เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

กระบวนการสัมมาขีพระดับหมู่บ้าน

โดย : นางอรพรณ อยู่นิยม ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-07-04-19:09:23

ที่อยู่ : 121/26 หมู่ที่ 3 ตำบล ศาลา

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ปัจจุบันนี้การประกอบอาชีพในภาคการเกษตรมีความเสี่ยงที่เกิดจากการประกอบอาชีพแบบดั้งเดิม  เช่น  ปลูกพืชเชิงเดี่ยว  โรคพืช  ราคาผลผลิตตกต่ำ  การไม่มีอาชีพหรือรายได้เสริม  กรมการพัฒนาชุมชนจึงได้กำหนดวิสัยทัศน์ “เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง ชุมชนเข้มแข็ง และพึ่งตนเองได้ ภายในปี 2564”  โดยมุ่งเน้นที่จะยกระดับเศรษฐกิจฐานราก  คือ  “รายได้” ซึ่งต้องทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นโดยการสร้างอาชีพ  จึงเป็นที่มาของ “สัมมาชีพชุมชน” ซึ่งกำหนดแผนการสร้างสัมมาชีพชุมชนบนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่มีเป้าหมาย คือ ประชาชนได้รับการพัฒนาอาชีพและมีรายได้ 

การสร้างสัมมาชีพชุมชน  เป็นกระบวนการให้ชาวบ้านสอนชาวบ้าน  เป็นการนำเอาองค์ความรู้ประสบการณ์ในการทำงานของวิทยากรสัมมาชีพแต่ละคนมาส่งเสริมและสนับสนุนให้ครัวเรือนเป้าหมาย  มีโอกาสในการเรียนรู้และพัฒนาอาชีพให้เกิดสัมมาชีพชุมชนสามารถสร้างงานสร้างรายได้ให้กับครอบครัว  และส่งผลให้เศรษฐกิจฐานรากเติบโตไปได้อย่างมีคุณภาพ

 

วัตถุประสงค์ ->

                   1. ศึกษาและทำความเข้าใจกระบวนการทำงาน               

                   2. ร่วมกับผู้นำชุมชนค้นหาปราชญ์ชุมชน หมู่บ้านละ 1 คน

                   3. ดำเนินการขับเคลื่อนโครงการฯ ตามแนวทางและกระบวนการที่กรมฯ กำหนด

                           3.1 คัดเลือกปราชญ์สัมมาชีพหมู่บ้านละ 1 คน เข้าร่วมการฝึกอบรมหลักสูตร “วิทยากรผู้นำสัมมาชีพ”  ณ  ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมขนลำปาง  จำนวน  4  วัน   และเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการวิทยากรสัมมาชีพชุมขนระดับจังหวัด  จำนวน  1  วัน

                           3.2 ปราชญ์สัมมาชีพที่ผ่านการอบรมหลักสูตร “วิทยากรผู้นำสัมมาชีพ”  คัดเลือกปราชญ์ชุมชน เพิ่มเติมอีกหมู่บ้านละ 4 คน  รวม 5 คน เพื่อร่วมทำหน้าที่วิทยาสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน

                         3.3  ดำเนินโครงการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน จำนวน  3  หมู่บ้านๆ ละ 5 วัน

                                 พัฒนาชุมชนร่วมกับทีมปราชญ์ชุมชนคัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย  ผู้แทนครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง  โดยพิจารณาจากครัวเรือนที่ตกเกณฑ์  จปฐ. ด้านรายได้เป็นอันดับแรก  หากในหมู่บ้านใดไม่มีครัวเรือนตกเกณฑ์ จปฐ. ให้พิจารณาจากครัวเรือนที่มีรายได้น้อย  และครัวเรือนที่มีความประสงค์จะเข้าร่วมโครงการ  หมู่บ้านละ 20 ครัวเรือนเพื่อเข้าร่วมกิจกรรม/โครงการฯ ดังนี้

                                 วันที่ 1-3  ปราชญ์สัมมาชีพชุมชนสร้างความรู้  ความเข้าใจ  ในเรื่องอาชีพที่ต้องการเรียนรู้  ถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ครัวเรือนเป้าหมาย  โดยการเล่าความเป็นมาของอาชีพ  อธิบายกระบวนการ  ขั้นตอนการประกอบอาชีพ  และทักษะที่เป็นนวัตกรรมในการพัฒนาอาชีพจนเกิดรายได้ให้แก่ครัวเรือน  อธิบายความสำคัญของการจัดการอาชีพเพื่อพัฒนาและสร้างรายได้

                                 วันที่ 4    ศึกษาดูงานเพิ่มพูนความรู้และสร้างแรงจูงใจด้านอาชีพ

                                 วันที่ 5    ฝึกปฏิบัติภายในครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

          การน้อมนำหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไปประยุกต์ใช้เพื่อให้ครัวเรือนสามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน

อุปกรณ์ ->

                   1. การคัดเลือกผู้นำสัมมาชีพและปราชญ์ชุมชนต้องคัดผู้ที่มีความรู้ความสามารถและประสบผลสำเร็จในการประกอบอาชีพในหมู่บ้านชุมชน

                   2. การคัดเลือกครัวเรือนเป้าหมายต้องเกิดจากความสมัครใจและตั้งใจฝึกอาชีพ

                   3. ควรมีการติดตามและสนับสนุนปราชญ์ชุมชนและครัวเรือนเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง

กระบวนการ/ขั้นตอน->

                   1. ใช้หลักการทำงานแบบบูรณาการ

                   2. ใช้หลักการมีส่วนร่วมโดยเจ้าหน้าที่จะต้องมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดลำปาง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา