เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

การเลี้ยงแพะ

โดย : นายวินัย คงแจ่ม ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-05-19-10:34:23

ที่อยู่ : 76 หมู่ 13 ตำบลเขากระปุก

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

แพะ ถือเป็นสัตว์ที่น่าเลี้ยงน่าสนใจน่าศึกษาอีกประเภทหนึ่ง  เพราะว่าสามารถเลี้ยงเพื่อขายได้ทั้งเนื้อ,นม,ขนหรือแม้กระทั่งเขา แถมราคายังดีอีกด้วย แพะเป็นสัตว์เลี้ยงที่เชื่องที่สุดในจำนวนสัตว์ชนิดที่ใกล้เคียงกันและตอนนี้ก็เป็นที่นิยมเลี้ยงกันในกลุ่มเกษตรกรในแต่ละพื้นที่ มีทั้งเลี้ยงแบบเป็นรายได้เสริมและวัตถุดิบในพื้นที่ค่อนข้างเยอะ สามารถลดต้นทุนในการลี้ยง เหมาะสำหรับเลี้ยงไว้ทานและจำหน่าย จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการลดรายจ่าย และสร้างรายได้เพิ่มให้ครัวเรือน

วัตถุประสงค์ ->

มีการประชุมเพื่อหาอาชีพที่สนใจในหมู่บ้าน และก็เริ่มดำเนินการจากงบประมาณของกรมการ    พัฒนาชุมชนเป็นการสาธิต เพื่อเรียนรู้การเลี้ยงแพะ ดังนี้

- ดำเนินการฝึกอบรมพัฒนาความรู้ เสริมสร้างทักษะการพัฒนาอาชีพตามความต้องการของครัวเรือน โดยดำเนินการหลังจากโครงการเตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน

                 1) วันที่ 1-3 ดำเนินการฝึกอบรมความรู้ทางวิชาการ/ทฤษฎีที่ต้องรู้เกี่ยวกับอาชีพ และสาธิตหรือฝึกปฏิบัติเบื้องต้นตามความเหมาะสม จำเป็น ของแต่ละประเภทอาชีพให้กับผู้แทนครัวเรือน

                2) วันที่ 4 ศึกษาดูงานเพิ่มพูนความรู้ด้านอาชีพ ณ หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง หรือบ้านปราชญ์ชุมชน หรือศูนย์เรียนรู้ชุมชนที่เข้มแข็ง

                3) วันที่ 5 ดำเนินการฝึกปฏิบัติอาชีพ ณ บ้านของครัวเรือนที่เข้ารับการฝึกอบรม โดยมีทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน สาธิตการเลี้ยงแพะดังนี้

วิธีการเลี้ยงดูลูกแพะ

1.ให้ลูกแพะกินนมน้ำเหลืองของแม่แพะ และปล่อยให้อยู่กับแม่แพะ 3-5 วัน

2.หลังจากลูกแพะหย่านม ให้ทำการถ่ายพยาธิ

3.ช่วงฤดูหนาวควรมีไฟในคอกกกลูกแพะช่วง 1-2 สัปดาห์เพื่อให้ความอบอุ่นลูกแพะด้วยครับ

4.อาหารของแพะนั้นต้องระวังเรื่องอาหารเสริม เพราะแพะเป็นสัตว์ที่มีกระเพาะหมัก มีจุลินทรีย์ย่อยอาหารและและสังเคราะห์ไวตามิน เพราะฉนั้นอาหารเสริมของแพะต้องไม่มียาปฏิชีวนะที่จะไปทำลายจุลินทรีย์ เช่นอาหารสุกรหรืออาหารไก่ ควรใช้สูตรอาการเสริมที่เป็นอาหารแพะหรือโคนมเท่านั้น แร่ธาตุควรมีห้อยไว้ในคอกให้แพะกินได้ตลอดเวลา

การปฏิบัติในการเลี้ยงดูพ่อพันธ์ุแพะและแม่พันธ์ุ

1.สำหรับการเลี้ยงดูพ่อพันธ์ุ ก็ให้อาหารหยาบที่มีคุณภาพสูงเช่นพืชตระกูลถั่วต่างๆ

2.ให้แพะได้มีการออกกำลัง เพื่อพ่อพันธ์ุแพะจะได้ร่างกายที่แข็งแรง

3.พ่อพันธ์ุแพะจะเริ่มผสมพันธ์ุได้เมื่ออายุได้ 1 ปี และที่วิเศษกว่านั้นของการที่เรานำพ่อพันธ์ุต่างประเทศเพื่อมาผสมพันธ์ุกับพันธ์ุเมืองก็คือ อัตราการคุมฝูงแม่พันธ์ุ ได้ถึง 1 ต่อ 10-25

4.สำหรับการเลี้ยงดูแม่พันธ์ุแพะนั้น การที่จะใช้แพะเป็นแม่พันธ์ุได้เมื่อมีอายุอยู่ที่ 8 เดือน หากแพะได้มีการผสมพันธ์ุแล้ว มีการติดสัดอดีภายใน 21 วันให้ทำการผสมพันธ์ุใหม่ และแพะจะตั้งท้องประมาณ 150 วันหรือประมาณ 5 เดือน

5.เมื่อแม่แพะท้องใหญ่ให้ทำการแยกคอกออกจากฝูง ลักษณะของอาการของแม่แพะใกล้คลอดจะมีให้สังเกตุ คือ เต้านมและหัวนมจะขยายใหญ่ขึ้น มีอาการหงุดหงิดตื่นเต้น เหมือนคนเลยน่ะครับ และก็บริเวณสะโพกจะมีรอยยุบเป็นหลุมเข้าไปให้เห็นอย่างชัดเจนทั้งสองข้าง มีน้ำเมือกของแม่แพะไหลออกมาจากช่องคลอด สัญชาติญาณความเป็นแม่อาจมีการคุ้ยหญ้าหรือฟางบริเวณคอกเพื่อเตรียมตัวในการคลอดของตัวเค้าเองด้วย เมื่อสังเกตุได้ดังกล่าวก็ให้แยกคอก ไปไว้ในห้องคลอดเลย

6. ห้องคลอดของแม่แพะที่จะคลอด ให้เตรียมฟางแห้งปูที่พื้นไว้ให้แม่แพะนอนตอนคลอด และเตรียมด้ายที่จะใช้ผูกสะดือและใบมีดโกน,ทิงเจอร์,ไอโอดีน เตรียมไว้ในคอกที่จะทำการคลอดลูกแพะให้พร้อม

การให้อาหารแพะในแต่ละวันควรมีปริมาณในการให้เพื่อเพียงพอต่อความต้องการของแพะ มีดังนี้

1.อาหารหยาบเช่นหญ้าสด ประมาณ 10 %ต่อน้ำหนักตัวแพะ

2.อาหารข้นหรืออาหารเสริมสูตรของแพะหรือโคนม ประมาณ 0.5-1 กิโลกรัม ขึ้นอยู่กับขนาดของตัวแพะ การเจริญเติบโตและการสร้างผลผลิต

3.น้ำสะอาดควรมีในคอกไว้ให้แพะได้กินน้ำตลอดเวลา

4การดูแลเลี้ยงแพะก็เหมือนกับการเลี้ยงสัตว์ทั่วไปคือต้องให้เค้าแข็งแรง ไม่ให้มีโรคต่างๆมาทำลายสุขภาพของเค้า

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

การคัดเลือกพันธุ์แพะที่สมบูรณ์แข็งแรง   และต้องใส่ใจดูแลในเรื่องของความสะอาดและอาหารการกินเพราะแพะค่อนข้างเป็นสัตว์ที่ชอบความสะอาด แล้วเค้าก็จะแข็งแรงและไม่เป็นโรค

อุปกรณ์ ->

ไม่ควรนำพ่อพันธ์ุแม่พันธ์ุผสมกับลูกแพะ หรือว่าพี่น้องแพะผสมกันเอง

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเพชรบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา