เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

การส่งเสริมสัมมาชีพชุมชนในหมู่บ้านบัวยาง หมู่ที่ 9 ตำบลหนองหลุม อำเภอวชิรบารมี

โดย : นางสาวลักขณา กล่อมกมล ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน วันที่ : 2017-03-10-14:20:51

ที่อยู่ : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอวชิรบารมี

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

           จากนโยบายลดความเลื่อมล้ำของสังคมและการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐที่มุ่งหวังแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับปากท้องของประชาชนในระดับล่างที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ โดยได้มอบให้กระทรวงมหาดไทย โดยกรมการพัฒนาชุมชนเป็นหน่วยงานหลักในการบูรณาการไปสู่การปฏิบัติ โดยมีแผนงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็ง โดยการส่งเสริมการขับเคลื่อนการสร้างสัมมาชีพชุมชน โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยคำว่า “สัมมาชีพชุมชน” จึงหมายถึง “ชุมชนที่มีการประกอบอาชีพโดยชอบ ซึ่งมีรายได้มากกว่ารายจ่าย โดยลดการเบียดเบียนตนเองผู้อื่นและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ต้องมีความสอดคล้องกับวิถีของชุมชนเพื่อความมุ่งหมายในการสร้างระบบเศรษฐกิจชุมชน”

               การส่งเสริมพัฒนากลุ่มอาชีพเป็นอีกหนึ่งนโยบายในการแก้ไขปัญหาความยากจน    โดยส่งเสริมให้คนในชุมชนมีการรวมกลุ่มกันเพื่อจัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพ   เพื่อให้ประชาชนมีการสร้างงาน สร้างรายได้ นอกเหนือจากการทำการเกษตร  ซึ่งเป็นการนำผลผลิตทางการเกษตรมาต่อยอด/แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน  ก่อให้เกิดรายได้กับชุมชน  โดยการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาพัฒนาการประกอบอาชีพ รวมทั้งเทคนิคการผลิต การพัฒนาผลิตภัณฑ์รวมถึงการส่งเสริมการตลาด  มุ่งไปสู่การสร้างชุมชนให้เข้มแข็งพึ่งตนเองได้ ต่อไป 

วัตถุประสงค์ ->

              1. ศึกษาและทำความเข้าใจแนวทางการสร้างสัมมาชีพชุมชน ที่กรมฯ จัดส่งให้ อย่างละเอียด

               2. ดำเนินการร่วมกับหมู่บ้าน  ในการคัดเลือกปราชญ์ชุมชน จำนวน 1 คน เพื่อเข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตร “วิทยากรผู้นำสัมมาชีพ” ที่ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนพิษณุโลก

               3. ดำเนินการประชุมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน  โดยคัดเลือกปราชญ์ชุมชนเพิ่มหมู่บ้านละ 4 คน รวมเป็น 5 คน  เพื่อเตรียมความพร้อมและเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสัมมาชีพชุมชน  รวมทั้งให้วิทยากรผู้นำสัมมาชีพที่ผ่านการฝึกอบรมจากศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนพิษณุโลก  มาถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์  และเทคนิคในการเป็นวิทยากรผู้นำสัมมาชีพ  พร้อมทั้งมอบหมายภารกิจหน้าที่ให้ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนออกติดตาม ตรวจเยี่ยมครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการเข้ารับการฝึกอาชีพ จำนวน 20 ครัวเรือน  (วิทยากรผู้นำสัมมาชีพ 1 คน ต่อ 4 ครัวเรือน)

               4. ร่วมกับทีมวิทยากรผู้นำสัมมาชีพ จัดทำแผนปฏิบัติการฝึกอบรม  โดยร่วมกันวิเคราะห์อาชีพที่ครัวเรือนเป้าหมายสนใจ  จากแบบสำรวจความต้องการฝึกอาชีพของครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน  ซึ่งครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนบ้านบัวยาง ส่วนใหญ่มีความต้องการฝึกปฏิบัติอาชีพ “การไข่เค็มสมุนไพรใบเตย”

               5. ดำเนินโครงการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมาย คือ ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชน  จำนวน 5 คน และครัวเรือนสัมมาชีพ  จำนวน 20 คน  โดยดำเนินการ ดังนี้

                            5.1 ฝึกอบรมเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสัมมาชีพชุมชนในเบื้องต้น 

                             5.2 นำครัวเรือนสัมมาชีพไปศึกษาดูงานเพิ่มพูนความรู้ด้านอาชีพ ณ บ้านทับเกวียนทอง หมู่ที่ 13  ตำบลบึงบัว  อำเภอวชิรบารมี  

                              5.3 ดำเนินการฝึกปฏิบัติอาชีพการทำไข่เค็มสมุนไพรใบเตย ซึ่งได้เชิญ นางเกษมศรี เมืองสุข ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP (ประธานกลุ่มสตรีบ้านหนองหญ้าปล้อง)  เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญาการทำไข่เค็มสมุนไพรใบเตย

              6. ส่งเสริมให้ครัวเรือนสัมมาชีพนำอาชีพที่ได้รับการฝึกปฏิบัติ ไปประกอบอาชีพหรือพัฒนาอาชีพอย่างยั่งยืน  โดยได้มีการจัดตั้ง “กลุ่มสัมมาชีพบ้านบัวยาง”  และร่วมกันตั้งชื่อผลิตภัณฑ์ให้มีความโดดเด่น และเป็นเอกลักษณ์ ทำให้มีความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกัน  จึงร่วมกันคิดและใช้ชื่อว่า “ไข่แจ๊บ” ซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่น

               7. ส่งเสริมการขายสินค้าจากการดำเนินโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน  และมีการสาธิตการประกอบอาชีพของหมู่บ้านสัมมาชีพชุมชน  ที่งาน “มาตุ้มโฮมไทดำ” ในระหว่างวันที่ 24 - 28 กุมภาพันธ์  2560  ณ ที่ว่าการอำเภอวชิรบารมี

               8. ร่วมกับทีมวิทยากรสัมมาชีพระดับหมู่บ้าน  ออกติดตามเยี่ยมเยียนครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน ที่ได้ฝึกปฏิบัติอาชีพ  พร้อมทั้งประเมินผลและคัดเลือกครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนตัวอย่าง หมู่บ้านละ 1 คน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

               1. การมีส่วนร่วม และความร่วมมือของทุกฝ่าย เช่น พัฒนากร , ผู้นำชุมชน , ปราชญ์ชุมชน , ทีมวิทยากรสัมมาชีพ และครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน

               2. ในการคัดเลือกอาชีพที่ต้องการฝึกปฏิบัติอาชีพ ต้องเป็นความต้องการของครัวเรือนสัมมาชีพ  อย่างแท้จริง

               3. การถ่ายทอดองค์ความรู้ของปราชญ์ชุมชน และทีมวิทยากรสัมมาชีพ เป็นไปในลักษณะของพี่สอนน้อง ทำให้ครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนรับรู้และเข้าใจได้อย่างดีมาก และรวดเร็ว

               4. มีงบประมาณสนับสนุนในการดำเนินงานโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน

               5. การสร้างเอกลักษณ์ การรับรู้ และความรู้สึกในความเป็นเจ้าของในตัวผลิตภัณฑ์ชุมชน

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

          1. ควรระมัดระวังเรื่องการชี้นำความคิดของปราชญ์ชุมชน หรือผู้นำวิทยากรสัมมาชีพ
          2. ระยะเวลาในการฝึกอบรมนานเกินไป ควรจะกระชับเวลาในการฝึกอบรมให้น้อยลง  และเน้นการปฏิบัติในพื้นที่จริง

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดพิจิตร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา