เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคในการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน

โดย : นายสมพงษ์ นามสกุล หนักบุญเกิด ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-20-19:49:01

ที่อยู่ : 29/2 หมู่ 5 ต าบลบ้านปิน อ าเภอลอง จังหวัดแพร่

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

 

การส่งเสริมการขับเคลื่อนการสร้างสัมมาชีพชุมชน โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ถือว่าเป็นงานใหม่ที่ถือ
ว่ายาก และหินมากๆ ในฐานะที่เป็นอาสาพัฒนา ที่จะต้องเคียงคู่และพัฒนาหมู่บ้านสัมมาชีพไปพร้อมๆ กับปราชญ์ และ
ครัวเรือนที่เข้ารับการฝึกอาชีพ ปัญหาก็มีแต่แรกๆเลยเช่นปราชญ์แต่ละหมู่บ้านมี แต่ไม่สามารถไปอบรมด้วยตนเองได้เช่นบาง
คนติดภารกิจครอบครัว อายุเยอะมีโรคประจ าตัว หลายเหตุหลายปัจจัย จนต้องมีการไปอบรมแทนปราชญ์ตัวจริงของหมู่บ้าน
พอจบเรื่องปราชญ์ก็มาต่อที่ครัวเรือนที่จะเข้าอบรมอาชีพมีการเปลี่ยนตัวไปมาหลายรอบมากๆกว่าจะเบ็ดเสร็จท าเอา
คลื่นเหียนอาเจียนกันเลย
เนื่องจากเป็นโครงการใหม่เราจึงเก็บรายละเอียดข้อผิดพลาดระหว่างด าเนินการ มาจัดการความรู้เพื่อเป็นแนว
ทางแก้ไข และพัฒนาในการด าเนินงานเพื่อให้ปีต่อๆไปง่ายต่อการท างานยิ่งขึ้น
 

วัตถุประสงค์ ->

 

1. อันดับแรกคือจัดเวทีคัดเลือกปราชญ์ โดยคัดเลือกไว้สัก 10 คน และเลือกคัดที่เด็ดๆ เพียง 5 คน เผื่อเลือก จน
สุดท้ายได้ปราชญ์ในหมู่บ้าน 1 คนเพื่อไปอบรมฯ ที่ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนล าปาง
2. จัดท าข้อมูลปราชญ์รายบุคคล 5 คนเพื่อเป็นข้อมูลระดับหมู่บ้าน
3. ในเวทีก็ประกาศสมัครใจตัวแทนครัวเรือนเพื่ออบรมอาชีพ หรือสัมมาชีพในหมู่บ้าน และชี้แจงแนวทางขั้นตอน
เบื้องต้นว่าต้องท าอะไร และสิ่งที่ครัวเรือนสัมมาชีพจะได้ จะต้องท าเบื้องต้นให้ทราบคราวๆ
4. ประสานปราชญ์ในหมู่บ้านที่รับผิดชอบ คือหมู่ที่ 3 และ หมู่ที่ 9 ต าบลบ้านปิน เดินทางเข้ารับการฝึกอบรม
หลักสูตร “วิทยากรผู้น าสัมมาชีพ” ณ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนล าปาง เป็นเวลา 4 วัน เพื่อเพิ่มพูนทักษะด้านการ
ถ่ายทอดความรู้และการจัดกระบวนการสัมมาชีพ และสามารถกลับไปท าหน้าที่เป็น “วิทยากรสัมมาชีพชุมชน” ใน
ระดับหมู่บ้านได้อย่างมีคุณภาพ
5. ประสานปราชญ์ในหมู่บ้านที่รับผิดชอบ คือหมู่ที่ 3 และ หมู่ที่ 9 ต าบลบ้านปิน เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ
วิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับจังหวัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างทีมปราชญ์ชุมชนตามประเภทอาชีพและวางแผน
ปฏิบัติการฝึกอาชีพให้กับประชาชนในหมู่บ้าน
6. ระหว่างนี้ต้องมีการพูดคุยประสานงาน กับทีมปราชญ์เพื่อให้ปราชญ์แต่ละหมู่บ้าน คัดเลือกทีมวิทยากรของหมู่บ้าน
อีกทีมละ 4 คน โดยให้เวลาปราชญ์ไปพูดคุย และชี้แจงเบื้องต้นให้กับทีมวิทยากรทราบคร่าวๆ
7.ประสานนัดวันเวลาในการจัดประชุมเตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน โดยมีวัตถุประสงค์
เพื่อสร้างทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านให้มีความพร้อม สามารถจัดการฝึกอบรมอาชีพ ให้กับประชาชนใน
หมู่บ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ (1+4)
8. วิเคราะห์สถานการณ์ด้านอาชีพในหมู่บ้าน จุดอ่อน จุดแข็งความต้องการ และความเป็นไปได้ของอาชีพที่จะมีการ
อบรมในอนาคต เพื่อวางแผนการอบรมในระดับหมู่บ้าน วางแผนการศึกษาดูงาน
9. ค้นหาวิทยากรที่จะมาฝึกอบรม ว่าวิทยากรในหมู่บ้าน หรือ ต้องเป็นวิทยากรที่มีความเชียวชาญจากหน่วยงานอื่น
มาอบรมฝึกปฏิบัติและสาธิตในหมู่บ้าน
10. แจ้งรายละเอียดวัสดุที่ครัวเรือนสัมมาชีพต้องการในการฝึกอบรม โดยทีมวิทยากรปราชญ์ต้องไปหาครัวเรือน
สัมมาชีพอีกคนละ 4 ครัวเรือนเพื่อสมัครใจในการอบรมฝึกอาชีพในหมู่บ้าน รวมเป็นบ้านละ 20 คน
11. ทีมปราชญ์ไปหาครัวเรือนที่ต้องการฝึกอบรมอาชีพ และให้จัดท าทะเบียนข้อมูลผู้ที่มีความต้องการฝึกอาชีพไว้
เป็นหลักฐาน
12. ประสานงานการส่งเสริมและสนับสนุนการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน โดยมีวัตถุประสงค์
เพื่อส่งเสริมอาชีพตามแนวทางสัมมาชีพชุมชนแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย จ านวน 20 ครัวเรือน
13. ทีมวิทยากรหลัก ของหมู่บ้านเป็นแกนหลักในการให้ความรู้ และจัดท าข้อมูลของครัวเรือนฝึกอาชีพ 20
ครัวเรือน สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสัมมาชีพ และกิจกรรมสาธิตการเพาะเลี้ยงไส้เดือน การปักผ้าด้นผ้า เพื่อใช้
ในการต่อเชิงผ้าซิ่น
14. โดยปราชญ์ และครัวเรือนสัมมาชีพ จะต้องมีการจัดท าแบบฟอร์มการติดตามครัวเรือนสัมมาชีพ แบบประเมิน
ครัวเรือนสัมมาชีพ (ประเมินก่อนด าเนินการ ทุกครัวเรือน รวมถึงปราชญ์ด้วยโดยการประเมินตนเองก่อน)
15. ปราชญ์ และทีมวิทยากรแนะน าการท าบัญชีครัวเรือน ที่จะต้องท าในแต่ละเดือน และแบบเก็บข้อมูลสภาพ
เศรษฐกิจครัวเรือน(โดยเน้นเรื่องด้านการเกษตร ท านา ท าไรข้าวโพด มันฯ เป็นต้น) โดยเน้นย้ าให้ปราชญ์ เป็น
ผู้ติดตามการท าบัญชีครัวเรือน คือปราชญ์ 1 คนติตามครัวเรือน 4 ครัวเรือน และมีการติดตามอย่างต่อเนื่อง
16. ศึกษาดูงานสถานที่จริงในการเพิ่มพูนประสบการณ์ และเรียนรู้จากสาถนที่จริงพร้อมทั้งฝึกปฏิบัติ
17. มอบวัสดุส าหรับสนับสนุนอาชีพ และเรียนรู้การใช้งานวัสดุที่จะฝึกอาชีพ
18. คณะท างานสัมมาชีพระดับอ าเภอพร้อมเจ้าหน้าที่ประสานงานระดับต าบลติดตามการด าเนินงานโดยติดตามทีม
ปราชญ์ และครัวเรือนสัมมาชีพ เป็นระยะ เพื่อติดตามความก้าวหน้าในการด าเนินการท าเป็นอาชีพ
19. คัดเลือกปราชญ์ดีเด่น และครัวเรือนที่มีผลการด าเนินงานต่อเนื่องอย่างสม่ าเสมอ และสามารถเป็นต้นแบบให้กับ
หมู่บ้าน ระดับต าบลได้
20. จัดท าองค์ความรู้ หรือถอดบทเรียนเทคนิคการท างาน การด าเนินงานที่ประสบผลส าเร็จ และแนวทางการแก้ไข
เมือเกิดปัญหา
21. จ าท ารูปเล่มผลการด าเนินงานระดับหมู่บ้าน และวิดีโอน าเสนอผลส าเร็จของสัมมาชีพระดับหมู่บ้าน เพื่อเป็นแรง
กระตุ้นให้ปราชญ์ และครัวเรือนสัมมาชีพในการด าเนิตนงานต่อไป
 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

 

ต้องใกล้ชิด และติดตามผลการด าเนินงานอย่างต่อเนื่อง ห้ามทิ้งระยะห่างเกิน
- ให้ปราชญ์และทีมวิทยากร เป็นผู้ติดตา เนื่องจากมีความใกล้ชิด และอยู่ในหมู่บ้านเดียวกัน
- เน้นให้ครัวเรือน และปราชญ์ ร่วมกันคิด ร่วมกันท า และมีความเป็นเจ้าของกิจกรรมในหมู่บ้าน
- มีการประชุมกลุ่มครัวเรือนสัมมาชีพ เดือนละครั้ง หรือ น าเสนอผลงานในที่ประชุมระดับหมู่บ้าน หรือต าบล
 

อุปกรณ์ ->

 

เมื่อเกิดปัญหาในระหว่างการด าเนินงาน ให้ทีมปราชญ์ และครัวเรือนสัมมาชีพแก้ไขปัญหาด้วยตนเองเป็นเบื้องต้น
ก่อน เจ้าหน้าที่ค่อยเสริมหรือแนะน าอย่างใกล้ชิด หากมีเวลาลงพื้นที่ไปเทียวตามบ้าน ให้ก าลังใจปราชญ์ และครัวเรือน
สัมมาชีพ
 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดแพร่
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา