เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

การทอผ้า

โดย : นางอำไพ ทินวัง ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-07-20-11:46:29

ที่อยู่ : 106 หมู่ที่ 2 ต.สมัย

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

แต่เดิมทุกบ้านหลังคาเรือน จะนิยมทำผ้าฝ้าย เป็นเครื่องนอน เช่น ผ้าห่ม สะลี (ที่นอนไส้นุ่น) หรือเครื่องนุ่งห่ม เช่น เสื้อ เตี่ยว (กางเกง) ทั้งนี้ มิได้ทำเพื่อจำหน่ายกันมากนัก แต่เป็นการทำเพื่อใช้กันเองในครอบครัวมากกว่า ต่อมาความนิยมเหล่านี้ ได้เริ่มลืมเลือนหายไป ซึ่งคาดว่ามาจากสาเหตุหลักๆ เช่น ความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ ความยุ่งยากและซับซ้อนในการผลิต ซึ่งกว่าที่จะได้ผ้าฝ้ายขึ้นมาสักผืนนั้น นอกจากต้องอาศัยองค์ความรู้ต่างๆ แล้ว ยังต้องทุ่มเททั้งเวลา ความอดทน แรงกาย แรงใจ

          นับเป็นความโชคดีของตัวเอง ที่ได้มีโอกาสสัมผัสทุกขบวนการของการทำผ้าฝ้าย จากการที่ได้ติดตามคุณยายมาตั้งแต่เยาว์วัย นับเป็นเวลามากกว่า 30 ปี  องค์ความรู้และภูมิปัญญาพื้นบ้านต่างๆ ได้รับการซึมซับและถ่ายทอดมาจากคุณยาย ผสมผสานกับความรู้จากการอบรมที่หน่วยงานราชการต่างๆ ได้จัดขึ้น นำมาปรับใช้ ทั้งในขบวนการผลิตผ้าฝ้ายและตัวสินค้าสำเร็จรูปต่างๆ  และทั้งนี้ยังคงไว้ซึ่งภูมิปัญญา และความเป็นอัตลักษณ์ของท้องถิ่นที่สำคัญและโดดเด่น เช่นสีที่ใช้ย้อมจะต้องเป็นสีจากธรรมชาติเท่านั้น และลวดลายการทอที่เป็นเอกลักษณ์ประจำท้องถิ่น...

วัตถุประสงค์ ->

·       การเตรียมฝ้าย (ปลูก เก็บเกี่ยว ปั่น)

·       การย้อมสี โดยใช้วัสดุธรรมชาติที่หาได้ง่าย และมีเพียงพอในท้องถิ่น เช่นเปลือกไม้ และใบไม้จากต้นไม้ต่างๆ

·       การทอผ้า ที่ต้องอาศัยการฝึกฝน และความชำนาญ ในการใช้เครื่องทอพื้นบ้าน รวมถึงการสร้างสรรลวดลาย และการสลับสีเส้นด้ายต่างๆ บนผืนผ้า

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ความรัก ในการทำผ้าฝ้าย ทุ่มเทเวลา กำลังกาย กำลังใจ หมั่นเรียนรู้ ติดตามและนำความรู้มาทดลอง ต่อยอดหรือดัดแปลง ขยันและอดทน กล้าที่จะลองผิด ลองถูกเพื่อให้ได้สิ่งสร้างสรรค์ใหม่ๆ

อุปกรณ์ ->

-

กระบวนการ/ขั้นตอน->

-

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดลำปาง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา