เทคนิคส่งเสริมสัมมาชีพ

เทคนิคการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้สู่สัมมาชีพชุมชนที่เข้มแข็ง

โดย : นายปรัง บุญผ่อง ตำแหน่ง : ปราชญ์ชุมชน วันที่ : 2017-05-30-08:37:04

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 20 หมู่ที่ 13 ตำบลเนินปอ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

              การส่งเสริมการขับเคลื่อนการสร้างสัมมาชีพชุมชน โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามแผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็งของรัฐบาล ซึ่งตอบสนองนโยบายรัฐบาลเรื่อง การลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐ ซึ่งได้กำหนดกระบวนการขับเคลื่อนที่เริ่มต้นด้วยการพัฒนาทักษะการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับปราชญ์ชุมชน เพื่อให้กลับไปสร้างทีม และจัดฝึกอบรมอาชีพให้กับครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพในหมู่บ้าน  โดยใช้พื้นที่ในบ้านปราชญ์ชุมชนหรือศูนย์เรียนรู้ชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ เพื่อมุ่งหมายให้ครัวเรือนที่เข้ารับการฝึกอาชีพมีความรู้ และปฏิบัติอาชีพได้จริง จนพัฒนาเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับครัวเรือน และต่อยอดสู่การรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพที่มีความเข้มแข็งต่อไป

                ดังนั้นจึงควรมุ่งเน้นให้เกิดกระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมศักยภาพการประกอบอาชีพของชุมชน โดยตั้งอยู่บนข้อมูลและความรู้ที่ให้ชุมชนสามารถวิเคราะห์ตนเองได้ ให้เห็นศักยภาพและโอกาสของชุมชนว่าสามารถขับเคลื่อนไปในทิศทางใด ประกอบกับมีปราชญ์ชุมชนที่เชี่ยวชาญและประสบผลสำเร็จในการประกอบอาชีพด้านต่างๆ อยู่ในชุมชน ทำอย่างไรให้สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นนำไปปฏิบัติตามให้สำเร็จได้ ฉะนั้น การดำเนินการต้องมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพที่มีอยู่ในชุมชน ส่งเสริมให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ สามารถดึงศักยภาพของชุมชน มายกระดับรายได้ของชุมชนบนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ส่งผลให้เศรษฐกิจฐานรากเติบโตได้อย่างมีคุณภาพต่อไป

วัตถุประสงค์ ->

1. คัดเลือกปราชญ์ชุมชนที่ประสบผลสำเร็จหรือมีความเชี่ยวชาญในอาชีพนั้นๆ เข้ารับการฝึกอบรมผู้นำวิทยากรสัมมาชีพ ที่ศูนย์ศึกษาพัฒนาชุมชน โดยคัดเลือกปราชญ์ที่มีความเป็นผู้นำ สามารถถ่ายทอดความรู้ได้เข้ารับการฝึกอบรม

2. การส่งเสริมและสนับสนุนประชุมเตรียมความพร้อมทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน ดำเนินการ 3 วัน

3. ส่งเสริมและสนับสนุนทีมวิทยากรสัมมาชีพชุมชนระดับหมู่บ้าน จัดฝึกอบรมตามโครงการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชนในระดับหมู่บ้าน จำนวน 5 วัน

4. ติดตาม สนับสนุนครัวเรือนสัมมาชีพ และทีมวิทยากรสัมมาชีพ ได้แก่ การให้ความรู้การบริหารจัดการกลุ่ม การพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยมีการบูรณาการหน่วยงานต่างๆ หรือทีมปฏิบัติการตำบลเข้าร่วมโครงการ ซึ่งทีมนี้ มีส่วนช่วยในการแนะนำพัฒนาอาชีพ เทคนิคหรือความรู้ที่ดีมีประโยชน์กับการพัฒนาอาชีพครัวเรือน

5. ส่งเสริมการจำหน่ายและหาช่องทางการจำหน่าย เพื่อให้ครัวเรือนมีรายได้เพิ่ม สามารถนำมาเป็นอาชีพเสริมของครอบครัวได้

6. ยกระดับสัมมาชีพชุมชนไปสู่การลงทะเบียน OTOP โดยเริ่มจากการฝึกอาชีพ มีผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ พัฒนาจนได้รูปแบบ มี่ยอดจำหน่าย และมีระบบการบริหารจัดการกลุ่มที่ดี ซึ่งเป็นการต่อยอดงานสัมมาชีพอีกทางหนึ่งด้วย

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. ความตั้งใจ มุ่งมั่น ของวิทยากรสัมมาชีพและครัวเรือนเป้าหมายที่ร่วมโครงการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากให้เติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ

2. กระบวนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการดำเนินงานเป็นอย่างยิ่ง หากขาดกระบวนการมีส่วนร่วมแล้ว การส่งเสริม สนับสนุน ย่อมไม่เห็นผลเป็นรูปธรรม

3. การบูรณาการการทำงานร่วมกับภาคีการพัฒนา (กรมการพัฒนาชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เกษตร กศน.)

อุปกรณ์ ->

1. ต้องคัดเลือกทีมวิทยากรที่มีศักยภาพ สามารถดำเนินการตามกระบวนการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชนได้

2. เพื่อความยั่งยืนและเข้มแข็งของการส่งเสริมการสร้างสัมมาชีพชุมชน ผู้ที่เข้าร่วมโครงการต้องมาด้วยความเต็มใจ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. การวิเคราะห์อาชีพที่ต้องการฝึกอบรม ต้องสามารถปฏิบัติได้จริงและเหมาะสมกับบริบทของชุมชน และสภาวะทางการตลาดสามารถเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชน

2. ทีมวิทยากรที่มีศักยภาพ สามารถถ่ายทอดความรู้ และดำเนินการตามกระบวนการต่าง ๆ ได้ชัดเจนและครบถ้วน

3. ชุมชนเรียนรู้ที่จะประยุกต์ใช้สาระ ความรู้ ที่ได้จากการฝึกอบรม นำไปสู่การพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพเพิ่มขึ้น

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดพิจิตร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา