับเคลื่อนตลอดจนจบโครงการฯทำให้ไม่ต่อเนื่อง ต้องเปลี่ยนคน

3. ความร่วมมือจากครัวเรือน ซึ่งบางครัวเรือน ใจไม่สู้ และต้องการเห็นผลเร็ว

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. ควรพิจารณาคัดเลือกหมู่บ้านที่มีความพร้อม

2. กำหนดระยะเวลาการอบรมให้เหมาะสม

3. ลดปริมาณเอกสาร รายงาน ซึ่งเสียเวลากับการจัดทำเอกสารมากเกินไป 

4. ควรให้เจ้าหน้าที่มีเวลาในการติดตาม ตรวจเยี่ยมให้กำลังใจ ทีมปราชญ์และครัวเรือน โดยลดปริมาณรายงานลง 

 

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดลำปาง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา