เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

วิทยากรส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน

โดย : นาง ฐิติมา คล่องคำนวณการ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-07-04-19:14:03

ที่อยู่ : 121/22 หมู่ที่ 3 ตำบล ศาลา

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

                   การส่งเสริมการขับเคลื่อนการสร้างสัมมาชีพชุมชน โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดย ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐ    ซึ่งได้กำหนดกระบวนการขับเคลื่อนที่เริ่มต้นด้วยการพัฒนาทักษะการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับปราชญ์ชุมชน เพื่อให้กลับไปสร้างทีม และจัดฝึกอบรมอาชีพให้กับครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพในหมู่บ้าน  โดยใช้                       พื้นที่ในบ้านปราชญ์ชุมชนหรือศูนย์เรียนรู้ชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้  เพื่อมุ่งหมายให้ครัวเรือนที่เข้ารับการฝึกอาชีพ                 มีความรู้ และปฏิบัติอาชีพได้จริง จนพัฒนาเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับครัวเรือน และต่อยอดสู่การรวมกลุ่ม                จัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพที่มีความเข้มแข็งต่อไป

                   นโยบายดังกล่าว ทำให้การดำเนินการในปี 2560 จึงมุ่งเน้นการยกระดับเศรษฐกิจฐานราก        นั่นคือ รายได้ ที่ต้องทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยการสร้างอาชีพ จึงมีที่มาของ "สัมมาชีพชุมชน" ซึ่งกำหนดแผนการสร้างสัมมาชีพชุมชนบนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่มีเป้าหมาย คือ ประชาชนได้รับการพัฒนาอาชีพและมีรายได้ โดยให้ขาวบ้านสอนชาวบ้านในสิ่งที่เขาอยากทำ ฝึกปฏิบัติจริงให้สามารถนำไปเป็นอาชีพได้

วัตถุประสงค์ ->

                       1. คัดเลือกปราชญ์ชุมชนที่ประสบผลสำเร็จหรือมีความเชี่ยวชาญในอาชีพนั้นๆ เข้ารับการฝึก อบรมผู้นำวิทยากรสัมมาชีพที่ศูนย์ศึกษาพัฒนาชุมชน โดยคัดเลือกปราชญ์ที่มีความเป็นผู้นำ สามารถถ่ายทอดความรู้ได้เข้ารับการฝึกอบรม จำนวน 3 วัน

                    2. ส่งเสริมและสนับสนุนการประชุมเตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน

                    3. ส่งเสริมและสนับสนุนทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน จัดฝึกอบรมตามโครงการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน จำนวน 5 วัน

                    4. ติดตาม สนับสนุนครัวเรือนสัมมาชีพ และทีมวิทยากรสัมมาชีพ ได้แก่ การให้ความรู้การ             บริหารจัดการกลุ่ม การพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยมีการบูรณาการหน่วยงานต่างๆ หรือทีมปฏิบัติการตำบลเข้าร่วมโครงการ ซึ่งทีมนี้ มีส่วนช่วยในการแนะนำพัฒนาอาชีพ เทคนิคหรือความรู้ที่ดีมีประโยชน์กับการพัฒนาอาชีพครัวเรือน

                    5. ส่งเสริมการจำหน่ายและหาช่องทางการจำหน่าย เพื่อให้ครัวเรือนมีรายได้เพิ่ม สามารถ                        นำมาเป็นอาชีพเสริมของครอบครัวได้

                   6. ยกระดับสัมมาชีพชุมชนไปสู่การลงทะเบียน OTOP โดยเริ่มจากการฝึกอาชีพ มีผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ พัฒนาจนได้รูปแบบ มี่ยอดจำหน่าย และมีระบบการบริหารจัดการกลุ่มที่ดี ซึ่งเป็นการต่อยอดงานสัม                    มาชีพอีกทางหนึ่งด้วย

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

                   ๑) ใช้กระบวนการพัฒนาชุมชนโดยการให้การศึกษาแก่ชุมชน ด้วยการถ่ายทอดความรู้จากทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนสู่ครัวเรือนเป้าหมายให้เกิดความรู้ความเข้าใจ และแรงบันดาลใจในการประกอบอาชีพให้ประสบความสำเร็จ เพื่อสร้างรายได้และความเข้มแข็งจนสามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยการชี้ให้เห็นถึงความสำคัญ ของการประกอบอาชีพ  กระตุ้นให้เกิดความสนใจในการเรียนรู้ และการอธิบายให้ข้อมูลการประกอบอาชีพอย่างละเอียดในทุกขั้นตอน และการเปิดโอกาสให้มีการระดมความคิดอย่างสร้างสรรค์ และรับฟังความคิดเห็นของทุก ฝ่าย


 

                   2) การร่วมแรงร่วมใจและความสมัครสมานสามัคคีกันของคนในชุมชน
                   3) การมีผู้นำชุมชนที่มีความเข้มแข็ง มีวิสัยทัศน์ และให้การส่งเสริมสนับสนุนกระบวนการดำเนินงานทุกขั้นตอน

อุปกรณ์ ->

                     1. การคัดเลือกครัวเรือนสัมมาชีพ ที่หัวไว ใจสู้ ที่พร้อมจะดำเนินกิจกรรมไปด้วยกัน

                  2. การส่งเสริมสนับสนุนอย่างจริงของเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนที่ไปติดตาม การดำเนินงาน     โครงการอย่างใกล้ชิด ไม่ปล่อยให้หมู่บ้านดำเนินการอย่างโดดเดี่ยว

                  3. การเลือกอาชีพที่สามารถปฏิบัติได้จริง

                  4. คัดเลือกปราชญ์ชุมชนที่จะเข้าสู่กระบวนการพัฒนาและฝึกฝนทักษะการเป็นวิทยากรผู้นำสัมมาชีพชุมชนจะต้องเป็นผู้ที่มีความพร้อมและความเสียสละ

                  5. การดำเนินงานทุกขั้นตอนควรใช้ระยะเวลาที่มีความเหมาะสม

กระบวนการ/ขั้นตอน->

                   1. อาชีพที่เลือกควรมาจากความต้องการของครัวเรือน ไม่ใช่ระบุเพียงให้ผ่านๆไป ต้องเลือก ปราชญ์ชุมชนที่มีความรู้ความสามารถและความเชี่ยวชาญในการประกอบอาชีพจริงๆ

                2. ต้องมีการวิเคราะห์อาชีพเป็นอย่างดี ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูล และต้องทราบศักยภาพของตนเองจึงจะทำให้อาชีพนั้นประสบผล ไม่ใช่เป็นเพียงการอบรมให้ผ่านไปเท่านั้น  ต้องคำนึงถึงรายได้ที่จะเข้ามาสู่ครัวเรือนได้จริง

               3. การทำงานสัมมาชีพชุมชน หากไม่มีทีมวิทยากรสัมมาชีพ ที่เสียสละ มีความเป็นผู้นำ และครัวเรือนตั้งใจฝึกอาชีพเพื่อนำไปประกอบอาชีพจริงๆ คงเป็นการยากที่จะทำให้สัมมาชีพประสบผลสำเร็จ   ปราชญ์ชุมชนได้รับการพัฒนาตนเองให้มีทักษะในการเป็นวิทยากรกระบวนการจากเดิมมีกลุ่มอาชีพในหมู่บ้าน

               4. ระยะเวลาในการอบรมสำคัญ คือ ถ้าครัวเรือนมีอาชีพรับจ้าง การอบรมที่ใช้ระยะเวลานานๆ  จะทำให้เขาไม่ได้ประโยชน์ เพราะเขาต้องสูญเสียรายได้ในแต่ละวัน ครัวเรือนยากจน และครัวเรือนเป้าหมาย  จำนวน ๒๐ ครัวเรือน ในหมู่บ้านได้รับการพัฒนาและฝึกทักษะในการประกอบอาชีพ รวมทั้งได้รับการ        สนับสนุน วัสดุส่งเสริมอาชีพเพื่อนำมาต่อยอดพัฒนาการประกอบสัมมาชีพของตนเองให้มีรายได้เพิ่มขึ้น

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดลำปาง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา