เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

image1

เทคนิคการการจัดตั้งกลุ่มอาชีพหมู่บ้านสัมมาชีพชุมชน

โดย : นางประหยัด ภักดีโต ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-06-16-09:05:32

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 60 หมู่ที่ 13 ตำบลบึงบัว

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

               ทางสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอวชิรบารมี  แจ้งให้หมู่บ้านดำเนินการในการคัดเลือกปราชญ์ชุมชน จำนวน 1 คน เพื่อเข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตร “วิทยากรผู้นำสัมมาชีพ” ที่ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนพิษณุโลก  และเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับจังหวัด แล้วกลับมาถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ และเทคนิคในการเป็นวิทยากรผู้นำสัมมาชีพ ให้กับทีมวิทยากรผู้นำสัมมาชีพในหมู่บ้านอีก  4  คน  โดยร่วมกันวิเคราะห์อาชีพที่ครัวเรือนเป้าหมายสนใจ ซึ่งครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนบ้านทับเกวียนทอง    ส่วนใหญ่มีความต้องการฝึกปฏิบัติอาชีพ “การทำกล้วยฉาบอบน้ำผึ้ง”  ซึ่งเป็นการนำผลผลิตทางการเกษตรมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ของชุมชนได้ 

                   ซึ่งในปัจจุบันสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพของประชาชนในภาคเกษตร มีภาวะเสี่ยง เช่น ราคาผลผลิตตกต่ำ โรคพืช การไม่มีอาชีพหรือรายได้เสริมหลังฤดูการผลิตและประชาชนยังมีการรวมกลุ่มอาชีพค่อนข้างน้อย ยังไม่ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาอย่างเพียงพอ ส่งผลให้เกิดการเคลื่อนย้ายของประชาชนไปประกอบอาชีพในเมือง จึงมีความคิดว่าทำอย่างไรให้หมู่บ้านทับเกวียนทอง เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ และลดรายจ่ายให้กับประชาชน จึงมีความคิดอยากจะรวมตัวกันเป็นกลุ่มอาชีพขึ้นมา

วัตถุประสงค์ ->

1. คัดครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนที่ฝึกปฏิบัติอาชีพเดียวกันให้อยู่กลุ่มเดียวกัน

2. จัดประชุมครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนตามกลุ่มอาชีพ เพื่อเลือกตัวแทนจากที่ประชุม พร้อมกับคัดเลือกคณะกรรมการบริหารกลุ่ม ตามความเหมาะสม และจัดตั้งชื่อกลุ่มอย่างเป็นทางการ กำหนดวัตถุประสงค์ของกลุ่ม และพิจารณาร่างข้อบังคับ เพื่อกำหนดให้เป็นข้อบังคับของกลุ่ม ประสานงานกับเจ้าหน้าพัฒนาชุมชนเข้ามาเป็นพี่เลี้ยง พร้อมกับให้การสนับสนุนส่งเสริมกลุ่มให้เป็นตามแนวทางหลักการในการสร้างกลุ่มอาชีพที่ถูกต้อง

3. ดำเนินกิจกรรมของกลุ่มอย่างสม่ำเสมอ โดยในที่ประชุมกำหนดนัดหมายให้สมาชิกรวมกลุ่มกันทำกล้วยฉาบ ตามวันเวลาที่กำหนดร่วมกัน และมีการจดบันทึกรายชื่อสมาชิกกลุ่มที่เข้ามาร่วมทำกิจกรรมโดยหากสมาชิกท่านใดเข้ามาร่วมทำกิจกรรมตามที่ได้นัดหมายก็จะได้ส่วนแบ่งจากกำไรมากกว่าคนที่มาเข้าร่วมกิจกรรมน้อยกว่า โดยส่วนแบ่งจะมาจากกำไรในการขายและจำหน่ายในแต่ละครั้ง

4. นำผลิตภัณฑ์ของกลุ่มออกจำหน่ายภายในหมู่บ้าน หมู่บ้านข้างเคียง หรือตามจำนวนที่ลูกค้าที่อยู่นอกพื้นที่สั่งซื้อมา และบางครั้งได้นำมาจำหน่ายในวันที่มีบุคคลจากที่อื่นเข้ามาศึกษาเรียนรู้ ดูงาน หมู่บ้านทับเกวียนทอง

5. ประชาสัมพันธ์ทางหอกระจายข่าว ทางสื่อออนไลน์ เพื่อประชาสัมพันธ์การดำเนินกิจกรรมของกลุ่มอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

6. นำผลิตภัณฑ์ของกลุ่มอาชีพ มาจดทะเบียนเป็นกลุ่ม OTOP ณ สำนักงานพัฒนาชุมชน      อำเภอวชิรบารมี

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

          ทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้านมีความเข้าใจแนวทางการดำเนินงาน แล้วสามารถนำมาถ่ายทอดความรู้ให้กับครัวเรือนสัมมาชีพชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถปฏิบัติอาชีพได้จริงจนพัฒนาเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัว โดยการรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพ

 

อุปกรณ์ ->

           คณะกรรมการบริหารจัดการกลุ่มอาชีพนั้น ต้องมีความรู้ มีทักษะ มีความสามารถ เสียสละ อุทิศตนและมีความตั้งใจในการทำงานเป็นทีม ก็จะทำให้กลุ่มอาชีพประสบความสำเร็จได้ตามแนวทางสัมมาชีพชุมชน

กระบวนการ/ขั้นตอน->

        กลุ่มที่จัดตั้งขึ้นต้องดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เพื่อก่อให้เกิดความพร้อมกับกลุ่มและเกิดประโยชน์แก่สมาชิกกลุ่ม

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดพิจิตร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา