เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน

โดย : นายธิติวัฒน์ มณีศรีโรจน์ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-17-08:53:26

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอโพทะเล

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

         จากนโยบายลดความเลื่อมล้ำของสังคมและการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐที่มุ่งหวังแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับปากท้องของประชาชนในระดับล่างที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ โดยได้มอบให้กระทรวงมหาดไทยที่มีกรมการพัฒนาชุมชนเป็นหน่วยงานหลักบูรณาการไปสู่การปฏิบัติ ประชาชนมีภาวะเสี่ยงของอาชีพภาคเกษตรกรรมที่เกิดจากการประกอบอาชีพแบบดั้งเดิม มีการปลูกพืชเชิงเดี่ยว โรคพืช ราคาผลผลิตตกต่ำ การไม่มีอาชีพหรือรายได้เสริมหลังฤดูการผลิตและยังมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มอาชีพค่อนข้างน้อย อาชีพที่มีอยู่ยังไม่ได้รับการส่งเสริม จึงเป็นที่มาของ “สัมมาชีพชุมชน” ให้ประชาชนได้รับการพัฒนาอาชีพและมีรายได้ ฝึกปฏิบัติจริงให้สามารถนำไปเป็นอาชีพได้

วัตถุประสงค์ ->

1.เตรียมความพร้อมทีมสัมมาชีพชุมชนสร้างความรู้ความเข้าใจ ชี้แจงแนวทางโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน ความเป็นมาของโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน ความสำคัญของการสร้างสัมมาชีพชุมชน กระบวนการสร้างสัมมาชีพชุมชน

2.ถ่ายทอดความรู้ เทคนิค ของการเป็นวิทยากรผู้นำสัมมาชีพโดยปราชญ์ชุมชนที่ผ่านการอบรมหลักสูตร “วิทยากรผู้นำสัมมาชีพ” จากศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชน

3. จัดทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน พร้อมมอบหมายภารกิจหน้าที่ในการส่งเสริมสนับสนุน กำกับและติดตามครัวเรือนเป้าหมายที่ผ่านการอบรมอาชีพ “ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน” โดยแบ่งสัดส่วนของทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน 1 คน ต่อครัวเรือน สัมมาชีพชุมชน 4 ครัวเรือน

4. ทบทวนและจัดทำแผนปฏิบัติการฝึกอบรมและส่งเสริมสนับสนุน กำกับและติดตามครัวเรือนเป้าหมายที่ผ่านการอบรมอาชีพ ซึ่งเรียกว่า “ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน”

5. ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลความต้องการอาชีพจากแบบความต้องการฝึกอาชีพของคนในชุมชนที่ได้สำรวจไว้แล้ว โดยจัดกลุ่มความต้องการอาชีพ แล้วจึงวิเคราะห์ให้เชื่อมโยงกับตลาด สร้างผลผลิตสร้างผลิตภัณฑ์เข้าสู่ระบบ OTOP และการดำเนินงานของบริษัทประชารัฐ

6. ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านลงพื้นที่เยี่ยมเยือนครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพทั้ง 20 ครัวเรือน โดยแบ่งตามสัดส่วนของทีมวิทยากรสัมมาชีพระดับหมู่บ้าน 1 คน ต่อ 4 ครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพ

           วิทยากรสัมมาชีพชุมชนผู้เป็นเจ้าของอาชีพ ดำเนินการร่วมกับทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านถ่ายทอดความรู้  ในประเด็น ดังนี้

          1. เล่าความเป็นมาของอาชีพ

          2. อธิบายกระบวน/ขั้นตอน√ การประกอบอาชีพ และทักษะที่เป็นนวัตกรรมในการพัฒนาอาชีพจนเกิดรายได้ให้แก่ครัวเรือน

          3. อธิบายความสำคัญของการจัดการอาชีพเพื่อพัฒนาและสร้างรายได้ โดยเชื่อมโยงกับการตลาดหรือการสนับสนุนจากหน่วยงานหรือประชารัฐ

          4. ผู้แทนครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพทั้ง 20 คน (ครัวเรือนละ 1 คน) เดินทางไปศึกษาดูงานเพิ่มพูนความรู้และสร้างแรงจูงใจด้านอาชีพ ณ หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงหรือศูนย์เรียนรู้ชุมชนหรือบ้านปราชญ์ชุมชนที่กำหนด

          5. ผู้แทนครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพทั้ง 20 ครัวเรือน ดำเนินการฝึกปฏิบัติอาชีพ ณ บ้านของตนเอง โดยมีทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน ให้การกำกับดูแลการฝึกปฏิบัติฯ ตามขั้นตอนการประกอบอาชีพที่ต้องการฝึกคนละ 4 ครัวเรือน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. ทีมวิทยากร และครัวเรือนสัมมาชีพให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

2. เป็นอาชีพตามความต้องการของครัวเรือน

อุปกรณ์ ->

1. การฝึกอบรมอาชีพควรต้องเป็นความต้องการของประชาชนโดยแท้จริง

2. ห้วงระยะเวลาในการวัดผลเร็วเกินไป เนื่องจากอาชีพบางอย่างต้องใช้เวลามาก

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1.การอบรมเป็นระยะเวลานานเกินไป  ผู้อบรมเกิดการท้อ เบื่อหน่าย ประกอบกับมีอาชีพหลักที่ต้องดำเนินการอยู่แล้ว

2. สิ่งที่ต้องการผลตอบรับจากโครงการนี้มีมาก เช่น ผู้นำสัมมาชีพผ่าน มชช.  ครัวเรือนดีเด่น ข้อมูล-เทคนิคปราชญ์ชุมชน  แผนชุมชน  กลุ่มอาชีพ OTOP ฯ แต่งบประมาณลงหมู่บ้านจริงๆ เพื่อพัฒนาอาชีพ พัฒนาครัวเรือน พัฒนาผู้นำสัมมาชีพ ไม่ได้มีมาก ซึ่งผลตอบรับบางอย่างเป็นไปได้และทำได้ แต่บางอย่างก็ต้องยอมรับว่ามันไวเกินที่จะเห็นผลในทันที
 

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดพิจิตร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา