เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

การสานกระเป๋า หมวก จากพลาสติก

โดย : นางสาวนัยนา เพ็งอุดม ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-05-19-10:22:43

ที่อยู่ : ๑๔๓ หมู ๑๐ ตำบลเขากระปุก

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การจักสานเป็นอาชีพที่ชาวบ้านห้วยหินเพลิงหารายได้ช่วยจุนเจือครอบครัวในยามที่เสร็จสิ้นจากการทำไร่ทำสวน คนในชุมชนรู้จักและมีภูมิปัญญาด้านการจักสานเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว ซึ่งสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ รู้จักการนำหวาย ไม้ไผ่ ก้านมะพร้าวมาทำตะกร้า กระบุง ชะลอม ผลิตใช้สอยในครัวเรือน สมัยก่อนชาวบ้านจะทำไว้ใช้เอง การจักสานสืบทอดมาจากบรรพบุรุษในถิ่นฐานเดิม มีผู้ทรงภูมิปัญญาถ่ายทอดองค์ความรู้แบบดั่งเดิม ซึ่งยังไม่มีการพัฒนารูปแบบแต่อย่างใด

เดิมสมัยก่อนในชุมชนมีการปลูกไม้ไผ่ หวาย   มีกรรมวิธีการจักสานแบบโบราณใช้วัตถุดิบในพื้นที่นำมาจักสานเครื่องใช้ในครัวเรือน เมื่อก่อนนี้กลุ่มจักสานมีมาก ผลผลิตล้นตลาดราคาผลิตภัณฑ์ถูก แต่วัตถุดิบแพง กลุ่มบ้านห้วยหินเพลิงจึงมีความคิดที่จะเปลี่ยนจากหวาย ไม้ไผ่เป็นจักสานพลาสติก ต่อมาเมื่อทางส่วนราชการมาส่งเสริมให้การสนับสนุน ให้มีการจักสานเชิงพาณิชย์ โดยมีชาวบ้านมาเป็นสมาชิกกลุ่ม ทำให้มีอาชีพเสริม มีศูนย์การเรียนรู้ชุมชน มีสถานที่ฝึกอบรม ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ เกิดจากความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก เน้นความสวยงาม ประณีตและเรียบร้อยจากการที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานราชการต่างๆ ทำให้กลุ่มมีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้น ส่งผลให้ชาวบ้านได้มีรายได้ให้กับครอบครัวอีกทางหนึ่ง ประจวบกับประธานกลุ่มนางสาวนัยนา เพ็งอุดม เป็นผู้ประสานงานด้านการตลาด ทำให้กลุ่มทำการผลิตและจำหน่ายได้มากขึ้น

วัตถุประสงค์ ->

มีการประชุมเพื่อหาอาชีพที่สนใจในหมู่บ้าน และก็เริ่มดำเนินการจากงบประมาณของกรมการพัฒนาชุมชนเป็นการสาธิต เพื่อเรียนรู้การทำกระเป๋า หมวก จากพลาสติก

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

วัตถุดิบถือว่าเป็นสิ่งสำคัญในการทำจักสาน รวมทั้งการคัดเลือกวัตถุดิบที่มีคุณภาพ ซึ่งจะทำให้ตัวผลิตภัณฑ์ออกมา มีคุณค่า ลวดลาย สวยงาม น่าสนใจ วัตถุดิบที่ใช้เป็นเส้นพลาสติกที่มีความเหนียวนิ่ม ซึ่งซื้อมาจากที่อื่น จากอิทธิพลความสวยงามของเส้นพลาสติกทำให้การนำผลิตภัณฑ์มาตกแต่งบ้านเรือนมีการประยุกติ์ให้เข้ากับสมัยนิยม ผลิตภัณฑ์มีความสวยงาม สีสันกลมกลืน เป็นสากล มีความทันสมัยในการออกแบบ

อุปกรณ์ ->

ควรส่งเสริมและการอนุรักษ์การจักสาน โดยให้มีการผลิตอย่างต่อเนื่อง มีการพัฒนารูปแบบตลอดเวลา จึงมีการถ่ายทอดให้กับผู้ที่ต้องการศึกษา เพื่อเป็นพื้นฐานในการประกอบอาชีพให้กับแม่บ้าน นักเรียน นักศึกษา ผู้ที่สนใจทั่วไป เพื่อเป็นการสืบสานภูมิปัญญาของคนรุ่นเก่าสู่คนรุ่นใหม่ได้อย่างมีคุณภาพและเป็นการอนุรักษ์ และป้องกันภูมิปัญญามิให้สูญหาย  ปัจจุบันการจักสานพลาสติกของตำบลศรีพราน เปรียบเสมือนเป็นวิถีชีวิตของคนในชุมชนเนื่องจากเป็นอาชีพเสริมที่ทำให้เกิดรายได้ดีทำให้คนในชุมชนมีรายได้ที่มั่นคง

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดเพชรบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา